โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

'กัมพล ตันสัจจา' ชูวิสัยทัศน์นำสวนนงนุช ฝ่าโควิด-19

สยามรัฐ

อัพเดต 02 เม.ย. 2563 เวลา 03.00 น. • เผยแพร่ 02 เม.ย. 2563 เวลา 03.00 น. • สยามรัฐออนไลน์
'กัมพล ตันสัจจา' ชูวิสัยทัศน์นำสวนนงนุช ฝ่าโควิด-19

จาก วิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ได้สร้างความเสียหายต่อธุรกิจทุกภาคส่วน โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็กและกลางต่างปิดตัวไปกว่า 50% ดังนั้นในเวลานี้ทางรัฐบาลจึงควรเร่งเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งในเรื่องการยืดเวลาการชำระหนี้ การลดดอกเบี้ยเงินกู้ การให้สินเชื่อเพื่อประคองธุรกิจ พร้อมหามาตรการตั้งรับ เพื่อให้ผ่านวิกฤตดังกล่าว ขณะที่ นายกัมพล ตันสัจจา ผู้อำนวยการสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี ได้สะท้อนแผนการดำเนินงานในช่วงนี้ได้อย่างน่าสนใจ

รัฐต้องชัดเจนในการทำงาน

ทั้งนี้ นายกัมพล ตันสัจจา ผู้อำนวยการสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ในการทำงานของภาครัฐบาล เพื่อยุติการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่ที่ความเหมาะสมของประเทศนั้นๆ ซึ่งในส่วนของประเทศไทย ทางภาครัฐน่าจะเข้าใจสถานการณ์ได้ดีที่สุด โดยช่วงที่ผ่านมาจะมีวิธีการต่างๆ ออกมาให้ประชาชนปฏิบัติ รวมทั้งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

โดยในส่วนของสวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี ยังเปิดบริการตามปกติ ทั้งนี้ได้มีการปฎิบัติตามนโยบายของทางรัฐบาลในการป้องกันการติดต่อของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ซึ่งบรรยากาศภายในสวนนงนุชยังพอมีนักท่องเที่ยวไทยในบริเวณใกล้เคียงยังเดินทางมาชมสวน และใช้บริการกิจกรรมด้านอื่นๆ ที่ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อของโรคดังกล่าว อีกทั้งด้วยลักษณะของสวนนงนุช เป็นที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกจึงทำให้สร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่มาเดินชมสวนในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม นายกัมพล กล่าวต่อว่า แต่ถ้าในส่วนตัว หวังที่จะให้ภาครัฐมีความชัดเจนในการทำงาน เพื่อยุติโควิด-19 เป็นลำดับขั้นตอน ทั้งในมาตรการตั้งรับเชื้อโรคในด้านสาธารณูปโภคที่ประชานต้องปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการป้องกันด้วยตัวยาที่นำมาใช้เป็นวัคซีน ซึ่งจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ออกมาเป็นระยะ เพื่อให้คนทั้งประเทศมีความมั่นใจในความปลอดภัย และพร้อมปฏิบัติตัวไปในทิศทางเดียวกัน

มีมาตรการตั้งรับประคองธุรกิจ

ซึ่ง นายกัมพล กล่าวว่า ในช่วงที่โควิด-19ระบาดนี้ ทางสวนนงนุชได้ประคองธุรกิจด้วยการหามาตรการตั้งรับ โดยได้ปรับลดเงินเดือนพนักงานประมาณ 20% ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ได้นำนักแสดงจากโรงละครของสวน มาพัฒนาฝีมือในด้านต่างๆ เพื่อความชำนาญเฉพาะด้าน พร้อมกันนี้ยังมีการปรับสวนนงนุชในรูปแบบใหม่ให้มีความสวยงาม และสามารถแข่งขันกับแหล่งท่องเที่ยวของประเทศอื่นๆ เพื่อพนักงานจะได้มีงานทำในช่วงนี้

"มีการนำเสนอสวนเพาะพันธ์ไม้ โดยจะเป็นการทำสวนที่นำเบื้องหลังของพื้นที่เก็บอนุบาลสับปะรดสีนับร้อยสายพันธ์ ( Behind the Seen ) มาจัดโชว์ในพื้นที่ที่ได้ถูกจัดสรรไว้อย่างเป็นสัดส่วน เพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถรางชื่นชมความสวยงามในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างเพลิดเพลินทั้งครอบครัว มุ่งเน้นดึงดูดให้คนไทยเที่ยวในไทย ซึ่งผลในระยะยาวทำให้คนไทยรู้จักแหล่งท่องเที่ยวไทยมากขึ้น และได้เห็นว่าไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวแปลกใหม่อีกมาก"
กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ

พร้อมกันนี้ นายกัมพล กล่าวต่อว่า หลังจากผ่านเหตุการณ์วิกฤตโควิท-19 ไปได้สิ่งแรกที่ภาคท่องเที่ยวต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ชวนคนไทยเที่ยวเมืองไทย ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศในโลกต่างประสบปัญหาทั้งหมด ดังนั้นการหวังพึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติเหมือนที่ผ่านมา จึงใช้ไม่ได้กับสภาวะที่แต่ละประทศจะต้องหันมาฟื้นฟูบ้านเมือง ก่อนที่จะคิดวางแผนเดินทางท่องเที่ยว

ขณะที่การฟื้นตัวภาคท่องเที่ยวในครั้งนี้ น่าจะแตกต่างจากการเกิดวิกฤตในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่กระทบไปทั่วโลก ดังนั้นทางรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้เร็วที่สุด เพื่อให้เมืองไทยปลอดภัยจากโรคนี้ ก่อนจะกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวไทยได้อย่างสะดวกปลอดภัย เนื่องจากคนไทยที่มาเที่ยวสวนนงนุช ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และเป็นกลุ่มครอบครัวนั้นเอง

สำหรับสวนนงนุชนี้ มีเนื้อที่ 1,700 ไร่ ภายในมีสวนไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด เช่น กล้วยไม้ เฟิน สับปะรดสี สวนไม้พุ่ม ไม้ดัด สวนหิน สวนฝรั่งเศสกระบองเพชร ปาล์มจากทั่วทุกมุมโลก และต้นไม้ยักษ์ พร้อมกันนี้ยังมีศูนย์ประชุมนานาชาตินงนุชพัทยา จุคนได้ประมาณ10,000 คน รองรับงานเลี้ยงได้กว่า 5,000 คน และมีห้องประชุมหลายขนาดที่เหมาะกับความต้องการของลูกค้า ช่วยรองรับการขยายตัวของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ประเภทธุรกิจไมซ์ หรือการจัดประชุม นิทรรศการขนาดใหญ่ ที่จะเข้ามาจัดงานเพิ่มขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0