โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กัญชารักษาโรคได้!?

Thaiware

อัพเดต 19 ก.ย 2562 เวลา 06.30 น. • เผยแพร่ 19 ก.ย 2562 เวลา 06.30 น. • l3ooK
กัญชารักษาโรคได้!?
กัญชารักษาโรคได้!? มีผลกระทบอะไรร้ายแรงรึเปล่านะ?

สายเขียว, ปุ๊น, เนื้อ

คุ้นกับคำเหล่านี้บ้างไหม? ทั้งหมดนี้เป็นชื่อเรียกของ “กัญชา” พืชชนิดหนึ่งในตระกูล Cannabis ที่สามารถปลูกได้ในเขตร้อน และร้อนชื้นทั่วโลก โดยเราอาจคุ้นเคยกันในบทบาทของยาเสพติดชนิดหนึ่งที่เสพแล้วให้ความรู้สึก มึนเมา ล่องลอย มีความสุข และหัวเราะอย่างไร้เหตุผล แต่ในขณะเดียวกันกัญชาก็ถูกใช้เป็นยารักษาโรคมาหลายทศวรรษแล้วด้วยเช่นกัน

เราน่าจะพอทราบกันมาบ้างว่าในต่างประเทศอย่างแคนาดา, จอร์เจีย, แอฟริกาใต้, อุรุกวัย หรือประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา (บางรัฐ) มีนโยบายที่อนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาอย่างถูกกฎหมายทั้งในทางการแพทย์และการใช้เพื่อผ่อนคลาย แต่สำหรับประเทศอื่นๆ ที่อนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์อย่าง สวิสเซอร์แลนด์, อิตาลี, เยอรมนี, โปรตุเกส, นิวซีแลนด์ ก็ได้มีการควบคุมปริมาณหรือพื้นที่ในการใช้กัญชาเพื่อความบันเทิงอย่างชัดเจนแม้แต่ประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องนี้อย่างเนเธอร์แลนด์เองก็ยังมีกฎหมายห้ามมิให้ใช้กัญชาในที่สาธารณะเช่นกัน

กัญชารักษาโรคได้!?
กัญชารักษาโรคได้!?

ภาพจาก : https://www.masslive.com/talk/2011/07/amsterdam_no_toking_signes_banned.html

ประเทศไทยกับกัญชา

สำหรับประเทศไทยเราเองก็เพิ่งจะอนุมัติให้ใช้กัญชาในทางการแพทย์ได้ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ด้วยการผลักดันนโยบาย “กัญชาเสรีเพื่อการรักษาโรค” จากพรรคการเมืองหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้นั่งเก้าอี้นายก แต่ทางพรรคก็ได้เข้าร่วมรัฐบาลและเดินหน้าผลักดันนโยบายนี้ต่อไปจนได้รับการอนุมัติในที่สุด โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุขได้ออกมาชี้ชัดว่ากัญชาเสรีนี้จะต้องได้รับการควบคุมอย่างเคร่งครัดในการใช้รักษาโรคภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้เพื่อความบันเทิงแต่อย่างใด

กัญชารักษาโรคได้!?
กัญชารักษาโรคได้!?

ภาพจาก : https://www.tnnthailand.com/content/11646

กัญชาทางการแพทย์

ในส่วนของคำถามที่ว่าเราจะใช้กัญชาในทางการแพทย์ได้อย่างไร? บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ออกมายืนยันว่าพืชชนิดนี้มีสาร Cannabinoids ที่สามารถใช้ในการรักษาทางการแพทย์ได้ นอกจากนี้มนุษย์เรายังมี Endocannabinoid System หรือระบบกัญชาอยู่ในร่างกายของเราอีกด้วย และภายในระบบนี้จะมีสาร Cannabinoid ไหลเวียนอยู่ในระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลายด้วยเช่นกัน ซึ่งเจ้าสารตัวนี้จะช่วยคลายความรู้สึกเจ็บปวดลงได้ คล้ายกับการใช้มอร์ฟีน สำหรับคนที่มีอาการแพ้มอร์ฟีนแล้ว การที่กัญชาถูกกฎหมายก็น่าจะเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียว

และแน่นอนว่าเราคงไม่อาจนำกัญชามาให้ผู้ป่วยเสพเพื่อใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำเอากัญชามาสกัดสาร THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol) ที่ใช้ในการรักษาโรคได้ โดยออกมาในรูปแบบของ เยลลี, เจลทาแก้ปวด, แคปซูล และที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ “น้ำมันกัญชา” นั่นเอง

กัญชารักษาโรคได้!?
กัญชารักษาโรคได้!?

ภาพจาก : https://www.marijuana.com/news/2017/12/best-medical-related-cannabis-products-for-the-2017-holiday-season/

โดยสาร THC จะออกฤทธิ์โดยตรงกับระบบประสาทส่วนกลางที่ส่งผลต่อสมองและไขสันหลัง โดยจะช่วยในเรื่องการลดอาการเจ็บปวด อาการนอนไม่หลับ ต้อหิน ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง อาการคลื่นไส้ วิงเวียน ความวิตกกังวล อาการเบื่ออาหาร เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นประสาทจนก่อให้เกิดการ “ล่องลอย” ซึ่งมีผลข้างเคียงคือ หัวใจเต้นเร็ว, มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ, ปากแห้ง, ตาแดง, เชื่องช้าลง, หลงลืมง่าย และหากได้รับในปริมาณมากอาจส่งผลต่อจิตประสาทจนก่อให้เกิดโรคทางจิตเวช เช่น หวาดระแวง, ซึมเศร้า, ไบโพลาร์ หรือแม้กระทั่งโรคจิตเภทได้อีกด้วย

ในขณะที่สารCBD จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย และระบบภูมิคุ้มกันส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ช่วยลดความเจ็บปวด, อาการอักเสบ, ลมชัก, ซึมเศร้า, วิตกกังวล, นอนไม่หลับ, คลื่นไส้ วิงเวียน, ไมเกรน, ลำไส้อักเสบ โดยไม่ได้ทำให้เกิดการมึนเมาแต่อย่างใด ส่วนผลข้างเคียงของสาร CBD คือ อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงและน้ำหนักตัวลดได้ 

และประเด็นที่ว่ากัญชาสามารถรักษามะเร็งได้นั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเผยว่ากัญชาสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลองที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดได้ แต่ยังไม่ได้มีการทดลองใช้จริงกับมนุษย์ เพียงแต่ใช้ในแง่ของการช่วยลดความเจ็บปวดจากการทำคีโมได้เท่านั้น

กัญชารักษาโรคได้!?
กัญชารักษาโรคได้!?

ภาพจาก : https://www.cannabisculture.com/content/2019/06/08/calgary-pot-activists-hand-out-free-joints-to-protest-cannabis-rules/

สิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่การที่กัญชาจะถูกใช้กันอย่างแพร่หลายแต่เป็นในเรื่องของจุดประสงค์ในการใช้ต่างหาก เพราะหลังจากที่ประกาศนโยบายกัญชาเสรีออกไปนั้นก็มีคนจำนวนมากแห่กันใช้กัญชาอย่างผิดวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำมันกัญชาในปริมาณมากเกินความจำเป็นจนเกิดอาการประสาทหลอน หรือการซื้อสารสกัดจากกัญชามาใช้เองจากแหล่งที่ไม่ได้มาตรฐานโดยไม่ได้รับคำแนะนำและการดูแลจากแพทย์ และการใช้เสพเพื่อความบันเทิงส่วนตัวโดยไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยใดๆ เลยก็ตาม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0