โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

การสละธุรกิจที่ล้ำค่า เพื่อพยุงธุรกิจที่ไร้ค่า ของ SoftBank

ลงทุนแมน

อัพเดต 03 เม.ย. 2563 เวลา 08.55 น. • เผยแพร่ 03 เม.ย. 2563 เวลา 08.55 น. • ลงทุนแมน

การสละธุรกิจที่ล้ำค่า เพื่อพยุงธุรกิจที่ไร้ค่า ของ SoftBank /โดย ลงทุนแมน10 ปีที่ผ่านมานี้ หากถามว่าการลงทุนไหนประสบความสำเร็จสุดในโลก
หนึ่งในนั้นต้องมีการลงทุนของ SoftBank ในบริษัท AlibabaSoftBank ลงทุนในบริษัท Alibaba กว่า 12,000 ล้านบาท
จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของบริษัท คิดเป็นการครอบครองหุ้น 29.4%หลังจาก Alibaba ก้าวมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกทำให้มูลค่าการลงทุนของ SoftBank
พุ่งทะยานเป็น 4,850,000 ล้านบาท คิดผลตอบแทนเป็น 404 เท่าจากเงินที่ได้ลงทุนไปดูเหมือน SoftBank จะประสบความสำเร็จมหาศาล
แต่เหตุการณ์ในอดีตที่สวยหรู ไม่ได้บ่งบอกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
ปีนี้ บริษัท SoftBank กำลังเจอความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นความยิ่งใหญ่ระดับที่ Masayoshi Son เจ้าของบริษัท SoftBank
ตัดสินใจขายสินทรัพย์ส่วนหนึ่งของบริษัทมูลค่ารวมกัน
กว่า 1,300,000 ล้านบาทเพื่อพยุงธุรกิจเอาไว้แล้ว SoftBank ได้รับผลกระทบหนักขนาดไหน?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
SoftBank เป็นหนึ่งในบริษัทนักระดมทุนสัญชาติญี่ปุ่นระดับโลกที่ลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นผู้นำเทคโนโลยีที่เป็นเมกะเทรนด์ในอนาคตซึ่งหนึ่งในเทรนด์ที่ SoftBank โฟกัสเป็นพิเศษนั่นก็คือ
“Sharing Economy” หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ยกตัวอย่างเช่นSoftBank ลงทุนในแพลตฟอร์ม Ride Sharing หรือแพลตฟอร์มเรียกรถและแชร์รถกับคนอื่น ได้แก่Didi ผู้ให้บริการในประเทศจีน
OLA ผู้ให้บริการในประเทศอินเดีย
Grab ผู้ให้บริการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และ Uber ผู้ให้บริการทั้งในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศจากตรงนี้ เราก็อาจจะสรุปได้ว่า อุตสาหกรรม Ride Sharing บนโลกนี้เกือบทั้งหมดเป็นของ SoftBankนอกเหนือจากแพลตฟอร์ม Ride Sharing แล้ว..
SoftBank ยังลงทุนใน WeWork เจ้าของแพลตฟอร์มเช่าอาคารสำนักงาน
และ OYO เจ้าของแพลตฟอร์มจองโรงแรม ที่อยู่อาศัยทั้งหมดนี้ก็น่าจะสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับ SoftBank
หาก Sharing Economy เติบโตแบบไม่มีสะดุดแต่ฝันร้ายที่ไม่คาดฝันก็ดันมาเกิดขึ้น
จาก COVID-19..ความเสี่ยงเดียวของการลงทุนมหาศาลใน Sharing Economy ก็คือเราจะไม่แชร์สิ่งของร่วมกัน
เราจะไม่เดินทาง ไม่ไปเที่ยว ไม่หาที่พัก
เราจะไม่ออกไปทำงานที่แชร์ออฟฟิศกับคนอื่น แต่ทำงานที่บ้านเรื่องที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เมื่อ 3 เดือนก่อน
แต่สิ่งเหล่านี้กลับเกิดขึ้น “พร้อมกัน”
และพร้อมกัน “ทั่วทั้งโลก”แม้ว่าบางธุรกิจย่อยของแพลตฟอร์มเรียกรถ เช่น บริการส่งอาหารจะเติบโตระเบิดในช่วงนี้ แต่ธุรกิจหลักก็ยังเป็นการแชร์การเดินทาง ที่หายไปแทบจะในทันทีและคาดการณ์ไม่ได้เลยว่าจุดสิ้นสุดอยู่ที่ตรงไหนทำให้ตอนนี้ SoftBank ไม่ต่างอะไรจากเรือสำราญที่ผู้โดยสารครึ่งลำเต็มไปด้วยผู้ติดเชื้อที่เรียกว่าสตาร์ตอัปซึ่งเมื่ออยู่ในเรือลำเดียวกัน ทุนใช้ร่วมกัน บริหารร่วมกัน
