โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

การสำรวจขั้วโลกเหนือครั้งใหญ่สุด

new18

อัพเดต 23 ก.ย 2562 เวลา 04.15 น. • เผยแพร่ 21 ก.ย 2562 เวลา 22.30 น. • new18
การสำรวจขั้วโลกเหนือครั้งใหญ่สุด
เรือวิจัย โพลาร์สเติร์น (Polarstern) ของสถาบันวิจัยขั้วโลกและมหาสมุทรอัลเฟรด แวเกนเนอร์ แห่งเยอรมนี นำคณะนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองทรอมโซ ในนอร์เวย์ เมื่อคืนวันศุกร์ มุ่งหน้าสู่ภูมิภาคอาร์กติกแถบขั้วโลกเหนือ ที่ซึ่งเรือจะปักหลักอยู่นาน 1 ปี เพื่อทำการสำรวจวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

เรือวิจัย โพลาร์สเติร์น (Polarstern) ของสถาบันวิจัยขั้วโลกและมหาสมุทรอัลเฟรด แวเกนเนอร์ แห่งเยอรมนี นำคณะนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองทรอมโซ ในนอร์เวย์ เมื่อคืนวันศุกร์ มุ่งหน้าสู่ภูมิภาคอาร์กติกแถบขั้วโลกเหนือ ที่ซึ่งเรือจะปักหลักอยู่นาน 1 ปี เพื่อทำการสำรวจวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

ซึ่งจะเป็นการสำรวจแถบขั้วโลกเหนือ ครั้งใหญ่สุดและซับซ้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาภาวะโลกร้อน

โครงการสำรวจที่เรียกกว่า โมเสค (The MOSAiC : Multidisciplinary drifting Observatory for the Study of Arctic Climate) มูลค่า 140 ล้านยูโร (4,700 ล้านบาท) นักวิทยาศาสตร์ประมาณ 600 คน จาก 19 ประเทศ รวมถึง เยอรมนี สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน จะสลับผลัดเปลี่ยนกันไปที่เรือโพลาร์สเติร์น เพื่อทำภารกิจวิจัยตามที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
นายมาร์คุส เร็กซ์ นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันอัลเฟรด แวเกนเนอร์ ในฐานะหัวหน้าคณะนักวิจัยในโครงการโมเสค กล่าวว่า อาร์กติกเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ขณะเดียวกัน ยังเป็นภูมิภาคของโลก ที่มนุษย์เข้าใจระบบภูมิอากาศน้อยที่สุด
ปัจจุบันภูมิภาคอาร์กติกร้อนขึ้น ในอัตรามากกว่าส่วนที่เหลือของโลก 2 เท่า
ในช่วงฤดูหนาวจัด ซึ่งแม้แต่เรือตัดน้ำแข็งก็ไม่สามารถเข้าถึง จุดที่เรือโพลาร์สเติร์นประจำการอยู่ได้ จะใช้เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ระยะไกล สำหรับการส่งเสบียงและสับเปลี่ยนนักวิจัย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0