โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

กางแผน "ขสมก." รื้อระบบครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ เตรียมออกตั๋วเหมา รอรถเหลือ 5-10 นาที

Positioningmag

อัพเดต 09 ก.ค. 2563 เวลา 12.16 น. • เผยแพร่ 09 ก.ค. 2563 เวลา 11.38 น.
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ออกแผนฟื้นฟูปี 2563 รื้อระบบเดินรถใหม่ ลดจำนวนลด เพิ่มตั๋วแบบเหมาจ่าย ลดเวลารอเหลือ 5-10 นาที ตั้งเป้าใน 7 ปีต้องมีรายได้เลี้ยงตัว ไม่เป็นภาระภาครัฐ!

ขสมก. ยุค New Normal จะทำได้ไหม?

ต้องบอกว่าระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย โดยเฉพาะรถเมล์ รถโดยสารประจำทาง ล้วนมีปัญหากันมาช้านาน ทั้งรถเก่าบ้าง การขับรถ การให้บริการ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการ ราคาที่ขึ้นลงแบบไม่เสถียร การรอรถใช้เวลานาน ไม่มีระบบที่เช็กได้ (แม้ตอนนี้จะมีแล้ว) ขสมก.เองก็ประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด การจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงองค์กรก็ทำได้ค่อนข้างช้า เพราะต้องผ่านกระบวนการหลายๆ อย่าง ก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2562 ขสมก.ได้เคยจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมาแล้วครั้งหนึ่ง โดยได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี แต่ในปีนี้ได้มีโจทย์ของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เข้ามาเพิ่ม ทำให้การใช้ชีวิตต้องเป็นแบบ New Normal จึงต้องมีการยกเครื่องกันใหม่ ล่าสุดผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แล้ว เตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือนสิงหาคมนี้ [caption id="attachment_1283410" align="alignnone" width="960"]

Photo : Shutterstock[/caption] สุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก) กล่าวถึงการปรับแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ว่า “ขสมก.ได้เคยจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อปี พ.ศ. 2562 โดยได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี แต่เนื่องจากเรายังมีโจทย์ที่จะต้องปรับแผนให้รอบคอบรัดกุม สามารถแก้ปัญหาเรื้อรัง ทั้งสถานะทางการเงิน สภาพรถเก่า และจำนวนรถโดยสาร การปรับโครงสร้างองค์กร ต้นทุนการดำเนินงานที่สูง และการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีด้าน IT ของหน่วยงานให้ทันต่อยุคสมัย โดยจะเห็นว่าจากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19 เป็นตัวเร่ง ทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งประโยชน์ที่ประชาชน"

7 แผนฟื้นฟู ขสมก. กับ 7 ปีให้เลี้ยงตัวเองให้ได้

ได้สรุปแผนฟื้นฟูดังกล่าว

  • ประชาชนจะได้ใช้รถใหม่ มีบริการที่สะอาด สะดวก สบาย ปลอดภัย ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตัวรถ ทั้งระบบคันเร่ง เบรก เป็นอย่างดี และเป็นรถเย็น ติดแอร์ทั้งหมด ทำให้พนักงานขับรถไม่รู้สึกเครียด
  • ราคาค่าบริการเหมาจ่ายทั้งวัน 30 บาท สามารถโดยสารกี่เที่ยวก็ได้ไม่จำกัด ทั้งรถของ ขสมก.และรถร่วม ทั้งนี้คนที่ขึ้นเที่ยวเดียวคิดราคาเพียง 15 บาท
  • ปัญหาการจราจรลดลง เนื่องจากจะมีจำนวนรถประจำทางลดลง จาก 6,000 คัน เหลือเพียง 2,500 คัน เท่ากับการลดพื้นที่การใช้ถนนลง
  • คุณภาพอากาศดีขึ้น โดยเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า NGV และไฮบริดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • การปฏิรูปเส้นทางรถเมล์รูปแบบใหม่ ที่จะครอบคลุมทั้ง กทม.และปริมณฑล โดยมีเส้นหลัก เส้นรอง และวงกลม ตามโปรแกรมคำนวณจากระบบคอมพิวเตอร์ของกรมขนส่งทางบก ทำให้รถไม่ต้องวิ่งทับเส้นทางกันเอง
  • ระยะเวลารอรถ สั้นลง 5-10 นาที โดยการปรับเส้นทางวิ่งระยะสั้น แต่มีความถี่เพิ่มขึ้น
  • ประชาชนโดยรวมทั้งประเทศ ไม่มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น เนื่องจากหนี้สินเดิมได้มีการจัดการ โดยหากทำตามแผนที่วางไว้ มีการคำนวณว่าจะขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเป็นระยะเวลา 7 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2571 และในปี 2572 ขสมก.จะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่เป็นภาระให้ภาครัฐในอนาคต

เปิดโพล คนกรุงชอบ "รถเมล์" แบบไหน

ขสมก.ได้ทำการเก็บผลสำรวจของชาวกรุงเทพฯ กับการใช้บริการรถเมล์ กับโพล“รถเมล์แบบไหน ถูกใจคนกรุง” เก็บข้อมูลจากประชาชนที่ใช้บริการรถเมล์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,299 คน จัดทำโดยกรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้านความพึงพอใจ

  • 46.7% มีความพึงพอใจต่อรถเมล์ที่วิ่งอยู่บนท้องถนนในระดับน้อย

  • 33% พึงพอใจปานกลาง

  • 20.3% พึงพอใจมากภาพลักษณ์ของรถเมล์

  • 61% รอรถเมล์นาน รถไม่พอกับความต้องการ

  • 51.7% รถมีสภาพเก่า ชำรุดทรุดโทรม

  • 41.2% ระบุว่ารถปล่อยควันดำ ส่งผลเสียด้านมลพิษ

ความคาดหวังว่าอยากได้รถเมล์แบบไหน

  • 61.6% อยากให้รถเมล์มาตรงเวลา ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน จะได้เดินทางรวดเร็วขึ้น

  • 53.1% อยากให้รถเมล์ใหม่ทุกคัน ทุกสาย เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร

  • 51.9% อยากให้ออกรถถี่ขึ้น มีที่นั่งเพียงพอ ไม่ต้องเบียดเสียดแออัดความต้องการอื่นๆ

  • 37.6% อยากให้รถโดยสารเป็นรถชานต่ำ เป็นมิตรกับคนพิการ

  • 26.8% อยากให้ชำระค่าบริการผ่าน E-Ticket แทนการใช้เงินสด เพื่อความสะดวก ลดการสัมผัส

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0