โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กล้วยไข่กำแพงเพชร ฤาจะเป็นแค่ตำนาน เหลือปลูกกันไม่ถึง 4,000 ไร่

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

เผยแพร่ 22 ก.ย 2561 เวลา 15.15 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

กล้วยไข่กำแพงเพชรใกล้เป็นตำนานปัจจุบันเหลือปลูกไม่เกิน 4,000 ไร่ เกษตรกรเผยพยายามอนุรักษ์และสืบให้อยู่ต่อ คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เปลือกบางผิวตกกระ เนื้อแน่นเหนียว รสชาติหวาน ผลไม่เล็กไม่ใหญ่…

เมื่อวันที่ 22 ก.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดกำแพงเพชรถูกขนานนามว่าเป็นเมืองกล้วยไข่ เนื่องจากมีกล้วยไข่เป็นผลไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด เป็นกล้วยไข่ที่อร่อยขึ้นชื่อที่สุดจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกลดลงอย่างมากซึ่งมาจากหลายสาเหตุ แต่ก็ยังมีผู้ที่อนุรักษ์สืบสานปลูกกล้วยไข่ต่อไปอีก โดยเฉพาะกล้วยไข่พันธ์แท้ของ จ.กำแพงเพชร โดยกระจายไปตามอำเภอต่าง
นายลมัย วิรุณภักดี อายุ 56 ปี ชาวบ้าน บ้านปรึกมะกรูด หมู่ 2 ต.ท่าพุทรา อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร ปลูกกล้วยไข่ไว้ประมาณ 8 ไร่ กำลังตกเครือให้ผลและมีกำลังตัดได้ก็มี ทุกวันต้องออกมาดูแลสวนอย่างใกล้ชิด เช่นการตัดใบแก่ทิ้ง ตัดหน่อส่วนเกินออก ตัดเครือกล้วยที่แก่แล้วเตรียมส่งพ่อค้า

ด้าน นายปรารถ คันธวัน เกษตรอำเภอคลองขลุง เปิดเผยว่า เดิมจังหวัดกำแพงเพชรมีเกษตรกรปลูกกล้วยไข่มากถึง 40,000 ไร่ มีรายได้เข้าจังหวัดประมาณ 200 ล้านบาท แต่ปัจจุบันลดลงมาเหลือแค่ 4,000 ไร่เท่านั้น โดยกระจายอยู่ในเขต อ.เมือง คลองขลุง โกสัมพีและคลองลาน แต่ยังสามารถทำเงินให้เกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท ส่วนสาเหตุที่พื้นที่เพาะปลูกน้อยลง เนื่องจากกล้วยไข่จะตกเครือในช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่มีพายุฝนลมแรง จึงทำให้ลมพัดต้นกล้วยไข่หักเสียหาย ประกอบกับกล้วยไข่ให้ผลผลิตปีละครั้ง ถ้าเสียหายก็ขาดทุนหมด เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน

เกษตรอำเภอคลองขลุง กล่าวต่อว่า ด้วยเอกลักษณ์ของกล้วยไข่พันธ์พื้นเมืองกำแพงเพชร ต้นจะเล็ก สูงประมาณ 2 เมตรถึง 2 เมตรครึ่ง ผลไม่ใหญ่ไม่เล็ก ผิวเมื่อสุกแล้วสีเหลืองสดใส แก่จัดผิวจะตกกระเป็นสีน้ำตาลดำ รสชาติหวานวัดได้ประมาณ 24 องศาบิค ไม่มีรสเปรี้ยว เนื้อแน่นเหนียวตลอดทั้งลูก เปลือกบางจึงไม่เหมาะกับการส่งออก ผิดกับพันธ์อื่นๆ ซึ่งลูกใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดอื่นๆ เพื่อส่งออก แต่รสชาติต่างกันมาก

ส่วน นายลมัย เจ้าของสวนเปิดเผยว่า ที่ยังปลูกกล้วยไข่อยู่ ก็เพราะต้องการอนุรักษ์และสืบสานต่อกล้วยไข่ให้อยู่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป เนื่องจากกล้วยไข่กำแพงเพชรนับวันจะลดน้อยลงไป โดยกล้วยไข่กำแพงเพชรมีรสชาติอร่อยกว่าของที่อื่น เนื่องจากชุดดินของจังหวัดกำแพงเพชร เหมาะสมกับการปลูกกล้วยไข่ ลักษณะของกล้วยที่ผิวเป็นจุดๆ นั้น ไม่ใช่เกิดจากโรคแมลงหรือเน่าเสีย แต่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นกล้วยไข่พันธ์แท้ของจังหวัดกำแพงเพชร.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0