โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

การทำ StartUp ให้เป็นธุรกิจต้องมี Passion

Stock2morrow

อัพเดต 24 พ.ค. 2562 เวลา 11.05 น. • เผยแพร่ 24 พ.ค. 2562 เวลา 11.01 น. • Stock2morrow
การทำ StartUp ให้เป็นธุรกิจต้องมี Passion
การทำ StartUp ให้เป็นธุรกิจต้องมี Passion

อันที่จริงการเริ่มธุรกิจสามารถทําได้ตลอดเวลา มันไม่ได้เกี่ยวกับเศรษฐกิจไม่ดี แล้วเราจะทําให้ไอเดียที่ดีกลายเป็นธุรกิจไม่ได้ ตรงกันข้ามหากเราเริ่มต้นได้ดี มีปัญหาที่ควรค่าแก่การเข้าไปแก้ไข มันจะสามารถเลี้ยงชีวิตเราได้และกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนร้องหา แน่นอนโลกใบนี้เต็มไปด้วยปัญหา และก็มีคนพยายามแก้ปัญหาด้วยโซลูชันต่างๆ แต่ในฐานะผู้ประกอบการ เราต้องแยกให้ออกระหว่างโซลูชันที่เป็น Must have กับ Nice to have นี่คือระดับความต้องการของลูกค้าว่ามากน้อยแค่ไหนถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ก็คือเรากําลังผลิตยา (Drug) เพื่อช่วยชีวิตเขา หรือมันเป็นแค่ วิตามิน (Vitamin) ที่กินก็ดีไม่กินก็ได้ ยิ่งความซีเรียสมากเท่าไรก็แปลว่า ลูกค้าต้องการเรามากขึ้นเท่านั้น และจะตามมาด้วยการกลายเป็นธุรกิจที่สร้างทั้งคุณค่าและมูลค่าให้กับเราได้

ดังนั้นเพื่อช่วยให้เริ่มได้ง่ายขึ้น เรามาลองพิจารณา 4 แนวทางนี้ดูไหมครับว่า เราจะหาปัญหาที่ควรค่าแก่การแก้ไข ซึ่งเหมาะสมกับตัวเราได้ อย่างไร

1. ความท้าทายของตนเอง

หากเรามีความฝันอยากจะได้อะไรบางอย่าง และพบว่าในโลกนี้หรือสังคมที่เราอยู่ยังไม่มีใครทำสิ่งที่เราต้องการ ถ้าเราไม่ทําสิ่งนี้ หลายๆ คนบนโลกใบนี้ก็คงต้องใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ต่อไป เราต้องการเปลี่ยนโลก เปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของผู้คน ดังนั้นยิ่งเราฝันใหญ่เท่าไร มันก็ยิ่งควรค่าแก่การเข้าไปจัดการมากขึ้นเท่านั้น

ยกตัวอย่าง อีลอนมัสก์ เจ้าของ Tesla, SpaceX, และ Hyperloopสิ่งต่างๆ ที่เขาทําในช่วงเวลาต่างๆ มันช่างยิ่งใหญ่และท้าทายจนหลายคนคิดว่า เป็นไปไม่ได้ หรืออย่างในไทยที่ผมเคยได้ฟังก็เช่น พี่อู่-เฉลิมพล ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CT Asia Robotics ผู้สร้างดินสอหุ่นยนต์ สัญชาติไทย จากความสงสัยว่าเด็กไทยเก่งๆ ที่แข่งหุ่นยนต์ชนะระดับโลก มันหายไปไหนกันหมด ทําไมประเทศไทยเราไม่เคยมีหุ่นยนต์ของตัวเอง เขากล้าที่จะเสนอตัวเป็นคนรวบรวมทรัพยากรมนุษย์ที่กระจัดกระจาย มาสร้างหุ่นต้นแบบ และปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจส่งออกขายหุ่นยนต์ ให้กับทั้งญี่ปุ่นและประเทศในยุโรป

unicorn stock2morrow
unicorn stock2morrow

2. เกาที่ตัวเองคัน

StartUp หลายคนเริ่มแบบนี้ครับ คือจะหาว่าในชีวิตนี้อะไรเป็นสิ่งที่น่ารําคาญ หรือเป็นปัญหาที่คาใจตัวเองมากที่สุด ถ้ามันเป็นเรื่องที่หลายๆ คนคิดและประสบอยู่เหมือนกัน แปลว่า “น่าจะมีตลาด” ถัดมาก็ต้อง หาให้ได้ว่าคนที่ประสบปัญหานั้นยอมจ่ายเงินเพื่อแก้ปัญหาไหม ถ้าใช่ ก็แปลว่ามาถูกทางแล้วครับ อาจจะเป็นธุรกิจได้ถ้ามีคนจ่ายมากพอ เพราะบางปัญหาถึงมีคนคิดเหมือนกันมาก แต่ถ้าเขาเหล่านั้นคิดว่าไม่เป็นไร ฉันมีวิธีการอื่นแก้ปัญหาแบบอื่นได้โดยไม่ต้องเสียเงิน นั่นแปลว่าปัญหานั้น ยังสําคัญไม่พอครับ

ยกตัวอย่าง Facebook กับความต้องการสมุดรวมรุ่นของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ที่ยิ่งทํายิ่งมัน ขยายตัวจากมหาวิทยาลัยตนเองไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆ ออกไปสู่คนทําธรรมดาทั่วไป และขยายจากอเมริกาสู่การใช้งานทั่วโลกจนปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่าพันล้านคนไปแล้ว ถ้าใครเคยดูในหนัง Social Network อาจจําได้ เขาไม่ยอมเอาโฆษณาแบบ Banner เชยๆ เข้าไปใส่ในเว็บช่วงแรกๆ เพราะมันไม่ Cool ผู้ใช้อาจไม่ชอบ เขารอจนจํานวนคนใช้มากพอถึง Monetize มัน