แน่นอนว่าผู้โดยสารอีกครึ่งลำ คือธุรกิจอื่นๆ ของ SoftBank
ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะพลอยได้รับผลกระทบไปด้วยทั้งหมดนี้ส่งผลโดยตรงไปยังมูลค่าบริษัท SoftBank ที่หายไปกว่าครึ่งในระยะเวลาเพียงเดือนเดียวยังไม่หมดเพียงแค่นี้..
ด้วยสภาพของ SoftBank คือผู้ให้ทุน
ในขณะที่คนรับทุนจาก SoftBank ส่วนใหญ่
ยังเป็นบริษัทสตาร์ตอัปที่ขาดทุนต่อเนื่อง มีหนี้สินมหาศาล
และยังต้องการการระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจเมื่อรายได้หายไป และมีแนวโน้มที่จะทำไม่ได้ตามที่ผู้ให้ทุนคาดหวัง
ทำให้บริษัทเหล่านี้ขาด “สภาพคล่อง” ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ SoftBank จำเป็นต้องเลือกก็คือ
1. ปล่อยให้ล้มละลาย
2. เยียวยาด้วยการให้ทุนเพิ่มเติมสำหรับทางเลือกแรก มันจะทำให้เงินลงทุนของ SoftBank เป็นศูนย์ทันที และต้องบันทึกผลขาดทุน ซึ่งก็เพิ่งเกิดขึ้นกับ OneWeb บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมที่ SoftBank ลงทุน เพิ่งประกาศล้มละลายสำหรับทางที่สอง มันจะทำให้ SoftBank ต้องอัดเงินเข้าไปเพิ่มเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีทางรู้เลยว่าโรคระบาดจะหายก่อน หรือเงินที่ทยอยเพิ่มเข้าไปจะหมดก่อน..ที่ผ่านมา SoftBank มีการ Leverage หรือการเพิ่มอำนาจการลงทุนด้วยการกู้ยืมที่สูงมากซึ่งในสภาวะปกติ ก็ถือว่าเสี่ยงอยู่แล้ว
ยิ่งในสถานการณ์แบบนี้ ก็ยิ่งเสี่ยงเป็นทวีคูณแล้วเสี่ยงที่ว่ามันคือเสี่ยงขนาดไหน?
เรามาดูสถานะทางการเงินของบริษัท SoftBankหนี้สิน (ไม่รวมเจ้าหนี้การค้า) 7,600,000 ล้านบาท
ส่วนผู้ถือหุ้น 2,300,000 ล้านบาทคิดเป็น อัตราส่วน 3.3 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงมาก
มากในระดับที่สถาบันการเงินคงไม่กล้าที่จะปล่อยกู้ต่อบทสรุปของเรื่องนี้จึงทำให้ Masayoshi Son เจ้าของบริษัท SoftBank
ตัดสินใจประกาศขายสินทรัพย์คิดเป็นมูลค่ารวมกันกว่า 1,300,000 ล้านบาท
ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่าหนึ่งในนั้นจะเป็นหุ้นบางส่วนของบริษัท Alibaba
บริษัทที่สร้างผลตอบแทนมหาศาลให้กับ SoftBank
เพื่อชำระหนี้ ไถ่ถอนหุ้นกู้ และเสริมสภาพคล่องให้กับบริษัท นั่นเอง..แล้วบทเรียนของเรื่องนี้คืออะไร?ในวันที่ดีที่สุดของเราก็อาจจะมีเรื่องแย่
ที่ทุกคนไม่คาดฝันเกิดขึ้น
ไม่ว่าเรากำลังจะทำอะไรอยู่สำหรับในมุมธุรกิจ
การกระจายความเสี่ยงของประเภทธุรกิจที่ลงทุน
และการรักษาระดับหนี้สินในการทำธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญหากเราควบคุมได้ไม่ดี
มองด้านบวกอยู่ด้านเดียว
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้ามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็อาจทำให้
เราต้องสละธุรกิจที่ล้ำค่า เพื่อพยุงธุรกิจที่ไร้ค่า ในที่สุด..
----------------------
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.reuters.com/article/us-softbank-group-buyback/softbank-plans-41-billion-of-asset-sales-to-expand-buyback-and-cut-debt-idUSKBN21A0F2
-https://www.cnbc.com/2020/03/27/softbank-to-let-internet-satellite-company-oneweb-file-for-bankruptcy.html
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-03-30/softbank-drops-10-after-oneweb-files-for-bankruptcy-protection

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0