โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กรุงลอนดอนออกมาตรการแก้ปัญหาอากาศพิษ เพื่อให้เด็กๆ ได้สูดอากาศดีๆ

The Momentum

อัพเดต 18 ม.ค. 2562 เวลา 05.22 น. • เผยแพร่ 18 ม.ค. 2562 เวลา 05.22 น. • THE MOMENTUM TEAM

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2019 ซาดิค ข่าน ผู้ว่าการกรุงลอนดอนประกาศมาตรการใหม่เพื่อปรับปรุงเครือข่ายติดตามคุณภาพอากาศของกรุงลอนดอน โดยมีเป้าหมายเพื่อหาว่ามลพิษที่ไหนแย่ที่สุด แหล่งกำเนิดมลพิษมาจากไหน และพัฒนาวิธีลดมลพิษอากาศให้ตรงจุด

เขาบอกกับบีบีซีว่า “เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น รู้ว่าไนโตรเจนไดออกไซด์แย่มากแค่ไหน ในปริมาณเท่าใด เพื่อที่เราจะหาทางทำให้อากาศสะอาดได้”

ข่านเลือกเปิดตัวโครงการ Breathe London ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งที่นักเรียน 30% เป็นโรคหอบหืด ครูใหญ่บอกกับบีบีซีว่า จำนวนของนักเรียนที่เป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ พ่อแม่โกรธมากขึ้นเรื่อยๆ และอยากหาทางแก้ปัญหานี้ โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกรุงลอนดอน กองทุนปกป้องสิ่งแวดล้อมยุโรป และกูเกิลเอิร์ธเอาท์รีช

ระบบเครือข่ายนี้จะติดตั้งเซนเซอร์เพิ่ม 100 ชิ้นในจุดที่เป็นฮอตสปอตของมลพิษ และวางในตำแหน่งที่เด็กๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น โรงเรียน เนิร์สเซอรี และจะมีเซนเซอร์ติดอยู่กับรถของกูเกิลวิว 2 คัน ซึ่งจะช่วยวัดมลพิษทุก 30 เมตร บันทึกจุดที่มีความรุนแรงสูง (สปอต) ตามเวลาจริงเป็นเวลา 1 ปี

นอกจากนี้ เครือข่ายยังเปิดเผยข้อมูลและให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ ข้อมูลที่ได้รับจากเครือข่ายซึ่งสร้างจากเซนเซอร์ที่ติดอยู่ 100 ตัวนี้ เปิดให้ประชาชนดูได้ เป็นแผนที่แบบอินเทอร์แอคทีฟในเว็บไซต์ของ Breathe London ชาวลอนดอนจะได้รู้ว่าอากาศแย่แค่ไหนก่อนออกจากบ้าน และจะได้หลีกเลี่ยงพื้นที่ฮอตสปอต หรือคนที่มีปัญหาการหายใจจะได้เตรียมตัว

ข่านให้สัมภาษณ์ว่า มลพิษทางอากาศของลอนดอนเป็นวิกฤตสุขภาพที่ทำให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในเมืองหลวงทุกปี โครงการนี้เป็นเพียงหนึ่งในแคมเปญปรับปรุงคุณภาพอากาศของลอนดอน ที่จะมีทั้งการทำความสะอาดรถโดยสาร ให้ทุนสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในการนำรถตู้ที่มีมลพิษออกไป และประกาศพื้นที่ที่ปล่อยมลพิษต่ำสุดในกลางกรุงลอนดอน ในเดือนเมษายน

เมื่อ 30 มกราคม 2018 มลพิษอากาศของลอนดอนเกินค่าที่กฎหมายจำกัดไว้ แต่อันตรายนี้ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในพื้นที่กลางแจ้ง รายงานของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และ UCL แสดงให้เห็นว่าเด็กนักเรียนในลอนดอนสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูงในห้องเรียนมากกว่าข้างนอก

องค์การอนามัยโลกตีพิมพ์รายงานว่า เด็กๆ 1.8 พันล้านคนกำลังหายใจเอาอากาศพิษเข้าไป ซึ่งจะไปสร้างผลกระทบต่อสติปัญญาและนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้

ชาวลอนดอนเคยมีประสบการณ์สูดอากาศพิษจนนำไปสู่การออกกฎหมายแก้ปัญหาแล้ว  ในปี 1952 กรุงลอนดอนประสบกับปัญหามลพิษทางอากาศครั้งใหญ่ที่เรียกว่า ‘The Great Smog’ คร่าชีวิตประชาชนไปกว่า 4,000 คน และอีกหลายหมื่นคนเป็นโรคปอดเรื้อรั้ง เนื่องจากการฝุ่นละอองจากการเผาถ่านหิน ชาวเมืองลอนดอนหายใจเอาอากาศพิษเข้าไป ตอนนั้นรัฐบาลอังกฤษจึงผ่านกฎหมายคุณภาพอากาศเมื่อปี 1956

 

 

ที่มาภาพ: LEON NEAL / AFP

ที่มา:

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0