โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

การประท้วงกรณีตำรวจใช้ความรุนแรง จับกุมจนชายผิวดำเสียชีวิตขยายวงกว้างทั่วสหรัฐฯ

Khaosod

อัพเดต 30 พ.ค. 2563 เวลา 13.47 น. • เผยแพร่ 30 พ.ค. 2563 เวลา 13.47 น.
_112563578_061695101-1.jpg

การประท้วงกรณีตำรวจใช้ความรุนแรง จับกุมจนชายผิวดำเสียชีวิตขยายวงกว้างทั่วสหรัฐฯ

การประท้วงกรณีตำรวจใช้ความรุนแรง ในระหว่างการจับกุมนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวดำ จนเขาเสียชีวิต ได้ขยายวงกว้างไปหลายเมืองทั่วสหรัฐฯ แล้ว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ท่าทีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. นายจอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวดำ เสียชีวิตขณะถูกตำรวจเมืองมินนีแอโปลิสจับกุมจากข้อกล่าวหาพยายามใช้ธนบัตรปลอมในร้านค้า วิดีโอบันทึกเหตุการณ์แสดงภาพเขาโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจผิวขาวใช้เข่ากดทับลำคอเขาลงกับพื้นถนน

แม้ล่าสุดเจ้าหน้าที่นายดังกล่าวที่เป็นแค่ "อดีตตำรวจ" นายเดเร็ค เชาวิน จะถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมและมีกำหนดขึ้นศาลวันจันทร์หน้าแล้ว แต่การประท้วงได้ขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ และบางพื้นที่รุนแรงถึงขั้นเกิดเหตุจลาจล

ที่เมืองมินนีแอโปลิส มีการจุดไฟเผาอาคาร รถยนต์ และเข้าฉกชิงทรัพย์ในร้านค้าต่าง ๆ
ที่เมืองมินนีแอโปลิส มีการจุดไฟเผาอาคาร รถยนต์ และเข้าฉกชิงทรัพย์ในร้านค้าต่าง ๆ

นายทรัมป์บอกว่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่ "แย่มาก ๆ" และบอกว่าเขาได้พูดคุยกับครอบครัวของนายฟลอยด์แล้ว และบอกว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ยอดเยี่ยม

อย่างไรก็ดี เขาเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเชิดชูความรุนแรงหลังทวีตข้อความว่า "หากการปล้นสะดมเกิดขึ้นเมื่อไหร่ การยิงก็จะเกิดขึ้นเมื่อนั้น"

การฉกชิงทรัพย์ที่นายทรัมป์ว่าหมายถึงสถานการณ์ในเมืองมินนีแอโปลิส โดยล่าสุด มีการประกาศเคอร์ฟิวในเมืองมินนีแอโปลิสและเซนต์พอลตั้งแต่เวลาสองทุ่มถึงหกโมงเช้าเมื่อวันศุกร์และเสาร์ แต่ผู้ประท้วงก็ฝ่าฝืนกฎด้วยการจุดไฟเผารถยนต์ และเข้าฉกชิงทรัพย์ในร้านค้าต่าง ๆ

ทิม วอลซ์ ผู้ว่าการรัฐมินนิโซตา บอกว่าสถานการณ์นี้ "วุ่นวาย อันตราย และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" และมีการส่งเจ้าหน้าที่กองกำลังพิทักษ์ชาติจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐเข้าไปควบคุมสถานการณ์แล้ว แต่ก็ยอมรับว่ามีจำนวนผู้ประท้วงมากกว่าเจ้าหน้าที่

ขณะนี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้สั่งการให้กองกำลังทหารเตรียมพร้อมปฏิบัติการแล้ว

Protesters and police in Minneapolis
Protesters and police in Minneapolis

สถานการณ์ทั่วประเทศ

เมื่อเย็นวันศุกร์ มีการชุมนุมบริเวณใกล้เคียงกับทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตันดีซี ผู้ประท้วงชูรูปถ่ายนายฟลอยด์ และตะโกนว่า "ผมหายใจไม่ออก" ซึ่งทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนายเอริก การ์เนอร์ ที่เสียชีวิตระหว่างการจับกุมในนครนิวยอร์กเมื่อปี 2014

