โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กรมควบคุมมลพิษ ผุด 12 มาตรการ ชง ครม. 21 ม.ค.นี้ แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5

TODAY

อัพเดต 20 ม.ค. 2563 เวลา 07.59 น. • เผยแพร่ 20 ม.ค. 2563 เวลา 07.59 น. • Workpoint News
กรมควบคุมมลพิษ ผุด 12 มาตรการ ชง ครม. 21 ม.ค.นี้ แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5

กรมควบคุมมลพิษ เตรียมเสนอ 12 มาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 ม.ค.นี้

เมื่อวันที่ 20 ม.ค.63 กรมควบคุมมลพิษ เผยแพร่รายละเอียดและข้อเพิ่มเติมจากมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 21 ม.ค.นี้

มาตรการที่ 1. ขยายเขตพื้นที่จำกัดรถบรรทุกเข้า กทม. จากวงแหวนรัชดาภิเษก เป็นวงแหวนกาญจนาภิเษก

  • มาตรการนี้เป็นการขยายขอบเขตพื้นที่และระยะเวลาในการห้ามรถบรรทุก ตั้งแต่ 10 ล้อ ขึ้นไป ที่ใช้น้ำมันดีเซล เข้าพื้นที่ กทม. จากขอบเขตเส้น ถ.กาญจนาภิเษก (โดยจากมาตรการปกติที่ สตช. ห้ามรถบรรทุก 10 ล้อ ขึ้นไปเข้าพื้นที่ กทม. (ในช่วงเวลา 06.00 – 10.00น. และ 15.00 – 21.00 น.) ทุกวันเว้นวันหยุดราชการ ) หลังจากช่วงเวลาดังกล่าวสามารถเข้าพื้นที่ กทม.ได้ (แต่ก็เข้าได้เพียงขอบเขต ถ.รัชดาฯ ) เป็นมาตรการที่ห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่ กทม. ในช่วงสถานการณ์ที่ค่าฝุ่นละอองเริ่มวิกฤต (ถึงสิ้นเดือน ก.พ. 63 )

 

*มาตรการที่ 2. ห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป เข้ามาในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครในวันคี่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2563 สำหรับวันคู่ให้เข้าได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด *

  • เป็นมาตรการที่เป็นการเพิ่มเติมจาก ข้อบังคับหรือระเบียบตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 (ตามมาตรการที่ 1) ในมาตรการนี้จะเป็นการห้ามไม่ให้รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป โดยห้ามไม่ให้เข้าพื้นที่ตั้งแต่ขอบเขต ถ.วงแหวนกาญจนาภิเษก  เข้าไปในเขต กทม. โดยกำหนดห้ามเฉพาะวันเลขคี่
  • โดยจะเพิ่มระยะเวลาในการห้ามเข้า จากเดิมที่ สตช.ห้ามรถสิบล้อขึ้นไปเข้าพื้นที่ในช่วงเวลา ในช่วงเวลา 06.00 – 10.00น. และ 15.00 – 21.00 น. (ทุกวันเว้นวันหยุดราชการ) โดยจะห้ามเป็นตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. โดยห้ามเฉพาะในวันเลขคี่เท่านั้น จนกระทั้งถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ หรือจนกว่าสถานการณ์ฝุ่นละอองจะคลี่คลาย

 

มาตรการที่ 3. ตรวจวัดควันดำอย่างเข้มงวดกับรถโดยสาร (ไม่ประจำทาง) ทุกคัน โดยเพิ่มชุดตรวจเป็น 50 ชุด ใน 50 เขต

  • มาตรการนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับชุดตรวจวัดควันดำ โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างกรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษ บก.จร. และกรุงเทพมหานคร ในการสนับสนุนอุปกรณ์ตรวจวัดควันดำของทางราชการที่มีกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ให้ จนท.ที่สามารถบังคับใช้กฎหมายสามารถเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงทั้ง 50 เขต ของกทม.

 

*มาตรการที่ 4. ปฏิบัติการร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจรในการยกระดับความเข้มงวดการตรวจสอบตรวจจับรถควันดำสำหรับรถโดยสารและรถบรรทุก เพื่อการออกคำสั่งห้ามใช้รถ       *

  • เป็นมาตรการที่ใช้เพื่อ ยกระดับความเข้มงวดในการตรวจสอบ/ตรวจจับรถยนต์ควันดำอย่างเคร่งครัดและสามารถออกคำสั่งห้ามการใช้รถที่มีมลพิษเกินมาตรฐานที่กำหนดมาใช้ในทางเดินรถและออกกฎกระทรวงเพื่อตรวจรับรองรถยนต์ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำสั่งแล้วตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522

 

มาตรการที่ 5. ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง หากตรวจสอบแล้วไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ให้สั่งปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือสั่งหยุดการประกอบกิจการ

  • เป็นมาตรการที่ใช้เพื่อ ขอความร่วมมือโรงงานอุตสาหกรรมลดกำลังการผลิตในช่วงวิกฤตสถานการณ์ฝุ่นละออง และรัฐจะให้การสนับสนุนแรงจูงใจ (Incentive) ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือ
  • ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ กทม.และปริมณฑทลที่เข้าข่ายที่จะมีการปล่อยมลพิษทางอากาศ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงาน สั่งให้หยุดปิด โรงงานและปรับปรุงแก้ไขจนกว่าจะกลับขึ้นมากลับมาสู่ในสภาพปกติ

