โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

กิจการอะไร…ที่ยังเติบโต? (ตอนที่ 1)

Stock2morrow

อัพเดต 22 ก.ค. 2562 เวลา 05.24 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 03.26 น. • Stock2morrow
กิจการอะไร…ที่ยังเติบโต? (ตอนที่ 1)
กิจการอะไร…ที่ยังเติบโต? (ตอนที่ 1)

การลงทุนในตลาดหุ้นไทยหรือที่ไหนก็ตามแต่ เป็นที่ทราบกันดีว่านักลงทุนที่ลงทุนหุ้นด้วยตนเอง โดยที่มิได้ลงทุนผ่านกองทุนรวมนั้น เป็นการลงทุนใน “หุ้น” มิได้ลงทุนใน “ดัชนี”

 

ดังนั้นหน้าที่หลักที่สำคัญอย่างยิ่งของนักลงทุนรายย่อยที่จะเลือกลงทุนหุ้นเอง คือ การมองหาหุ้น(กิจการ)ที่ยังมีความสามารถในการเติบโตต่อไปได้อีกในอนาคต ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งมีโอกาสยั่งยืนได้ยิ่งวิเศษ

 

ที่มาของการเติบโตอาจจะมาจากหลากหลายเราเรียกสิ่งนี้ว่า Growth Story หรือเรื่องราวของการเติบโต เช่น การขยายสาขา การเพิ่มกำลังการผลิต การเปิดตลาดใหม่ การเพิ่มราคสินค้าและบริการ ความนิยมของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นฯลฯถ้าใช้หลักเกณฑ์นี้ แล้วกวาดสายตาดูทั่วตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ท่านอาจจะตกใจ ว่าหุ้นกว่า 700 ตัวที่ลิสต์อยู่ในตลาดนั้น มีคุณสมบัติของการเติบโตเท่าที่คนธรรมดาอย่างเราๆจะจินตนาการได้… มันมีอยู่ไม่มากเลย หุ้นส่วนใหญ่มีตลาดที่ชัดเจนในวันนี้ แต่อนาคตกลับไม่แน่นอน หรือบางตัวก็ขายสินค้าได้น้อยลง ค่าบริการต่ำลง ตั้งแต่ตอนนี้แล้วด้วยซ้ำ

 

คำถามใหญ่ของเราวันนี้คือ กิจการอะไร…ที่ยังเติบโต ต่อไปได้อีก ผมคิดว่าอย่างน้อยต้องมีกิจการต่อไปนี้

 

Convenient Store : ถ้าพูดถึงเครือข่ายร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย น่าจะเห็นตรงกันว่า คือ ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น(7-11) ที่พบเห็นได้ทั่วไป ริมถนน พื้นที่ชุมชน ปั๊มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งสาขาแบบสแตนอโลนตั้งอยู่โดดๆพร้อมที่จอดรถ โดยมีบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นผู้บริหารแฟรนไชส์เซเว่นอีเลฟเว่นในไทยและยังมีธุรกิจในส่วนของบริษัทลูกด้วย เช่น ถือหุ้นใหญ่บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO อย่างไรก็ตาม 80% ของกำไร(earning before tax)มาจากธุรกิจหลัก ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ7-11, ร้านขายยา Xta , คัดสรรเบเกอรี่ Kudson, ผู้ผลิตอาหารถาดฟรีซ 7 Fresh, และ ร้านกาแฟมวลชน

 

ที่ผ่านมาการเติบโตหลัก (Growth Story) ที่ทำให้ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ขยายสาขาได้เรื่อยๆ ไม่ได้มาจากมูลค่าตลาดค้าปลีกไทยที่เติบโตขึ้น แต่ เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนสถานที่ช้อปปิ้งซึ้อของ โดยย้ายจากโชห่วยดั้งเดิม มาเป็นร้านสะดวกซื้อ ที่สะดวก สว่าง เย็นสบายตั้งราคามาตรฐานทั่วประเทศและมีพัฒนาการเป็นร้านอิ่มสะดวกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

 

ในอนาคตการเติบโตหลักมาจาก

1.ธุรกิจใหม่ๆ ที่ต่อยอดบนเครือข่ายร้านสะดวกซื้อ ที่ทำเลที่ตั้ง 13,000 สาขาทั่วประเทศภายใน 3 ปีข้างหน้า ให้ความสะดวกต่อผู้คนจริงๆ แถมยังเปิด 24 ชั่วโมงตลอด 7 วันไม่มีวันหยุด ใม่ว่าจะเป็นบริการลอจิสติกส์ SPEED-D Speedy เปิดรับส่งพัสดุและรับของที่ 7-11 ได้ทุกสาขา ตลอด 24 ชั่วโมง, บริการแบงค์กิ้งเอเจนท์ รับทำธุรกรรมให้ธนาคารพาณิชย์(ที่กำลังทยอยปิดสาขา), ร้านกาแฟ ร้านชานมไข่มุกที่ขายประจำที่มุม All Café, ทำ Loyalty Program ด้วย All Member, เข้าสู่ธุรกิจค้าออนไลน์ และยังมีร้านขายยา มุมขายอาหารปรุงสดใหม่ และอีกหลายธุรกิจที่เตรียมนำมาลง

 

2.การประหยัด จากการลดต้นทุนต่อหน่วย ด้วยการที่มีสาขาจำนวนมากทำให้เกิด Economy of Scale (การประหยัดเนื่องจากขนาด) ลองนึกดูว่าถ้าร้านกาแฟข้างทาง สั่งเมล็ดกาแฟทีละไม่กี่กิโลกรัม จะมีต้นทุนสู้กับเครือข่ายร้านกาแฟ All Café ที่สั่งเมล็ดกาแฟทีละหลายๆตัน ได้อย่างไรนอกจากนี้ยิ่งมีสาขาจำนวนมากๆทำให้การบริหาร DC (Distribution Center) ช่วยลดต้นทุนขนส่งสินค้าต่อหน่วยได้มากขึ้นเข้าไปอีก

 

โดยรวมผมจึงมีความเห็นว่า ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเป็นธุรกิจที่ยังมีโอกาสเติบโตได้อีก ทั้งในด้านรายได้ใหม่ๆ และด้านการประหยัดต้นทุน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และนักลงทุนจำนวนมากได้มองเห็นความจริงนี้นานแล้ว ราคาหุ้นจึงไม่ค่อยจะมีช่วงถูก การลงทุนในลักษณะออมทีละน้อย ถือไว้นานๆน่าจะเป็นวิธีจัดการกับหุ้นลักษณะนี้


อธิป กีรติพิชญ์ (นิ้วโป้ง)

เจ้าของหนังสือ Best Seller “ติวหุ้น รวยด้วยวีไอ” และยังเป็นวิทยากรคอร์ส “ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐานแบบ Value/Growth Investor” ด้วยประสบการณ์ในตลาดทุนกว่า 17 ปี และประสบการณ์ในการเป็นติวเตอร์ บวกกับความเป็นคนอารมณ์ขัน  ทำให้คุณนิ้วโป้งสามารถถ่ายทอดเรื่องยาก อย่างการลงทุน ให้เข้าใจได้ง่าย และยังใช้ภาษา ลีลาที่มีเอกลักษณ์น่าสนใจอย่างยิ่ง จึงทำให้ได้รับเชิญไปบรรยายในงานต่างๆ มากมาย

 

คอร์สสัมมนา :  ติวหุ้น รวยด้วย VI

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0