ผู้ว่าการรัฐมินนิโซตา บอกว่าสถานการณ์นี้ “วุ่นวาย อันตราย และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”
ผู้ว่าการรัฐมินนิโซตา บอกว่าสถานการณ์นี้ “วุ่นวาย อันตราย และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

นายการ์เนอร์ วัย 43 ปี ร้อง "ผมหายใจไม่ออก" ออกมาถึง 11 ครั้ง หลังตำรวจเข้าควบคุมตัวเขาฐานลักลอบจำหน่ายบุหรี่โดยผิดกฎหมาย และประโยค "ผมหายใจไม่ออก" ยังกลายเป็นถ้อยคำสุดท้ายของนายการ์เนอร์ ที่เสียชีวิตภายหลังตำรวจล็อกคอของเขา

ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ ตึกอาคารบางแห่งถูกทำลายและรถตำรวจโดนจุดไฟเผา ส่วนที่เขตบรูกลินในนครนิวยอร์ก ผู้ประท้วงขว้างปาสิ่งของปะทะกับตำรวจ จุดไฟและทำลายรถตำรวจ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายได้รับบาดเจ็บและก็มีการจับกุมตัวผู้ประท้วงหลายคน

ที่เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ตำรวจกำลังทำการสืบสวนหลังชายวัย 19 ปี ถูกสังหารหลังจากมีรถคันหนึ่งขับเข้าไปหยุดใกล้ ๆ และมีการยิงปืนไปยังกลุ่มผู้ชุมนุม

ที่เมืองดัลลัสและฟีนิกซ์ มีการยิงแก๊สน้ำตาเพื่อพยายามควบคุมฝูงชน ส่วนที่นครลอสแอนเจลิสและเมืองโอ๊คแลนด์ผู้ประท้วงออกมากีดขวางถนน

ที่เขตบรูกลินในนครนิวยอร์ก ผู้ประท้วงขว้างปาสิ่งของปะทะกับตำรวจ จุดไฟและทำลายรถตำรวจ
ที่เขตบรูกลินในนครนิวยอร์ก ผู้ประท้วงขว้างปาสิ่งของปะทะกับตำรวจ จุดไฟและทำลายรถตำรวจ

กระบวนการทางกฎหมาย

ขณะนี้ นายเชาวินถูกตั้งข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่ได้เจตนา ซึ่งนายเบนจามิน ครัมป์ ทนายความของครอบครัวนายฟรอยด์บอกว่า เป็นผลรับที่น่ายินดีแต่ก็ควรจะเกิดขึ้นตั้งนานแล้ว ด้านครอบครัวของนายฟลอยด์บอกว่าต้องการให้นายเชาวินถูกตั้งข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและมีการวางเเผนไตร่ตรองไว้ก่อน และต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกสามคนที่เกี่ยวข้องถูกจับกุมตัวด้ว

นายเชาวิน ถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมและมีกำหนดขึ้นศาลวันจันทร์หน้าแล้ว
นายเชาวิน ถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมและมีกำหนดขึ้นศาลวันจันทร์หน้าแล้ว

ตำรวจทำอะไรจอร์จ ฟลอยด์

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเมืองมินนีแอโปลิส ช่วงเย็นวันจันทร์ โดยตำรวจได้รับแจ้งว่า มีลูกค้าคนหนึ่งพยายามใช้ธนบัตร 20 ดอลลาร์ปลอมในร้านค้า

แถลงการณ์ของตำรวจระบุว่า เจ้าหน้าที่ได้ติดตามตัวจนพบชายผู้ต้องสงสัย ซึ่งภายหลังทราบชื่อว่า จอร์จ ฟลอยด์ โดยเขาอยู่ใน "สภาพมึนเมา และนั่งอยู่บนรถสีฟ้า"