 

มาตรการที่ 6. กำกับให้กิจกรรมการก่อสร้างรถไฟฟ้าและการก่อสร้างอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ไม่ทำให้เกิดฝุ่น และปัญหาการจราจรติดขัดในบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้าง

  • เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า และการก่อสร้างทุกประเภท รวมทั้งเพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง โดย สนง.เขตทั้ง 50เขต จะต้องกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการ 12 ข้อ (กฎเหล็กของกทม.) อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ระงับการก่อสร้างมาตรการทั้ง 12 ข้อ ได้แก่
  • การวางแนวแบริเออร์ ให้จัดวางให้ตรงตามแนวเส้นทางจราจร
  • ช่องทางกลับรถคับแคบ ให้เปิดช่อง U- Turn ให้กว้าง เพื่อให้รถยนต์กลับรถได้สะดวกขึ้น
  • ให้ขนย้ายกองดิน เศษหิน เศษปูนทรายออกจากพื้นที่ก่อสร้างในทันที
  • เร่งแก้ไขผิวจราจรให้เรียบร้อย
  • แนวก่อสร้างที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง แต่ได้วางแผงแบริเออร์ ให้เปิดช่องทางชั่วคราว
  • ให้เร่งก่อสร้างงานฐานราก เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดที่สะพาน
  • ให้จัดระเบียบรถบรรทุกในพื้นที่
  • ปรับผิวจราจรให้เป็นช่องจราจรชั่วคราวเพิ่มขึ้น
  • พื้นที่ที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง แต่ปิดช่องจราจร ให้เปิดช่องจราจรเป็นครั้งคราวในพื้นที่
  • การเปิดแนวแบริเออร์แล้วไม่ปิดให้เรียบร้อย ให้ปิดกั้นให้เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัย
  • ติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราวตามแนวการก่อสร้าง
  • ปิดกั้นพื้นที่ก่อสร้างและจัดทำทางสัญจรอย่างปลอดภัย

 

*มาตรการที่ 7. ไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้กระทำการเผา *

  • เป็นมาตรการในพื้นที่ กทม. เพื่อลดพื้นที่ที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองและหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง โดยอาศัยข้อบังคับและกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข 2535 ซึ่งหากผู้ใดเผาหรือดำเนินการใด ๆ ทำให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น หากจับได้จะต้องลงโทษบุคคลที่ฝ่าฝืนกระทำการเผาในที่โล่ง อย่างเด็ดขาด (โทษจำคุก 3เดือน ปรับไม่เกิน 25,000บ.)

 

*มาตการที่ 8. จังหวัดและ อปท. อาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควบคุมการเผาในที่โล่งในช่วงสถานการณ์วิกฤตฝุ่นละออง และเข้มงวดการควบคุมยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง       *

  • เป็นมาตรการที่ให้ท้องถิ่น ที่เกิดสถานการณ์วิกฤติฝุ่นละอองได้ออกเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ควบคุมการเผาขยะมูลฝอย หญ้า พืชไร่ พืชสวน ตอซังข้าว หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นที่ดินของตนเองหรือที่สาธารณะ เพื่อให้สามารถเข้าระงับเหตุได้ทันที พร้อมทั้งออกมาตรการของท้องถิ่นในการเข้มงวดการควบคุมยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างต่าง ๆ ในระยะที่เกิดสภาวะวิกฤติของฝุ่นละออง

 

มาตรการที่ 9. ลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (Premium diesel) ที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกิน 10 ppm ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศน้อยกว่าน้ำมันดีเซลปกติที่ขายในตลาดปัจจุบัน

  • เป็นการขอความร่วมมือ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเพื่อให้ประชาชนที่ใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล สามารถเข้าถึงน้ำมันที่สามารถช่วยลดมลพิษทางอากาศ (เป็นน้ำมันดีเซล เกรดพรีเมี่ยม ซึ่งจะมีค่า Sulfur ต่ำกว่า 10 ppm เทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 เป็นการลดมลภาวะ ได้กว่า 24 เปอร์เซ็นต์ ) ตลอดช่วงสถานการณ์วิกฤตฝุ่นละออง

 

มาตรการที่ 10. ขอความร่วมมือลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน และรถยนต์ของส่วนราชการต้องผ่านมาตรฐานควันดำทุกคัน

  • เป็นการขอความร่วมมือหน่วยงานภาคราชการ ภาคเอกชน ประชาชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน เพื่อลดสัดส่วนของแหล่งกำเนิดที่ก่อ PM 2.5 ในช่วงสถานการณ์ที่ค่าฝุ่นละอองอยู่ในระดับวิกฤต
  • ทั้งนี้ รถยนต์ของส่วนราชการต้องผ่านมาตรฐานควันดำทุกคัน โดยให้กำหนดเป็นตัวชี้วัดของหัวหน้าส่วนราชการ

 

มาตรการที่ 11. ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษา สนับสนุนการจัดโครงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง สำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี เพื่อช่วยลดฝุ่นละออง

  • โดยเป็นการขอความร่วมมือกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี (ฟรี/ลดราคาค่าบริการ+อะไหล่ ) ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงได้ดีขึ้น และลดฝุ่นละออง

 

มาตรการที่ 12. สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นละออง

  • ซึ่งจะเป็นภารกิจบูรณาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ความเข้าใจ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์วิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นข้อมูลเดียวกัน
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0