โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

การค้าในกลุ่ม CLMVT คึกคัก แนะจับมือยกระดับธุรกรรมดิจิทัล

Money2Know

เผยแพร่ 16 ส.ค. 2561 เวลา 11.05 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
การค้าในกลุ่ม CLMVT คึกคัก แนะจับมือยกระดับธุรกรรมดิจิทัล
ผู้แทน CLMVT เผยการค้าผ่านดิจิทัลเริ่มคึกคัก แนะสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ สร้างมาตรฐานอีคอมเมิร์ซ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการค้าดิจิทัลในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

กระทรวงพาณิชย์จัดงาน CLMVT Forum 2018 ทะยานสู่อนาคตด้วยการใช้เทคโนโลยี ภายในงานมีการจัดเสวนาในหัวข้อ”ระบบนิเวศการค้าดิจิทัล สิ่งที่ต้องทำคืออะไร?”โดยมี H.E. Dr.Than Myint รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เมียนมา,Mr.Jojo Malolos ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเฉพาะทาง วิง(กัมพูชา) จำกัด,

ดร.สันติธาร เสถียรไทย หัวหน้าเศรษฐกรกลุ่ม บ.ซีลิมิเตด,Mr.Nagesh Devata หัวหน้าฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขาและหุ้นส่วน บ.เพย์พาล ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บ.แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด

ภูมิภาค CLMVT ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา, ลาว, เมียนมา, เวียดนาม และไทย เป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยโอกาสทางการค้า และยังมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประเทศสมาชิกทั้ง 5 จึงเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าควรมีการจัดประชุมหารือต่อเนื่องกันทุกปี เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต ท่ามกลางความผันผวนของเทคโนโลยีที่มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาในยุคปัจจุบัน

สถานการ์การค้าดิจิทัลเมียนมา-กัมพูชา

H.E. Dr.Than Myint กล่าวว่าสถานการณ์การค้าดิจิทัลในเมียมา ตอนนี้กำลังได้รับการดูแลจากภาครัฐเป็นพิเศษ เพราะว่าหลายๆบริษัทเริ่มดำเนินกิจการอีคอมเมิร์ซกันบ้างเเล้วแบบไม่เป็นทางการ รัฐบาลเมียนมาจึงพยายามจะดึงผู้ประกอบการเหล่านี้ให้กลับเข้ามาอยู่ในระบบที่รัฐบาลเมียนมาสามารถดูเเลได้ ซึ่งจะมีการอำนวยการในเรื่องความสะดวกต่างๆให้กับบริษัทที่ทำอีคอมเมิร์ซ

ที่ผ่านมาในเมียนมานิยมการค้าขายผ่านเฟซบุ๊คกันเป็นส่วนใหญ่ และสถานการณ์ปัจจุบันประชากรเมียนมาสามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตได้ถึง 80% ซึ่งเหตุผลที่เฟซบุ๊คเป็นที่นิยมน่าจะมาจากสาเหตุที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านโลกออนไลน์ได้อย่างเสรี เนื่องจากว่าที่ผ่านมาชาวเมียนมามักถูกปิดกั้นทางความคิดจากรัฐบาลทหาร

จากสภาวะที่การค้าดิจิทัลกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆส่งผลให้รัฐบาลเมียนมามีแผนที่จะจัดตั้งสมาคมการค้าดิจิทัลขึ้นภายในประเทศ สำหรับเป็นองค์กรการค้าที่จะเข้ามาควบคุมเเลและให้คำปรึกษาด้านต่างๆในการทำการค้าดิจิทัลให้แก่ผู้ประกอบการเเละประชาชนที่สนใจ ซึ่งจะทำให้การค้าดิจิทัลในเมียนมาเกิดความเสรีและมีความง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับทุกคน

Mr.Jojo Malolos เผยว่า ที่กัมพูชามีแหล่งการเงินที่ดำเนินงานให้กู้ โดยมีการจ่ายเงินกู้ซึ่งมีการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากของธนาคารลงได้ค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว 10 ปีที่เเล้วบริษัทวิง เริ่มให้ความสำคัญกับระบบดิจิทัลจากแนวคิดการเห็นประชากรส่วนใหญ่มีมือถือ

มือถือเป็นตัวกลางสำคัญที่จะสามารถให้ทุกคนทำธุรกรรมที่ไหนเมื่อไรก็ได้ ซึ่งเป็นโมเดลที่หลายชาตินำไปใช้เเละประสบความสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันคนส่วนใหญ่ของโลกก็ใช้มือถือเป็นอุปกรณ์ในการทำธุรกรรมแบบดิจิทัลเเล้วทั้งนั้น

ทั้งนี้ทางกัมพูชาเองก็ได้ออกกฎหมายควบคุมเรื่องนี้เเล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ทางกัมพูชากำลังทำอย่างต่อเนื่องคือการเร่งให้ความรู้เรื่องดังกล่าวกับประชาชนทุกภาคส่วนในประเทศ โดยใช้เฟซบุ๊คเข้ามาเชื่อมโยงการให้ความรู้เเละแระชาสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งนี้การขายของออนไลน์ในกัมพูชาเริ่มเป็นที่สนใจของประชากรในประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

สมาร์ทโฟนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัล

ดร.สันติธาร เสถียรไทย กล่าวว่า สิ่งที่เราได้เรียนรู้กับการค้าแบบดิจิทัลคือความต้องการของตลาดคืออะไร และข้อจำกัดมีอะไรบ้าง สำหรับสิ่งสำคัญหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพราะมีส่วนสำเร็จกับการค้าดิจิทัลคือการเข้าถึงระบบดิจิทัล