จากนั้น ตำรวจสั่งให้นายฟลอยด์ถอยออกมาจากรถ แต่เขาขัดขืน จนตำรวจต้องควบคุมตัวและสวมกุญแจมือ แต่ระหว่างการจับกุมนั้นพบว่า ชายคนดังกล่าวมีอาการผิดปกติขึ้น

แต่ภาพที่ผู้เห็นเหตุการณ์ได้บันทึกเป็นวิดีโอความยาว 10 นาที แสดงให้เห็น นายฟลอยด์ ร้องโอดครวญด้วยความเจ็บปวด และพูดว่า "ผมหายใจไม่ออก" และ "อย่าฆ่าผม" หลายครั้ง ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจผิวขาว ที่ใช้เข่ากดทับลำคอของนายฟลอยด์เข้ากับพื้นถนน

ประชาชนที่เห็นเหตุการณ์หลายคนพยายามพูดกับเจ้าหน้าที่ว่าให้ยกเข่าออกจากลำคอของนายฟลอยด์ ที่อยู่ในสภาพนอนนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว

ผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งเล่าว่า "มีเลือดไหลออกจากจมูกของเขา" ส่วนอีกคนบอกตำรวจให้ "ยกเข่าออกจากคอของเขา"

จอร์จ ฟลอยด์ ยังคงแน่นิ่ง ก่อนที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะนำตัวเขาขึ้นรถพยาบาลไป และเสียชีวิตลงในภายหลัง โดยตำรวจเปิดเผยสาเหตุว่า นายฟลอยด์เสียชีวิตจาก "อุบัติเหตุทางการแพทย์" และ "การโต้ตอบกับตำรวจ"

ตำรวจยืนกรานว่า ไม่มีการใช้อาวุธระหว่างการจับกุมที่เกิดขึ้น ส่วนกล้องติดลำตัวของตำรวจ ได้ส่งมอบให้กับสำนักสืบสวนคดีอาญาแห่งรัฐมินนิโซตา (BCA) เพื่อประกอบการสอบสวนว่า ตำรวจที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นได้ละเมิดกฎหมายของรัฐหรือไม่

ขณะที่ สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ แถลงว่าจะสอบสวนเรื่องสลดที่เกิดขึ้นเช่นกัน

นายฟลอยด์ มีอายุ 46 ปี และเคยทำงานด้านรักษาความปลอดภัยให้กับร้านอาหารแห่งหนึ่ง

จับกุมสังหาร…ความปวดร้าวที่หวนคืน

ภาพตำรวจผิวขาวใช้ความรุนแรงจับกุมชายผิวดำ ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนายเอริก การ์เนอร์ ที่เสียชีวิตระหว่างการจับกุมในนครนิวยอร์กเมื่อปี 2014

ภายหลังการเสียชีวิตของนายการ์เนอร์ ประโยคว่า "ผมหายใจไม่ออก" กลายเป็นถ้อยคำที่ผู้ประท้วงใช้ต่อต้านการใช้ความรุนแรงของตำรวจในสหรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน

นายการ์เนอร์ วัย 43 ปี ร้อง "ผมหายใจไม่ออก" ออกมาถึง 11 ครั้ง หลังตำรวจเข้าควบคุมตัวเขาฐานจำหน่ายบุหรี่อย่างผิดกฎหมาย และประโยค "ผมหายใจไม่ออก" ยังกลายเป็นถ้อยคำสุดท้ายของนายการ์เนอร์ ที่เสียชีวิตภายหลังตำรวจล็อกคอของเขา

แพทย์ยืนยันว่า การล็อกคอมีส่วนทำให้นายการ์เนอร์เสียชีวิต ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจนครนิวยอร์กที่เกี่ยวข้องกับการจับกุมดังกล่าว ได้ถูกให้ออกจากราชการในอีก 5 ปีให้หลัง ในปี 2019 แต่จนถึงตอนนี้ ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนใดถูกตั้งข้อหา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0