โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

การเมืองในประเทศกดดัน”หุ้น-ค่าบาท”

Money2Know

เผยแพร่ 26 เม.ย. 2562 เวลา 11.36 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
การเมืองในประเทศกดดัน”หุ้น-ค่าบาท”

 

หุ้นไทยปิดตลาดสัปดาห์นี้ ลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย 0.42% นักลงทุนผวาการเมืองในประเทศและปัจจัยต่างประเทศ เช่นเดียวกับค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย หลังทะลุ 32 บาท/ดอลลาร์

ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนโดยดัชนีSET ปิดที่ระดับที่ 1,667.15 จุด ลดลง 0.42% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 50%จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 42,946.66 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ maiลดลง 0.80%มาปิดที่ 365.54จุด

ดัชนีหุ้น
ดัชนีหุ้น

ดัชนีตลาดหุ้นไทยย่อตัวลงช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางความกังวลต่อปัจจัยการเมืองในประเทศ แม้หุ้นกลุ่มพลังงานจะมีแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ตาม

อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์จากแรงซื้อในหุ้นกลุ่มสื่อสารก่อนการเปิดเผยผลประกอบการงวดไตรมาส 1/62

อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยลดช่วงบวกทั้งหมดลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ และทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (29 เม.ย.-3 พ.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,655 และ 1,630 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,685 และ 1,700 จุด ตามลำดับ

โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ผลประกอบการงวดไตรมาส 1/62 ของบริษัทจดทะเบียนไทย ปัจจัยการเมืองในประเทศ การประชุมนโยบายการเงินของเฟดการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมถึงสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลเดือนมี.ค. ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร อัตราการว่างงาน และดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย. ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/62 ของยูโรโซน รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย. ของยูโรโซน ญี่ปุ่นและจีน

เงินบาททยอยอ่อนค่าไปที่ 32.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 4 เดือน ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาบางส่วนปลายสัปดาห์ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย

ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติม หลังเงินยูโรถูกกดดันจากสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีและยูโรโซนในภาพรวม อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าและฟื้นตัวกลับมาได้เล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์

ในวันศุกร์ (26 เม.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 31.97 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 31.83บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (19 เม.ย.)

ค่าเงินบาท
ค่าเงินบาท

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (29 เม.ย.-3 พ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.80-32.30 บาทต่อดอลลาร์ฯโดยจุดสนใจในประเทศน่าจะอยู่ที่ปัจจัยการเมือง รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนมี.ค. และเงินเฟ้อเดือนเม.ย. ของไทย

ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด และการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระหว่างสัปดาห์ ประกอบด้วย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ดัชนี PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. ยอดทำสัญญาการขายบ้านที่รอปิดการขาย ยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงาน และดัชนี Core PCE Price Indexเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นเงินเฟ้อที่เฟดติดตาม   

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0