3. ฟังให้เยอะ

การทํา StartUp คือการแก้ปัญหาบางอย่าง แต่ตอนเราเริ่มต้นอย่าเพิ่งยโสว่าเราเป็นผู้รู้ ถ้ามีโอกาสได้เจอคนที่มีปัญหา อย่าเพิ่งไป Pitch ด้วย โซลูชั่นที่เราคิดมาว่าดี ให้ฟังว่าอะไรเกิดขึ้นกับเขาบ้าง ให้เรียนรู้ขั้นตอน กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง บางครั้งเราอาจจะประหลาดใจว่าเขาอาจจะต้องการอะไรบางอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อนเพื่อทําสิ่งนั้นก็ได้ คําถามถัดไปคือแล้วมันเป็นไปได้ไหม ถ้ามีใครบางคนมาทําสิ่งนั้นแทนให้ ทำให้เขาประหยัดเวลา หรือประหยัดเงินได้มากขึ้น เขาจะยอมจ่ายเงินไหม

ยกตัวอย่าง Airbnb ที่ปรับตัวตามความต้องการลูกค้าตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นที่ ไบรอัน เชสกี (Brian Chesky) พบว่าห้องเช่าขายไม่ค่อยดีเนื่องจากรูปไม่สวย ก็ไปถ่ายรูปให้สวยให้ดูดี ต่อมาก็ต้องพิสูจน์ว่าคนแปลกหน้าไม่อันตรายนะ ทุกคนสามารถสะดวกใจเข้าพักอาศัยร่วมกันได้ แม้ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แก้ปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาไปทีละอย่าง จนกลายเป็นโซลูชั่นระดับโลกไปเลย…จากการรับฟัง

4. เปลี่ยนมุมมองของปัญหา

ในโลกนี้มีอะไรหลายอย่างที่ผู้คนทําตามๆ กันมานาน จนไม่คิดว่าเป็นปัญหา แต่ถ้าเราสังเกตมันดีๆ มันอาจจะมีวิธีการอะไรบางอย่างที่ทําให้ สิ่งนั้นดีขึ้น ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และแน่นอนถ้าหากมีโมเดลธุรกิจที่เหมาะสม มันอาจจะกลายเป็นธุรกิจใหม่ได้

ยกตัวอย่าง Apple สมัยสตีฟ จ็อบส์ จากปัญหาการเก็บเพลงในอุปกรณ์ พกพา กลายเป็น iPod และ iTunes สามารถพลิกโฉมอุตสาหกรรมเพลงและต่อมา iPhone พร้อม App Store ของเขาก็ได้เปลี่ยนแปลงคําว่า Smartphone ไปตลอดกาล

unicorn stock2morrow
unicorn stock2morrow

ทั้งหมด 4 ข้อนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้เราสามารถขยับขยายจาก Comfort Zone ของตัวเอง ไปสู่การแก้ปัญหา ทําโซลูชั่นที่เราคิดว่าเจ๋ง และแน่นอนต้องไป Validate กับลูกค้าว่าต้องการสิ่งที่เราคิดจริงไหม โดยการออกไปคุย หรือ Out of the building จริงๆ นะครับ ไม่ว่าเรา จะทําโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาอะไรสําหรับ SMEs สําหรับบริษัทใหญ่ หรือ สําหรับผู้บริโภคทั่วไป หลักการก็ไม่ต่างกันหรอกครับ อย่ามโนกันเองในออฟฟิศ ยิ่งเราคุยมากขึ้นเท่าไร จะได้ยินทั้งเสียงคนที่ชอบ และไม่ชอบ ซึ่งถ้ายิ่งเราพบว่าปัญหานี้มีความถี่ (Frequency) เช่น ปัญหาที่เราแก้นี้เกิดขึ้นบ่อย ความหนาแน่น (Density) เช่น มีผู้คนจํานวนมากที่ประสบปัญหาเดียวกัน และความเจ็บปวด (Pain) อยู่เยอะๆ คือ ไม่ใช่แค่รำคาญ แต่มันคือความรู้สึกสาหัสอยู่ในใจ กําลังรอฮีโร่มาช่วย บอกได้เลยคําเดียวครับว่า มันอาจเป็นปัญหาที่พาเราไปสู่การเป็นยูนิคอร์นก็เป็นได้

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นี่คือบทความส่วนหนึ่งของหนังสือ การเดินทางของเหล่ายูนิคอร์น The Jouney of UNICORNS ถ้าคุณกำลังมองหาหนังสือที่จะทำให้คุณก้าวไปสู่ StartUp ขั้น ยูนิคอร์น หนังสือเล่มนี้จะเป็นคำตอบที่คุณต้องการครับ สนใจสั่งซื้อได้ที่ https://www.stock2morrow.com/publishing/bookdetail.php?id=219

การเดินทางของเหล่ายูนิคอร์น The Jouney of UNICORNS
การเดินทางของเหล่ายูนิคอร์น The Jouney of UNICORNS

 

ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์

ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ (Dr.Dink) ก้าวสู่แวดวงธุรกิจเทคโนโลยีครั้งแรกเมื่อปี 2008 ด้วยการเข้าร่วมหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีกับทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เป็นรุ่นแรก นอกจากนี้ยังสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUTIP) เป็นรุ่นแรกอีกเช่นกัน

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0