ถ้าหากกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงระบบดิจิทัลได้การค้าของระบบนี้ก็ล้มเหลว แต่ดูเหมือนว่าปัญหาดังกล่าวจะถูกมองข้ามไปเป็นที่เรียบร้อยเเล้วเพราะปัจจุบันสมาร์ทโฟนทำให้ทุกคนเข้าถึงระบบดิจิทัลได้ง่าย

และการค้าแบบดิจิทัลก็พลอยได้ผลประโยชน์ไปด้วยเต็มๆ ซึ่งปัจจุบันคนทำธุรกกรมผ่านแอปพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนทั้งนั้น สำหรับการเข้าถึงข้อมูลในยุคดิจิทัลแบบนี้สิ่งสำคัญคือการให้ความรู้เเละความเข้าใจกับประชากร ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้คนส่วนใหญ่เข้าใจในระบบดังกล่าวรวมไปถึงวิธีใช้งาน และข้อดีข้อเสียต่างๆที่อาจตามมาเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนเองด้วย

สูตรสำเร็จคือสร้างความไว้ใจ

Mr.Nagesh Devata เปิดเผยว่า การทำการค้าดิจิทัลสิ่งสำคัญคือความไว้เนื้อเชื้อใจกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ในธุรกิจขนาดเล็กมักไม่ค่อยได้รับความไว้วางใจสักเท่าไร เพราะผู้ประกอบการขนาดเล็กส่วนใหญ่ยังคงขาดความรู้และความเข้าใจในการทำธุรกิจบนดิจิทัล ซึ่งทำให้เป็นปัญหาที่ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้านอกพรมแดนตนเอง

ซึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กควรตระหนักอยู่เสมอว่ามีกฎระเบียบข้อบังคับอะไรบ้างซึ่งเป็นสาระสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กประสบความสำเร็จ ซึ่งความไว้วางใจก็ยังเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจดิจิทัล

เมื่อไรก็ตามที่ผู้ประกอบการทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าบริการของผู้ขายดีจริงก็จะเป็นบันไดขั้นแรกในการไต่ไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งที่เหลือก็เป็นหน้าที่ที่ผู้ประกอบการจะต้องไปต่อยอดกันต่อไปว่าจะให้ธุรกิจของตนเองเดินหน้าไปทางไหนต่อ ซึ่งถ้าเกิดความไว้ใจเมื่อไรก็จะเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้เกิดการซื้อขายผ่านดิจิทัลมากขึ้นในอนาคต

ทำอย่างไรให้การค้าดิจิทัล CLMVT ยกระดับไปอีกขั้น

นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กล่าวว่าปัจจุบันการค้าขายแบบดิจิทัลยังคงมีปัญหาและอุปสรรคสำหรับธุรกิจขนาดเล็กกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพราะหากต้องการขยายธุรกิจส่วนใหญ่ก็ต้องพึ่งพาเงินกู้จากธนาคาร แต่ก็จะเกิดปัญหาตรงที่ว่า

ธนาคารจะไม่มีข้อมูลการค้าของผู้ประกอบการรายย่อยได้อย่างเต็มที่ ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนที่ภาครัฐบาลต้องเข้ามากำกับดูแลอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการเสียภาษีจากผู้ค้าบางรายอีกด้วย

นอกจากความไว้วางใจที่เป็นสิ่งสำคัญในการทำการค้าดิจิทัลอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญในตลาดไทยนั่นคือกฎการเก็บภาษีไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ ต้องมีระบบควบคุมที่ชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการเก็บสถิติหรือการควบคุมที่จริงจัง แต่ปัจจุบันมีการนำระบบเก็บข้อมูลเข้ามาใช้

ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่ามีรายได้เท่าไรสำหรับผู้ประกอบการแต่ละราย นั่นจะส่งผลไปถึงการเสียภาษี ซึ่งต้องจับตาดูว่ารัฐบาลจะมีมาตรการแก้ไขเรื่องนี้อย่างไรที่จะทำให้ผู้ประกอบการทุกรายเข้าสู่ระบบและเปิดเผยข้อมูลของตัวเอง ถ้าหากไม่มีการแก้ไขผู้ประกอบการรายย่อยก็จะดำเนินกิจการแบบไม่จ่ายภาษีต่อไปเรื่อยๆ

ขณะที่ H.E. Dr.Than Myint กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า การที่จะยกระดับการค้าดิจิทัลในกลุ่มประเทศ CLMVT ประเทศสมาชิกต้องหันมาให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจังในแง่การขนส่งรวมไปถึงด้านต่างๆ ขณะเดียวกันรัฐบาลของทั้ง 5 ประเทศต้องมีการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง เช่นมีการหารือประจำเดือนสำหรับกำหนดทิศทางให้ทั้ง 5 ประเทศเข้าใจและดำเนินการไปในทางเดียวกัน

จึงจะเป็นการยกระดับการค้าดิจิทัลในกลุ่ม CLMVT แบบยั่งยืน ที่ผ่านมาการค้าแบบอีคอมเมิร์ซยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับบางประเทศในกลุ่ม CLMVT และมักประสบปัญหากับเรื่องดังกล่าวอยู่เรื่อยๆ แต่ว่าการที่ประสบปัญหาก็ยังเป็นเรื่องที่ดีอยู่บ้าง

เพราะจะได้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับบางประเทศที่อาจกำลังจะเจอปัญหากับที่บางประเทศได้ประสบไปก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งท้ายที่สุดการทำอีคอมเมิร์ซควรมีกฏข้อบังคับต่างๆชัดเจนในการเข้ามาดูแลทั้งระบบไม่ให้ประสบปัญหา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0