โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

กรมศุลกากร โชว์ผลงาน7 เดือนจัดเก็บรายได้ 6.9 หมื่นล้านบาทเกินเป้า 10%

ประชาชาติธุรกิจ

เผยแพร่ 25 พ.ค. 2562 เวลา 11.23 น.
S__83902472

กรมศุลกากร โชว์ผลงานยอดจัดเก็บรายได้ 7 เดือน แรกปีงบประมาณ 62 ทะลุ 6.9 หมื่นล้านบาทเกินเป้า 10% จาก สินค้าประเภทยานยนต์และส่วนประกอบ พร้อมเผยยุทธศาสตร์ขององค์การศุลกากรโลก

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยถึง ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรปีงบประมาณ 2562 จนถึงปัจจุบัน (1 ต.ค. 2561 – 21 พ.ค.2562) ว่า จัดเก็บได้รวมทั้งสิ้น 3.85 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จัดเก็บแทนหน่วยงานอื่น จำนวน 3.15 แสนล้านบาท มีสัดส่วน 82 % ของรายได้ที่จัดเก็บรวมมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.7 หมื่นล้านบาท หรือ 6.0 % และรายได้ศุลกากรจัดเก็บได้จำนวน 6.9 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6,355 ล้านบาท (ประมาณการ 6.3 หมื่นล้านบาท) คิดเป็น 10.0 % สูงกว่าคาดการณ์ 1,536 ล้านบาท (คาดการณ์ 6.8 หมื่นล้านบาท) คิดเป็น 2.3 % และสูงกว่าปีก่อน 291 ล้านบาท (ปีก่อน 6.9 หมื่นล้านบาท) คิดเป็น 0.4 %

โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 ผลการจัดเก็บรายได้ศุลกากรสูงกว่าประมาณการ สูงกว่าคาดการณ์และสูงกว่าปีก่อน สาเหตุหลักมาจาก สินค้าประเภทยานยนต์และส่วนประกอบ จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,742 ล้านบาท 21.2 % เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 585 ล้านบาท
หรือ 9.9 % และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ จัดเก็บเพิ่มขึ้น 485 ล้านบาท หรือ 11.1 %

ทั้งนี้ กรมศุลการกร ได้ดำเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ เพื่ออุดรอยรั่วไหลในการจัดเก็บภาษีอากรอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2562 กรมศุลกากรจะสามารถจัดเก็บรายได้ประมาณ 1.08 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ และสูงกว่าคาดการณ์ของกระทรวงการคลัง ซึ่งการจัดเก็บรายได้อาจใกล้เคียงกับปีก่อน แม้ว่ามูลค่าการนำเข้าอาจหดตัวลงตามการชะลอตัวของภาคการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังก็ตาม

สำหรับสถิติผลการตรวจพบการกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องของกรมศุลกากร ปีงบประมาณ 2562 (ต.ค. 2561 – ปัจจุบัน) พบการกระทำความผิด 1.8 หมื่นคดี มูลค่า 1.4 พันล้านบาท แบ่งตามประเภทฐานความผิด อาทิ ความผิดคดีลักลอบ จำนวน 3,778 คดี คิดเป็นอากรศุลกากร 39 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 42 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 12 ล้านบาท ความผิดหลีกเลี่ยงราคาต่ำ จำนวน 7,760 คดี คิดเป็นอากรศุลกากร 15 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 4.6 แสนบาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7.02 ล้านบาท

ความผิดหลีกเลี่ยงตรวจสอบเอกสาร จำนวน 28 คดี คิดเป็นอากรศุลกากร 56 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 3.1 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 10 ล้านบาท
ความผิดหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด จำนวน 1,293 คดี คิดเป็นอากรศุลกากร 15 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 4.34 แสนบาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3.15 ล้านบาท
ความผิดหลีกเลี่ยง สำแดงเท็จ จำนวน 6,130 คดี คิดเป็นอากรศุลกากร 98 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 5.76 แสนบาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 21 ล้านบาท
รวม จำนวน 18,989 คดี คิดเป็นอากรศุลกากร 225 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 47 สิบบาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 54 ล้านบาท

ด้านนายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร กล่าวถึงยุทธศาสตร์ขององค์การศุลกากรโลกว่า ในปัจจุบันและในปีหน้าองค์การศุลกากรโลกยังคงมุ่งเน้นใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การอำนวยความสะดวกทางการค้า การป้องปราม/ปกป้องสังคม และการเพิ่มศักยภาพการทำงานของบุคลากร

ในส่วนของการอำนวยความสะดวกทางการค้า องค์การศุลกากรโลกได้อยู่ระหว่างการแก้ไขปรับปรุงอนุสัญญาว่าด้วยการทำพิธีการศุลกากรให้ง่ายและเป็นรูปแบบเดียวกัน (Revised Kyoto Convention) ให้ทันสมัย สอดคล้องกับธุรกรรมการค้าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อนุสัญญาฯ นี้อาจถือได้ว่าเป็นแม่บทของพิธีการศุลกากรที่ศุลกากรต่าง ๆ ยึดถือในการพัฒนาพิธีการศุลกากรในประเทศของตน

ในส่วนยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันปราบปรามหรือการปกป้องสังคม จะมุ่งเน้นที่ในเรื่องการเสริมสร้างความร่วมมือและการประสานงานระหว่างศุลกากรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่และการประสานงานด้านข้อมูลให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการนำเทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ ที่ทันสมัยมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งในส่วนของการจัดเก็บรายได้และการปกป้องสังคม

สำหรับยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มศักยภาพการทำงานให้กับบุคลากรนั้น องค์การศุลกากรโลกมุ่งเน้นที่จะให้บุคลากรของหน่วยงานมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะในการทำงาน เพื่อให้บรรลุภารกิจขององค์กรและตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0