โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน และที่มาของชื่อพายุมังคุด

MThai.com - Teen

เผยแพร่ 18 ก.ย 2561 เวลา 04.13 น.
การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน และที่มาของชื่อพายุมังคุด
เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ ทำไม ต้องชื่อว่า “พายุไต้ฝุ่นมังคุด” ชื่อเป็นผลไม้ของไทยเราซะด้วย ถ้าอยากรู้ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย

เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจในช่วงนี้ เกี่ยวกับข่าวพายุไต้ฝุ่นมังคุดพัดถล่มฮ่องกง เมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา (16 ก.ย. 2561) และเป็นพายุหมุนเขตร้อนภูมิภาคแปซิฟิกที่มีความรุนแรงที่สุดของปี 2018 นี้เลยก็ว่าได้ สร้างความเสียหายให้กับหลายประเทศที่พายุพาดผ่าน โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์, เกาะฮ่องกง และประเทศจีนตอนล่าง

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน

และที่มาของชื่อพายุมังคุด

แต่ทำไม ต้องชื่อว่า “พายุมังคุด” หรือ “พายุไต้ฝุ่นมังคุด” (MANGKHUT TYPHOON) ชื่อเป็นผลไม้ของไทยเราซะด้วย เชื่อว่าหลายคนจะต้องสงสัยและอยากรู้เหตุผล ถ้าพร้อมแล้วเราไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย

ที่มาชื่อ พายุไต้ฝุ่นมังคุด

สำหรับชื่อ “พายุไต้ฝุ่นมังคุด” เป็นไปตามกฎการตั้งชื่อพายุหมุนในเขตร้อน จาก 14 สมาชิกประเทศ (WMO Typhoon Committee) ประกอบด้วย กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย, ไมโครนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, ไทย, สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

เกณฑ์การตั้งชื่อ

1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 น็อต หรือ 63 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ

2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุด ใกล้จุดศูนย์กลาง ตามที่กำหนด ในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า “Damrey (ดอมเรย์)”

3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมา ในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า “Longwang (หลงหวาง)”

4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “Trami (ทรามี)” จะใช้ชื่อ “Kongrey (กองเรย์)”

5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “Saola (เซลลา)” จะใช้ชื่อ “Damrey (ดอมเรย์)”

  1. หากพายุลูกใดมีความรุนแรงและสร้างความหายนะมากเป็นพิเศษก็ให้ปลดชื่อพายุลูกนั้นไป แล้วตั้งชื่อใหม่เข้าไปในรายการชื่อแทน

ชื่อพายุหมุนในเขตร้อนสากลจากประเทศไทย

โดยทุกประเทศจะส่งรายชื่อพายุอย่างเป็นทางการ โดยจะหมุนเวียนใช้ตั้งชื่อพายุเรียงตามลำดับอักษรประเทศในภาษาอังกฤษ เช่น พายุไต้ฝุ่นเชบี ที่พัดถล่มญี่ปุ่นนั้น เป็นชื่อจากเกาหลีใต้ ตามมาด้วย พายุไต้ฝุ่นมังคุด เป็นตัวแทนชื่อจากไทย

สำหรับชื่อพายุหมุนในเขตร้อนจากประเทศไทย ที่ได้เลือกใช้เป็นชื่อสากล มังคุด, บัวลอย, อัสนี, ชบา และ ขนุน

ชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียเหนือ

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นสมาชิกร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย โดยภูมิภาคนี้มีสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ, อินเดีย, มัลดีฟส์, เมียนมา, โอมาน, ปากีสถาน, ศรีลังกา และไทย โดยกรมดังกล่าวจะเป็นผู้ตัดสิน เมื่อพายุไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด เฉลี่ยใน 3 นาที อย่างน้อย 34 นอต (63 กม./ชม. หรือ 39 ไมล์/ชม.)

ประเทศทั้งหมดจะส่งชื่อ 8 ชื่อ หมุนเวียนตามลำดับอักษรประเทศในภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน โดยชื่อจากประเทศไทยส่วนใหญ่ได้แก่ มุกดา, ไข่มุก, เพชร, ไพลิน, โกเมน, โมรา, เพทาย และ อำพัน

ที่มาข้อมูลและภาพจาก wikipedia.org

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0