โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กินดีอยู่ดี!! 10 อาหารลดความดันโลหิต ลดเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต

UndubZapp

เผยแพร่ 24 พ.ค. 2561 เวลา 03.00 น. • อันดับแซ่บ
กินดีอยู่ดี!! 10 อาหารลดความดันโลหิต ลดเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต
10 อาหารลดความดันโลหิต สำหรับคนที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคความดันสูง ควรเลี่ยงการทานอาหารไขมันสูง ลดเค็ม เน้นทานอาหารโพแทสเซียม ลดเสี่ยงโรคความดันสูงได้

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบมากในช่วงอายุประมาณ 30-40 ปีขึ้นไป โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีผู้ป่วยโรคความดันมากถึง 10 ล้านคน ซึ่งน่าแปลกที่ 70% ของคนกลุ่มนี้ “ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะดังกล่าว” ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อันเป็นเหตุไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเราความดันสูงหรือต่ำ? วิธีการตรวจวัดความดันก็ไม่ยากเลย จะซื้อเครื่องมาตรวจเองที่บ้านก็ได้ หรือตรวจกับโรงพยาบาลก็สะดวกสบายรู้ผลทันที ซึ่งวิธีการอ่านค่าความดันโดยปกติก็ไม่ยาก โดยค่าความดันโลหิตจะแสดงผล 2 ค่าดังนี้

1. เลขตัวบน คือ ความดันหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัว

2. เลขตัวล่าง คือ ความดันหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจคลายตัว

โดยความดันโลหิตที่เรียกว่า "เหมาะสม" ในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 18 ปี คือ เลขตัวบนไม่เกิน 120 มม.ปรอท และ เลขตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท เรียกสั้นๆ ว่า 120/80 ถ้าพบว่าค่าความดันสูงผิดปกติ แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควบคู่กับการออกกำลังกาย ปรับอาหารการกินให้เหมาะสม ลดเค็ม ลดอาหารไขมันสูง กินผักผลไม้อาหารที่มีโพแทสเซียมมากๆ โดยลองจาก 10 อาหารลดความดันโลหิต ที่ Undubzapp รวบรวมมาแล้วก็ได้เลยค่ะ

10. กล้วย

กล้วยมีค่า “โพแทสเซียม” สูง ซึ่งจะช่วยรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต  ดีต่อการยืดหดของกล้ามเนื้อหัวใจ เพราะฉะนั้นกินกล้วย 1-2 ใบต่อวัน สามารถช่วยฟื้นฟูระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

 

9. เมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันอุดมไปด้วย แมกนีเซียม ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยทำให้หลอดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลัน อีกทั้งยังสามารถรับประทานเป็นขนม อาหารว่างระหว่างวันได้เลย

8. ดาร์กช็อกโกแลต

จากการศึกษาของสถาบันวิจัย Journal of the American Medical Association (JAMA) พบว่าการที่คนเรากินดาร์กช็อกโกแลต 1-2 ชิ้นต่อวัน จะช่วยพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิตให้สมดุลแข็งแรง อีกทั้งช็อกโกแลต ยังเป็นซูเปอร์ฟู๊ด ที่ช่วยทำให้อารมณ์ดี ลดอัตราเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

7. บรอกโคลี

ผักที่หาทานได้ไม่ยากในบ้านเรา “บรอกโคลี” เป็นผักในตระกูลกะหล่ำที่มีประโยชน์สูง เพียงหัวเล็กๆ ของมัน ก็อุดมไปด้วย “โพแทสเซียม” ถึง 14% ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิตได้แบบเห็นๆ

 

6. ผักโขม

ผักโขม แต่ประโยชน์รสหวาน แคลอรี่ต่ำ อุดมไปด้วยไฟเบอร์ โพแทสเซียม โฟเลท และแมกนีเซียม หัวใจสำคัญในการปรับสมดุลความดันโลหิต ดีต่อสุขภาพสุดๆ

 

5. มะเขือเทศ

เทพแห่งผักผลไม้สารพัดประโยชน์ อุดมไปด้วยไลโคปีน สารต้านอนุมูลอิสระ และโพแทสเซียม นอกจากจะช่วยเรื่องระบบความดันโลหิตแล้ว ยังช่วยบำรุงผิวพรรณหนุ่มสาวให้สวยเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลสดใส สวยหล่อกันทุกคน

 

4. กระเทียม

ถ้าไม่นับเรื่องกลิ่นปากจากกระเทียม มันก็คือผักที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อโรคความดันระบบเลือดมากเลยทีเดียว เพราะในกระเทียมมีสารต้านอนุมูลอิสระ “Alicin” ที่ช่วยควบคุมความดันและระดับน้ำตาลในเลือด แนะนำให้ทานกึ่งสุก หรือทานแบบดิบจะดีกว่า ไม่งั้นสาร Alicin จะหายไปหมดจากความร้อนนะคะ

 

3. นมไขมันต่ำ

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของ นม เนย ที่มีไขมันสูง หันมาบริโภคนมไขมันต่ำ ที่มีประโยชน์อุดมไปด้วยแคลเซียม โพแทสเซียม และวิตามินดีที่สูงไม่แพ้กัน 3 สารอาหารเหล่านี้จะช่วยแท็กทีมกันลดความดันโลหิตได้ประมาณ 3-10% เลยทีเดียว

 

2. ถั่วเหลืองและพืชตระกูลถั่ว

ถั่วเหลืองรวมถึงอาหารตระกูลถั่วทุกชนิด ไขมันน้อย คอเลสเตอรอลต่ำ ไฟเบอร์สูง อุดมไปด้วยโพแทสเซียมที่สำคัญต่อผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง แนะนำให้ทานในปริมาณพอเหมาะ และควรเป็นถั่วสดๆ ที่ไม่ใส่เกลือหรือสารปรุงรสใดๆ เด็ดขาด

 

1. ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชมากประโยชน์ที่มีไฟเบอร์สูง ไขมันต่ำ แถมโซเดียมยังต่ำอีกด้วย เป็นได้ทั้งอาหารมื้อหนักและมื้อเบา ที่เหมาะกับคนเป็นโรคความดันโลหิตสูง ยิ่งทานคู่กับผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ยิ่งช่วยเพิ่มความอร่อย แถมดีต่อสุขภาพแบบทวีคูณ

SOURCE : wonderslist *แนะนำพูดคุยทาง Line @UndubZapp *

---

อัปเรื่องแซ่บ ฟีดเรื่องมันส์ เม้าท์ทันเพื่อน
Facebook: @UndubZapp
Instagram: @UndubZapp

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0