โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

การดิ่งลงของราคาน้ำมันสะท้อนเศรษฐกิจโลก ปี 2019

Stock2morrow

อัพเดต 17 ม.ค. 2562 เวลา 03.01 น. • เผยแพร่ 17 ม.ค. 2562 เวลา 03.27 น. • Stock2morrow
การดิ่งลงของราคาน้ำมันสะท้อนเศรษฐกิจโลก ปี 2019
การดิ่งลงของราคาน้ำมันสะท้อนเศรษฐกิจโลก ปี 2019

ปี 2018 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบโลกได้ดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่มีทีท่าว่าราคาจะกลับมาได้เมื่อไหร่นั้น เป็นที่น่าจับตาสำหรับนักลงทุน เพราะการลดลงของราคาน้ำมันดังกล่าว จะสะท้อนภาพของเศรษฐกิจโลกในปี 2019 ได้

ราคาน้ำมันดิบ US (US crude oil price) ลดลงกว่า 40% จากราคาสูงสุดในรอบ 4 ปี ที่ราคายืนเหนือกว่า $76 ต่อบาเรล ในเดือนตุลาคม ราคา Brent crude oil ซึ่งถือว่าเป็นราคาน้ำมันดิบอ้างอิง ได้ตกลงฮวบในสัปดาห์นี้ มาถึงจุดต่ำสุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2017

ราคาน้ำมันถือว่าเป็นเครื่องมือในการพยากรณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกได้เป็นอย่างดี และความผันผวนของราคาน้ำมันยังเป็นกระจกสะท้อนกับหุ้นทั่วโลกอีกด้วย

การลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันยังสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับผลผลิตที่ลดลงของสหรัฐและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังสามารถประคองราคาน้ำมันไม่ให้ลดลงมากไปมากกว่านี้ได้ คือการปรับลดการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศ OPEC และประเทศพันธมิตร

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก (Global Slowdown)

International Monetary Fund หรือ IMF ได้คาดการณ์ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะลดลงเหลือเพียง 2.5% ในปี 2019 จาก 2.9% ของปีก่อนหน้า (2018) ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลงจะสะท้อนปริมาณการใช้พลังงานที่ลดลงด้วย

The International Energy Agency ยังได้เตือนเกี่ยวกับ “ความอ่อนแอ” ของความต้องการสินค้าในยุโรปและประเทศที่พัฒนาแล้วในเอเชีย นอกจากนั้น ยังเห็นการชะลอตัวในประเทศอินเดีย, บราซิล และอาเจนติน่า ซึ่งเป็นผลให้เกิดการอ่อนตัวของค่าเงินในกลุ่มประเทศดังกล่าว

OPEC ยังได้เตือนอีกว่า ในเดือนนี้ความต้องการสำหรับน้ำมันปีนี้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว ประมาณ 1 ล้านบาเรลต่อวัน

“ความต้องการของน้ำมันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สะท้อนเศรษฐกิจในปีหน้า” ซึ่งกล่าวโดย Robin Mills ประธานที่ปรึกษาด้านพลังงานของ Qamar Energy โดย Mills ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ในระยะสั้น ถึงแม้ภาคธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลง แต่โดยรวมแล้ว เศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัวต่อไป”

OPEC และ Russia

OPEC และประเทศพันธมิตรได้มีข้อตกลงเมื่อต้นเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา ที่จะลดกำลังการผลิต 1.2 ล้านบาเรลต่อวัน จากตลาดโลก

นอกจากนั้นประเทศสมาชิกกลุ่มร่วมการค้า ยังจะลดการผลิตน้ำมันอีกประมาณ 8 แสนบาเรลต่อวัน สำหรับ 6 เดือนแรกของปี 2019 โดย Russia และหุ้นส่วนสัญญาจะลดปริมาณการผลิตอีก 4 แสนบาเรลต่อวัน

ความร่วมมือในการลดปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศดังกล่าว จะทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้นได้อีกเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม ยังเป็นคำถามที่น่าสนใจว่า ราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไรหากข้อตกลงการลดปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศหมดลงในเดือนมิถุนายน 2019

“ถ้าราคาน้ำมันยังต่ำกว่า $60 ต่อบาเรล เรายังคงคาดหวังให้ OPEC ขยายข้อตกลงการลดปริมาณการผลิตน้ำมันไปถึงสิ้นปี 2019” ซึ่งกล่าวโดย Russ Mould ของ Online Investment platform จาก AJ Bell “ในทางตรงข้าม หากราคาน้ำมันปรับตัวมากกว่า $80 ต่อบาเรล นโยบายจะก็ควรจะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันมากขึ้น”

การใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ (US oil Boom)

สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าประเทศ Russia และ Saudi Arabia เป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 1973 โดยสหรัฐได้มีการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม การขึ้นแท่นการผลิตน้ำมันเป็นเบอร์หนึ่งของโลกของสหรัฐนั้น ถูกตั้งคำถามถึงความสามารถในการชักจูงราคาน้ำมันของกลุ่มประเทศยักษ์เดิมอย่าง OPEC

Jameel Ahmad หัวหน้านักกลยุทธ์และนักวิจัยด้านตลาดของ FXTM ได้กล่าวว่า “หนึ่งในปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้ OPEC สูญเสียความเป็นประเทศในการกำหนดราคาน้ำมันคือวิวัฒนาการความสามารถในการผลิตน้ำมัน ดังนั้น คงไม่มีใครโดดเด่นในเรื่องดังกล่าว เท่ากับประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา”

stock2morrow

ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0