โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

กลุ่มแบงก์เหนื่อย ปี 62 กำไรเติบโตต่ำ

Wealthy Thai

อัพเดต 30 ม.ค. 2563 เวลา 02.34 น. • เผยแพร่ 30 ม.ค. 2563 เวลา 02.34 น. • wealthythai
กลุ่มแบงก์เหนื่อย ปี 62 กำไรเติบโตต่ำ

ภาพรวมผลประกอบการของกลุ่มธนาคารในปี 2562 ยังค่อนข้างน่ากังวล โดยกำไรสุทธิรวม 10 แห่ง อยู่ที่ 202,209.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.73% จากปีก่อน โดย SCB หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ยังคงมีกำไรสุทธิมากที่สุดในกลุ่มฯ อยู่ที่ 40,436.35 เพิ่มขึ้น +0.92 จากปีก่อน แม้จะมีกำไรมากที่สุดในกลุ่ม แต่กำไรไตรมาส 4/62 ออกมาเติบโตต่ำกว่าที่หลายฝ่ายคาด หลังจากค่าใช้จ่ายปรับตัวสูงขึ้น ทำให้วันที่ 20 ม.ค. 63 ราคาหุ้น SCB ร่วงแรงและปิดตลาดที่ราคา 102.00 บาท ลดลง 15.00 บาท หรือ -12.82% จากวันก่อนหน้า
ขณะที่ KBANK มีกำไรสุทธิมากเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 38,726.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +0.70%, BBL มีกำไรสุทธิเป็นอันดับ 3 ที่ 35,816.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +1.38%, BAY มีกำไรสุทธิเป็นอันดับ 4 ที่ 32,748.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.98% และ KTB มีกำไรสุทธิเป็นอันดับ 5 อยู่ที่ 29,284.04 เพิ่มขึ้น 2.78%
TISCO มีกำไรสุทธิเป็นอันดับ 6 ที่ 7,270.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.63%, TMB มีกำไรสุทธิเป็นอันดับ 7 ที่ 7,222.48 ล้านบาท ลดลง 37.74%, KKP มีกำไรสุทธิเป็นอันดับ 8 ที่ 5,988.44 ล้านบาท ลดลง 0.89%, LHFG มีกำไรสุทธิเป็นอันดับ 9 ที่ 3,214.60 เพิ่มขึ้น 3.42% และ CIMBT มีกำไรสุทธิเป็นอันดับ 10 อยู่ที่ 1,501.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,494.7 ล้านบาท หรือ 216 เท่า

 

บล.ทรีนีตี้ ให้มุมมองเกี่ยวกับ “กลุ่มธนาคาร” ว่า SCB ประกาศกำไรไตรมาส 4/62 ที่5,506 ล้านบาท อ่อนตัว 63% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้ามาก โดยปัจจัยกดดันหลักมาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ที่สูงถึง 9.6 พันล้านบาท จากปกติในช่วงไตรมาส 1/62 และ 2/62 ตั้งสำรองไตรมาสละ 5-6 พันล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้ม NPL ในไตรมาส 4/62 พุ่งแรงจาก 2.07% ในไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ 3.38%
เรามองว่า NPL และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการจัดชั้นหนี้เชิงคุณภาพ เพื่อรองรับมาตรฐานบัญชี TFRS9 แต่อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากคุณภาพหนี้ที่ย่ำแย่ลงด้วย ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าธนาคารอื่นๆ อาจถูกกระทบด้วยค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ที่เพิ่มขึ้นในลักษณะคล้ายกัน ทั้งนี้ มีความกังวลที่แบงก์จะถูกปรับลดประมาณการกำไรปี 2663 ส่วนงบ KBANK ที่ออกมาไม่ได้แสดงว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับ SCB ซึ่งทำให้ความกังวลต่อภาพรวมของกลุ่มน้อยลง
ในภาพรวมปี 2563 ยังเป็นปีที่เหนื่อยสำหรับธนาคารในแง่ของการดำเนินงานปกติ โดยด้านรายได้ดอกเบี้ยถูกกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจและสินเชื่อที่โตในระดับต่ำ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ส่วนด้านรายได้ค่าธรรมเนียมยังมีความกังวลที่ ธปท. จะเข้ามาควบคุมค่าธรรมเนียมของลูกหนี้ SME และลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมในปีนี้อีก ด้านคุณภาพหนี้ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้ SME ทำให้แนวโน้มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ยังสูง
กลยุทธ์การลงทุนเน้น Selective Buy โดยหุ้นในกลุ่มธนาคาขนาดใหญ่เรามอง BBL ปลอดภัยที่สุด ทั้งในแง่ของสินเชื่อที่ดูจะเติบโตได้ง่ายกว่าธนาคารอื่น จากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ และในแง่ของการควบคุมค่าธรรมเนียมของ ธปท. ที่จะถูกกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อ SME และรายย่อยที่ต่ำกว่าธนาคารอื่น ในด้านราคาหุ้นตั้งแต่ 2562 ถึงปัจจุบัน BBL อ่อนตัวลงมามาก เมื่อเทียบกับ Outlook ปี 2563 ที่จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ น้อยกว่าธนาคารอื่น จึงมีความนำสนใจมากกว่าธนาคารอื่นในเชิงเปรียบเทียบ
ต้องรอติดตามว่าภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2563 จะฟื้นตัวขึ้น หรือ จะชะลอตัวต่ำกว่าปีก่อนตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ เพราะถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่กดดันผลประกอบการของกลุ่มธนาคารโดยตรง

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0