โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

กสทช. นำร่อง 8 จังหวัดโครงการ 'Telehealth'

Manager Online

อัพเดต 20 มี.ค. 2562 เวลา 07.59 น. • เผยแพร่ 20 มี.ค. 2562 เวลา 07.59 น. • MGR Online

กสทช. เซ็นเอ็มโอยูกับกระทรวงสาธารณสุข นำร่องโครงการ Telehealth บริการทางการแพทย์ผ่านอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลและชายขอบตามโครงการเน็ตประชารัฐ (USO) เพื่อยกระดับการรักษาพยาบาลให้เท่าเทียม

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)กล่าวถึงเป้าหมายสำคัญของการเซ็นเอ็มโอยูระหว่าง กสทช.และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ด้วยการเปิดนำร่องโครงการรักษาทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่กำหนดไว้ 4 โรค

ไม่ว่าจะเป็นโรคตา เบาหวาน ผิวหนัง และความดันครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ สุรินทร์ สุราษฎร์ธานี และสงขลา ครอบคลุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) จำนวน 15 แห่ง คลินิกหมอครอบครัว (รพสต.ขนาดใหญ่) จำนวน 4 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จำนวน 5 แห่ง และ โรงพยาบาลประจำจังหวัด จำนวน 8 แห่ง

'กสทช. เริ่มดำเนินการเน็ตประชารัฐมาตั้งแต่ปี 2560และกำลังจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พ.ค. 2562 นี้ ซึ่งครอบคลุมทั้งหมด 3,920 หมู่บ้าน 6 แสนครัวเรือน คิดเป็นจำนวนประชากรราว 1.7-1.8 ล้านคน'

เมื่อประชาชนกลุ่มนี้มีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแล้วก็สามารถต่อยอดไปยังบริการอื่นๆได้ อย่างบริการทางการแพทย์ ที่จะเข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ

'หลังจากนี้ หากประเมินว่าโครงการนี้มีประโยชน์ มีโอกาสขยายโครงการต่อไปในอนาคต ก็จะช่วยภาครัฐประหยัดวงเงินงบประมาณ 3-4หมื่นล้านบาทในแต่ละปี เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการแพทย์'

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่าโครงการดังกล่าว เกิดขึ้นเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาใช้ในการดูแลสุขภาพของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้เกิดการดูแลอย่างทั่วถึง ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม

'สิ่งที่จะมาช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ จะต้องมีการนำเทคโนโลยีมีช่วย ทั้งการใช้งานแอป นำ AI มาช่วยเชื่อมผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆเพื่อให้ประชาชนในต่างจังหวัดสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ'

เบื้องต้น โครงการจะดำเนินการใน 2 มิติ คือ มิติแรก โรคที่เป็นปัญหาสำคัญและมีผลกระทบต่อประชาชน ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ซึ่งเป็นสาเหตุถึง 75% ของการเสียชีวิตของคนไทย เช่น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และ มิติที่สอง โรคที่ขาด แคลนแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่ โรคทางจอตา เป็นผลสืบเนื่องมาจากโรคเบาหวาน และโรคผิวหนัง

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าเฉลี่ยแพทย์ 1 คน ต่อจำนวนประชากร439 คน แต่ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยแพทย์ 1 คน ต่อจำนวนประชากร 2,065 คน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 4.7 เท่า

ส่วนแพทย์เฉพาะทาง จากผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีอัตราส่วนจักษุแพทย์ 1คนต่อประชากร 47,90 คน และจำนวนแพทย์ผิวหนังในประเทศไทยไม่รวมพื้นที่ในกรุงเทพฯ มีแพทย์ประมาณ 100 คนเท่านั้น ทำให้การเข้าถึงบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ห่างไกลยังขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์

การที่มีบริการอย่าง Telehealth นอกจากจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางมากขึ้นแล้วยังช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการเดินทางโดยเฉพาะโรคที่มีกำหนดการรักษาชัดเจนอย่าง 4 โรคดังกล่าวที่ทำให้คนไข้สามารถปรึกษาแพทย์ได้จาก รพสต.

สำหรับงบประมาณในการเชื่อม โรงพยาบาลจังหวัด กับ รพสต. ซึ่งทาง กสทช จะจัดหาเครื่องมือรักษาที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูล โดยให้งบรพ. ละไม่เกิน 5 ล้าน ทำให้เชื่อว่าจะลดภาระประชาชน ในการเดินทางไปรักษาในโรงพยาบาลศูนย์หรือกทม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0