โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในบันทึกของชาวต่างชาติเป็นอย่างไร?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 16 ม.ค. 2565 เวลา 00.39 น. • เผยแพร่ 16 ม.ค. 2565 เวลา 00.38 น.
ภาพกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในบันทึกของบาทหลวงตาชาร์ด
ภาพกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในบันทึกของบาทหลวงตาชาร์ด

เดือนธันวาคม ปี 2562 มีรัฐพิธีสําคัญคือ การเสด็จพระราชดําเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในวันที่ 12 ธันวาคม (เดิมกำหนดไว้วันที่ 24 ตุลาคม 2562 )

ในยุคปัจจุบันมีสื่อต่างๆ ร่วมบันทึกประศาสตร์ครั้งสําคัญของประเทศครั้งนี้มากมาย

ส่วนในอดีตที่ผ่านมา เรื่องราวของกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีชาวต่างชาติให้ความสนใจและบันทึกเช่นกัน ซึ่งรศ.ดร. ปรีดี พิศภูมิวิถี จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ค้นคว้าและเรียบเรียงไว้ในบทความชื่อ “กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในเอกสารตะวันตกสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์” (ศิลปวัฒนธรรม เดือนตุลาคม 2562)

รศ. ดร. ปรีดี พิศภูมิวิถี ค้นคว้าเอกสารต่างชาติ มาเรียบเรียงให้เห็นภาพกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในอดีต เช่น สมัยกรุงศรีอยุธยา จากบันทึกข้อมูลของโปรตุเกส, ฮอลันดา, สเปน และ ฝรั่งเศส และสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเอกสารของสวีเดน, รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา

ตัวอย่างหนึ่งจากเอกสารของฮอลันดา โยส สเคาเต็น (Joost Schouten) ผู้จัดการบริษัทการค้าฮอลันดา (Manager of the Dutch East Indies Company) ประจํากรุงศรีอยุธยา รวมเวลา 8 ปี 2 รัชกาล คือ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมและสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในระหว่างนั้นนายสเคาเต็นได้ เขียนจดหมายเหตุบันทึกสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นในสยาม รวมถึงเรื่องกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้ ดังนี้

มีประเพณีแต่โบราณนานมาแล้วว่า พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยามจะต้องแสดง พระองค์ให้ประชาชนเข้าชมพระบารมีปีละครั้งในเดือนตุลาคม ในการเสด็จออกให้ประชาชนเข้าชมพระ บารมีตามประเพณีนี้ ขุนนางในราชสํานักทุกคนจะต้องตามเสด็จพระราชดําเนินด้วย ขบวนแห่แหนจะ ประกอบด้วยเจ้านายผู้มีบรรดาศักดิ์และขุนนางแต่งตัวกันอย่างหรูหรา และตามเสด็จทั้งทางบกทางน้ำเป็น งานเอิกเกริก…

แต่ถ้าหากว่าเป็นการเสด็จพระราชดําเนินทางชลมารค การจัดรูปขบวนเป็นดังนี้ ขบวนแรกได้แก่ ขุนนาง 200คน แต่ละคนมีเรือสวยงามนั่งมามีคนพาย 60ถึง 80คนทุกลํา ขบวนที่ 2เป็นขบวนเรือเครื่อง ดนตรีดีดสี ตี เป่า 4ลํา ถัดมา คือขบวนเรือหลวง 50ลําของพระมหากษัตริย์มีคนพายลําละ 80ถึง 90คน ถัดมาคือขบวนเรือต้น สวยงามมากฉาบทองทั้งลํา และพายก็ฉาบทองด้วย ลําหนึ่งๆ มีคนพาย 90ถึง 100คน

แล้วจึงถึงเรือประทับของพระมหากษัตริย์ พระองค์ประทับอยู่บนเรือพระที่นั่งประหนึ่งพระพุทธรูป แทบพระบาทของพระองค์มีบุคคลสําคัญเป็นอันมากนั่งเฝ้าอยู่ ถัดมาคือขบวนของพระอนุชาธิราชแล้วจึง ถึงขบวนข้าราชการฝ่ายใน ขบวนสุดท้ายคือขบวนขุนนางข้าราชการ เพราะฉะนั้นในการเสด็จพระราช ดําเนินทางชลมารคจึงมีเรือเข้าขบวนรวมทั้งหมด 450ลํา และมีคนประมาณ 25,000ถึง 30,000คนเข้าใน ขบวน เมื่อขบวนเสด็จพระราชดําเนินเสด็จผ่านที่แห่งใด ทั้งสองฝั่งแม่น้ําจะมีผู้คนพลเมืองจํานวนเหลือที่จะ คณานับก้มกราบอยู่บนเรือเล็กๆ ของเขาแน่นไปหมด”

สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพุทธศักราช 2454  ในครั้งนั้นมีชาวต่างชาติบันทึกสิ่งที่เห็นไว้เช่นกัน

บันทึกของ พันเอก ลี เฟบิเกอร์ ผู้แทนทางทหาร ประจำกองทัพบก สหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช บันทึกความตอนหนึ่งว่า

“ตอนบ่ายของวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี พร้อมด้วยเครื่องสักการะและเครื่องราชูปโภคจำนวนมากมายหลายอย่าง ขบวนเคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงวัดอรุณราชวราราม ขบวนเสด็จในวันนี้เป็นดังภาพความงดงามที่มีเอกลักษณ์และน่าประทับใจอย่างที่สุด เครื่องแต่งกายของชาวตะวันออกที่ดูแปลกตามีความสวยงามฉูดฉาด สีแดง สีฟ้า กับชุดเครื่องแบบขลิบทองของเหล่าทหารราชองครักษ์และเหล่าพระตำรวจหลวง ล้วนมีสีสันเฉกเช่นสีสายรุ้งที่สวยงามอย่างไม่มีที่ติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับอยู่บนพระราชยานทองคำด้วยพระอาการสงบนิ่งดุจดังองค์พระปฏิมา ทรงฉลองพระองค์ครุยกรองทอง และทรงพระมาลาปีกกว้างสีเทา ส่วนยอดพระมาลามีลักษณะคล้ายองค์พระเจดีย์ขนาดเล็กมาครอบไว้ ด้านข้างพระมาลาประดับด้วยขนนกที่งามหรู…”

 

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0