โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

การใช้น้ำปัสสาวะในนาข้าว

เทคโนโลยีชาวบ้าน

เผยแพร่ 23 ม.ค. 2562 เวลา 09.02 น.
5

น้ำปัสสาวะ น้ำฉี่ น้ำเยี่ยว แค่พูดถึง หลายคนก็รู้สึกรังเกียจแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า น้ำสีเหลืองๆ นี้แหละ มีประโยชน์เหลือหลาย เพราะอุดมด้วย แร่ธาตุ วิตามิน ฮอร์โมน เอนไซต์ ภูมิคุ้มกัน โปรตีน รวมทั้งสารที่มีประโยชน์อีกมาก และยังพบว่าน้ำปัสสาวะตอนเช้าหลังตื่นนอนมีฮอร์โมนเมลาโทนินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ และยิ่งเป็นน้ำปัสสาวะของเด็กจะมีแร่ธาตุมากมาย ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง สังกะสี ไอโอดิน เหล็ก ยูเรีย ซึ่งสามารถต้านการอักเสบ และบำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย

ในการแพทย์แผนโบราณได้บ่งบอกถึงข้อดีของการดื่มน้ำปัสสาวะ จึงมีผู้นำน้ำปัสสาวะมาดื่ม เพื่อป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เพราะเชื่อว่าในน้ำปัสสาวะมีสารอินเตอร์เฟอรอน เป็นสารต้านมะเร็ง เมื่อน้ำปัสสาวะเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการจึงขับออกมา เมื่อดื่มเข้าไปร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทาน โดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวไล่กินปัสสาวะที่เราดื่มเข้าไป ซึ่งกระจายไปทั่วร่างกาย และเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่กินเชื้อโรค กินมะเร็ง กินสิ่งแปลกปลอมรวม ทั้งสิ่งที่มีพิษในร่างกายอยู่แล้ว ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานเพิ่มมากขึ้น

การใช้น้ำปัสสาวะในนาข้าว

น้ำปัสสาวะเกิดจากระบบการขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย โดยการแยกกาก คือ อุจจาระออกจากกัน ฉะนั้นน้ำปัสสาวะจึงต่างจากอุจจาระที่เป็นของเสีย

เมื่อน้ำปัสสาวะใช้ประโยชน์ในคนได้ ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีผู้นำมาทดลองใช้กับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย นั่นก็คือ การใช้น้ำปัสสาวะใช้ในนาข้าว

ปกติคนเราจะถ่ายน้ำปัสสาวะ วันละ 1-1.5 ลิตร องค์ประกอบของน้ำปัสสาวะของผู้ใหญ่ 1 คน ต่อ วัน ประกอบไปด้วย

– ยูเรีย (ไนโตรเจน) 6-180 กรัม

– ครีเอไทน์ (ไนโตรเจน) 0.3-0.8 กรัม

– แอมโมเนีย (ไนโตรเจน) 0.4-1.0 กรัม

– กรดยูลิค (ไนโตรเจน) 0.008-0.2 กรัม

– โซเดียม 2.0-4.0  กรัม

– โปแตสเซียม 1.5-2.0  กรัม

– แคลเซียม 0.1- 0.3 กรัม

– แมกนีเซียม 0.1-0.2 กรัม

– คลอไรด์ 4.0-8.0 กรัม

– ฟอสเฟต (ฟอสฟอรัส) 0.7-1.6 กรัม

– อนินทรีย์ ซัลเฟต (ซัลเฟอร์) 0.6-1.8 กรัม

– อินทรีย์ ซัลเฟต (ซัลเฟอร์) 0.006-0.2 กรัม

ธาตุอาหารเหล่านี้ สามารถนำไปปลูกพืชโดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย  สรุปว่า น้ำปัสสาวะที่มนุษย์ขับถ่ายและทิ้งในแต่ละวันสามารถตอบสนองต่อความต้องการปุ๋ยในการปลูกพืชของโลกได้ทั้งหมดโดยธรรมชาติ

การนำไปใช้ประโยชน์

มีการศึกษา พบว่า น้ำปัสสาวะมีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าว สามารถนำผล นำไปส่งเสริมให้เกษตรกรนำน้ำปัสสาวะมาใช้ในนาข้าวเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการส่งเสริมการใช่ปุ๋ยในนาข้าว และรณรงค์การใช้น้ำปัสสาวะทดแทนปุ๋ยเคมี

หากสนใจและต้องการข้อมูล การใช้น้ำปัสสาวะในนาข้าว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถนนธราธิบดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือโทรศัพท์ 077 -311525

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0