โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

กุ้งไทยดิ่งเหวเซ่นพิษ "โควิด" ราคาลดลง50บ./กก.สหรัฐอียูชะลอซื้อ

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 05 ส.ค. 2565 เวลา 06.48 น. • เผยแพร่ 10 เม.ย. 2563 เวลา 05.55 น.
กุ้ง
File. Photo credit should read PORNCHAI KITTIWONGSAKUL/AFP via Getty Images

พิษโควิด-19 ระบาดทั่วโลกและในไทยยืดเยื้อ กระทบอุตสาหกรรมกุ้งไทยชะงักทั้งซัพพลาย สหรัฐ-อียู ตลาดหลักเดี้ยง ซ้ำโอลิมปิก ญี่ปุ่นถูกเลื่อนออร์เดอร์วูบ คาดผลผลิตปีนี้เหลือเพียง 2 แสนตัน ส.แช่เยือกแข็งกุมขมับเร่งถกกรมประมงพร้อมทุกฝ่ายด่วน หามาตรการช่วยเหลือหลังผลผลิตราคา ขาดทุนถ้วนหน้า

นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ที่ปรึกษาสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากรมประมงประชุมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ส่งออก ห้องเย็นแปรรูป เกษตรกรผู้เลี้ยง เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร จากปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลก ทำให้ตลาดผู้รับซื้อกุ้งทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (อียู) และจีน ต่างมีกำลังซื้อลดลง โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นที่ซื้อกุ้งไทยลอตใหญ่ ก็เพิ่งประกาศเลื่อนการเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิก 2020 ไปแล้ว และนำสต๊อกเก่าออกมาใช้ ส่งผลต่อการซื้อกุ้งลอตใหม่จากไทยลดลง

ประเด็นนี้ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทยขาดทุนและเดือดร้อนหนัก ราคากุ้งลดลง กก.ละ 40-50 บาท โดยกุ้งขนาด 100 ตัวต่อ กก.เหลือเพียง กก.ละ 105 บาท ขนาด 70 ตัวต่อ กก.เหลือเพียง กก.ละ 135-150 บาท และยังเหลือกุ้งในบ่อเลี้ยงอีกมากที่ยังไม่จับขึ้นมาจำหน่าย และมีแนวโน้มว่าจะต้องยืดเวลาการเลี้ยงรอบใหม่ออกไปอีก หากโรคระบาดยืดเยื้อ โดยในสัปดาห์นี้ทางกลุ่มเกษตรกรจะนำเสนอข้อมูลการเลี้ยงในช่วง 2-3 เดือน ที่ผ่านมาต่อที่ประชุมด้วย โดยคาดว่าผลผลิตกุ้งเลี้ยงปีนี้จะเหลือเพียง 200,000 ตัน แต่สมาพันธ์ยังไม่ลดเป้าหมายการเลี้ยงปีนี้ที่วางไว้ 320,000 ตัน เพราะหากโรคระบาดโควิด-19 ไม่ยืดเยื้ออาจจะกลับมาเลี้ยงได้

“เกษตรกรทั่วประเทศปล่อยกุ้งลงเลี้ยงประมาณปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา 50% ของปริมาณการเลี้ยงปกติ เพราะช่วงนั้นเพิ่งเริ่มเกิดโรคระบาดโควิด-19 แต่เมื่อโรคระบาดยืดเยื้อ กุ้งที่จับขึ้นมาจำหน่ายราคาตกต่ำ ทำให้เกษตรกรยังไม่จับกุ้งในบ่อขึ้นมาจำหน่ายอีกมาก ขณะที่ห้องเย็น ผู้ส่งออกพร้อมจะเข้ามาช่วยเหลือหลังการประชุมครั้งนี้”

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ตอนนี้ทุกประเทศเจอปัญหาส่งออกกุ้งทั้งหมด ยังประเมินลำบากมาก ก่อนหน้านี้มีแค่จีน แต่ตอนนี้กระทบไปทุกภูมิภาค ไทยเองก็กระทบ โดยเร็ว ๆ นี้จะประชุมหาแนวทางกับกรมประมงอีกครั้ง เพื่อรับมือกับมาตรการและช่องทางตลาด

“ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ในขณะนี้ เพราะทุกประเทศกระทบเหมือนกัน ตอนนี้เราต้องดูออร์เดอร์ช่วง 2 เดือน เม.ย.-พ.ค. กรณีเลวร้ายสุดหากยังไม่ดีขึ้น หลังจากนั้นจึงจะสามารถประเมินอีกครั้ง เพราะกุ้งเรายังต้องพึ่งพาทั้งตลาดในและนอกอยู่ ทำอย่างไรไทยจะชะลอปัญหาโควิดและฟื้นตัวให้เร็วที่สุด เราต้องช่วยกัน”

นายบรรจง จำนงศิตธรรม รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า เบื้องต้นมีแนวคิดจะปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์และเพิ่มช่องในการส่งออก ซึ่งจากเดิมส่งสินค้ากุ้งมีชีวิตไปทางเครื่องบินอาจเปลี่ยนเป็นส่งออกโดยรถและเปลี่ยนเป็นกุ้งแช่แข็ง หรือกุ้งต้มแทน และหาตลาดใหม่ทดแทน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว และกัมพูชา ที่ปัจจุบันมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น กรมประมงคาดหวังว่าแนวทางดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ตรงจุด และสามารถช่วยระบายผลผลิตของเกษตรกร

ขณะนี้้นำร่องให้เกษตรกรเข้าใช้ระบบและจำหน่ายสินค้าด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก ซึ่งประชาชนสามารถสั่งจองสินค้าผ่านทางเว็บไซต์กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) สินค้ากุ้ง ในปี 2563 คาดว่าการผลิตกุ้งทะเลไทยจะมีปริมาณ 325,000 ตัน ส่งออก 82.76% และบริโภคภายในประเทศ 17.24% ผลผลิตมีเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ แต่การส่งออกอาจจะได้รับผลกระทบ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0