โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กระทรวงแรงงาน ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ

สวพ.FM91

อัพเดต 23 มี.ค. 2562 เวลา 03.49 น. • เผยแพร่ 23 มี.ค. 2562 เวลา 03.49 น.
กระทรวงแรงงาน ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ

กระทรวงแรงงาน ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ทางสวพ.FM91 เกี่ยวกับ การส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ
สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทยปัจจุบัน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2561 พบว่า มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทย จำนวน 11.80 ล้านคน แบ่งเป็น ผู้สูงอายุที่ทำงาน 4.36 ล้านคน แรงงานในระบบ 5.14 แสนคน แรงงานนอกระบบ 3.85 ล้านคน ผู้สูงอายุที่ไม่ทำงาน 7.44 ล้านคน
โดย อาชีพของผู้สูงอายุ ได้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านเกษตรและประมง 2.52 ล้านคน พนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า 8.10แสนคน ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 3.77 แสนคน ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน 2.94 แสนคน ผู้จัดการ/ข้าราชการะดับอาวุโส ผู้บัญญัติกฎหมาย 1.28 แสนคน ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงาน/เครื่องจักร/ผู้ปฏิบัติงานด้านประกอบ 1.22 แสนคน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ 52,042 คน เจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับด้านต่าง ๆ 46,514 คน สถานภาพการทำงานของผู้สูงอายุ ประกอบธุรกิจส่วนตัว 2.69 ล้านคน ช่วยธุรกิจครัวเรือน 8.79 แสนคน ลูกจ้างเอกชน 5.32 แสนคน ลูกจ้างรัฐบาล 1.04แสนคน นายจ้าง 1.47แสนคน และการรวมกลุ่ม 4,792 คน - รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 10.66 ล้านคน อายุ 60- 69 ปี 6.07 ล้านคน อายุ 70 – 79 ปี 3.02 ล้านคน อายุ 80 – 89 ปี 1.33ล้านคน อายุ 90ปีขึ้นไป 0.24 ล้านคน
เมื่อวันที่ 8 พ.ย.59 มติ ครม. เห็นชอบมาตรการรองรับสังคมผู้สูงอายุ 4 มาตรการ/โครงการ ประกอบด้วย - มาตรการจ้างงานผู้สูงอายุ ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในกลุ่มที่ไม่ มีทักษะมากนัก โดยสถานประกอบที่เป็นนิติบุคคลสามารถหัก รายจ่ายได้สองเท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้าง ผู้สูงอายุ
- โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ หรือ ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย คลินิก สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ หรือการปล่อยกู้ให้กับ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีที่อยู่อาศัย ปลอดภาระหนี้
- ปี 2562 กระทรวงแรงงานได้ ส่งเสริม การมีงานทำ และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ มาตรการส่งเสริมที่สำคัญ ได้แก่
- ประกาศอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง (Part Time) สำหรับ ผู้สูงอายุ ดังนี้ อายุตั้งแต่ 60ปีขึ้นไป - อัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง ชม.ละ 45บาทเท่ากัน ทุกพื้นที่ - เวลาทำงาน ไม่เกินวันละ 7 ชม.และไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน
หน่วยงานที่เข้าร่วมลงนามความร่วมมือส่งเสริมการจ้างงาน ผู้สูงอายุ ได้แก่ หน่วยงานภายในกระทรวงแรงงาน 4 หน่วย
- กรมการจัดหางาน
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
- สำนักงานประกันสังคม
หน่วยงานรัฐภายนอก 4 หน่วย ได้แก่
- กรมกิจการผู้สูงอายุ
- กรมการพัฒนาชุมชน
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
หน่วยงานภาคประชาสังคม 3 หน่วย ได้แก่
- สมาคมสันติบาตรเทศบาลแห่งประเทศไทย
- สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
- สมาคมองค์การบริหารสส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานภาคเอกชน อีก 12 หน่วยงาน
มาตรการจูงใจในการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 639 พ.ศ.2560
- กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธินำรายจ่ายที่ได้จ่าย เป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างงานผู้สูงอายุ มายกเว้นภาษีเงินได้ โดย สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ในการจ้างงานผู้สูงอายุเข้าท างานใน สถานประกอบการของตน โดยผู้สูงอายุต้อง มีอายุ 60ปีขึ้นไป มีสัญชาติไทยเท่านั้น ต้องเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างอยู่ก่อน แล้ว ต้องไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่จ้างผู้สูงอายุ
- รายจ่ายที่จะได้รับการยกเว้นภาษี ต้องเกิดจากรายจ่ายที่จ่าย เป็นค่าจ้างให้แก่ผู้สูงอายุไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
ผลการดำเนินงานส่งเสริมการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ผ่านมา สามารถหางานให้ทำจ้างงานต่อเนื่องแก่ผู้สูงอายุในปี 2561 มีผู้สูงอายุทำงานแบบมีนายจ้างเป็นผู้ประกันตนจำนวน 121,274 คน ในปี 2562 จำนวน 127,833 คน
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0