โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

กรดไหลย้อน ภัยจากความอ้วนและเครียด ปล่อยเรื้อรังอันตรายถึงเสียชีวิตได้!

Praew.com

อัพเดต 17 ม.ค. 2563 เวลา 09.25 น. • เผยแพร่ 17 ม.ค. 2563 เวลา 08.36 น. • Praew

กรดไหลย้อน ภัยจากความเครียด อันตรายถ้าไม่รักษา

โรคกรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปอยู่ในหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกหรือมีการเรอเปรี้ยว ตลอดจนอาการไอหรืออาการเจ็บหน้าอกในบางราย ซึ่งพบได้ทุกเพศทุกวัย รวมถึงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

กรณีอาการไม่รุนแรงหรือไม่กำเริบบ่อย กรดไหลย้อน อาจเพียงสร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากถูกละเลยจนกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะภาวะอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหารจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารส่วนปลาย (Barrett’s esophagus) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหารในที่สุด

กรดไหลย้อน เกิดจาก สาเหตุใดบ้าง

  • ความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งหูรูดของหลอดอาหารเริ่มเสื่อมสภาพ น้ำย่อยและอาหารในกระเพาะจึงไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งมักถูกกระตุ้นได้ง่ายจากการรับประทานยาบางชนิด ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

  • ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ส่งผลให้หลอดอาหารบีบตัวไล่น้ำย่อยที่ย้อนขึ้นมาได้น้อยลง ทำให้น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานขึ้น

  • กระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จนไม่สามารถนำอาหารที่ย่อยแล้วลงสู่ลำไส้ได้หมด อาหารจึงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน เกิดแรงดันในกระเพาะอาหารจนไปดันให้หูรูดเปิดออก อาหารและน้ำย่อยจึงย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร

  • ปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ

  • บุหรี่ การสูบบุหรี่ส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากขึ้น รวมถึงกระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จึงทำให้น้ำย่อยและอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร

  • ความเครียด ยังส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากเกินไป จนเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อน

  • การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มบางชนิด ส่งผลให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว โดยเฉพาะอาหารไขมันสูง คาเฟอีน แอลกอฮอล์ และเปปเปอร์มินต์

  • การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ส้ม  มะนาว รวมถึงอาหารรสจัด ทำให้หูรูดเกิดการระคายเคืองได้

  • การรับประทานยาบางชนิด อาจไปกระตุ้นให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน โดยผลข้างเคียงของยาจะส่งผลแตกต่างกันในแต่ละบุคคล หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรหยุดยาหรือซื้อยามารับประทานเอง

  • ความอ้วน เนื่องจากคนอ้วนมีความดันในช่องท้องมากกว่าคนทั่วไปทำให้เกิดความดันในกระเพาะอาหารสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงโรคกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้น

  • การตั้งครรภ์ เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้นความดันในกระเพาะก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์จึงเสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อนมากขึ้น

การเช็คกรดไหลย้อนด้วยตัวเอง ทำได้ ดังนี้

  • สังเกตอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ บางครั้งอาจปวดร้าวไปยังลำคอ เหมือนมีก้อนจุกอยู่ กลืนลําบาก แสบคอ คลื่นไส้ เรอบ่อย  และมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาจนรู้สึกขมที่คอ
  • จุกเสียด แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อย อาจมีกลิ่นปาก หรือเสียวฟันร่วมด้วย
  • หลังรับประทานอาหารมักเกิดอาการท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน หรือไอแห้งๆ บ่อยๆ
  • เสียงแหบในช่วงเช้า หรือแหบเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาทำให้กล่องเสียงอักเสบ
  • สำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกขณะนอนหลับ

การรักษา กรดไหลย้อน

  • รับประทานยาลดกรด ช่วยลดการหลั่งกรดในกระเพาะ ซึ่งควรรับประทานตามแพทย์สั่ง โดยไม่ซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาที่ไม่ถูกวิธี
  • ผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยการรับประทานยา หรือได้รับผลข้างเคียงจากยา

กรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน

การป้องกันกรดไหลย้อน

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมากเกินไป เช่น อาหารไขมันสูง และอาหารรสจัด งดเครื่องดื่มคาเฟอีนและ แอลกอฮอล์ รวมถึงเลิกสูบบุหรี่
  • ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ  และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหารและหมั่นออกกำลังกาย
  • ไม่นอนราบ ออกกำลังกาย หรือทำงานที่ต้องก้มๆ เงยๆ ทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ โดยควรรอให้อาหารย่อยประมาณ 2-3 ชั่วโมง
  • ไม่ควรนอนหลังรับประทานอาหารทันที ควรรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มักประสบกับภาวะกรดไหลย้อน โดยเฉพาะเมื่อครรภ์เข้าสู่ไตรมาสท้ายๆ เนื่องจากขนาดของมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นไปเบียดกระเพาะอาหาร จนกรดและอาหารในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นมายังหลอดอาหาร รวมถึงผลกระทบจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ ส่งให้ระบบย่อยอาหารทำงานลดลง

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ตั้งครรภ์เกิดอาการกรดไหลย้อน ไม่ควรซื้อยาลดกรดมารับประทานเองเด็ดขาด เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือตัวคุณแม่เอง  โดยควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูอาการและทำการรักษา

โรคกรดไหลย้อนอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้เสียบุคลิกภาพ แต่หากไม่ทำการรักษาปล่อยไว้เรื้อรังอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารและเสียชีวิตได้  ดังนั้นควรดูแลสุขภาพอนามัยอยู่เสมอ พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆ ที่ให้เกิดโรคกรดไหลย้อน รวมถึงปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อห่างไกลจากกรดไหลย้อนอย่างจริงจังและยั่งยืน

ข้อมูล : นพ. อนุพงศ์ ตั้งอรุณสันติ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบทางเดินอาหาร รพ. สมิติเวช สุขุมวิท
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เรื่องใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน “ฮอร์โมนผิดปกติ” เสี่ยงมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

จะอ้วนหรือไม่อ้วนอยู่ที่ “ปาก” กับ 8 ข้ออ้าง ตามใจปาก ที่คนชอบกินควรรู้ทัน!

อร่อยแบบ 0 แคลอรี่ด้วย วิธี ลดน้ำหนัก ง่ายๆ ที่ไม่ใช่กินเข้าไปแล้วคายออกมา!

ท่องให้ขึ้นใจ! “คาถาหุ่นดี” สำหรับคนที่ต้องการ ไดเอท รูปร่าง แต่ไม่อยากอดอาหาร

ลองทำ 25 ข้อ เปลี่ยนพุงพลุ้ยเป็นหุ่นเพรียว แค่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์การกินอยู่

โครงหน้าชัดเหมือนตอนสาวๆ “ตั๊ก บงกช” สวยเรียบหรูในเมคอัพโทนนู้ดนัวๆ

หุ่นเป๊ะเหมือนตอนเข้าวงการใหม่ๆ “ตั๊ก บงกช” ฟิตหุ่นจนเซี๊ยะ กล้ามหน้าท้องแน่น

เคยผอมแห้งสู่หุ่นสุดแซ่บชวนฝัน “แอน มนัสนันท์” เทรนเนอร์สาวผู้เลิฟชานมไข่มุก

หยุดตามใจปาก! บล็อกเกอร์สาวแชร์สูตรลดนน. 10 โลเปลี่ยนไซส์ L ไป S

หุ่นดีมาก “ชญาณิศา ชมชื่นดี” นักกระโดดค้ำสาวทีมชาติไทย กล้ามท้องฟิตเปรี๊ยะจนน่าอิจฉา

อยากหุ่นดีอย่าขี้เกียจ! “ออร์แกน” แนะเทคนิคเฟิร์มเฉพาะส่วน ไม่เอาแบบผอมเกินไป

“ตั๊ก บงกช” ย้ำกินตามกรุ๊ปเลือด และแนะลองแปะเมล็ดผักกาด ลดความอยากอาหาร!!

โครงหน้าชัดเหมือนตอนสาวๆ “ตั๊ก บงกช” สวยเรียบหรูในเมคอัพโทนนู้ดนัวๆ

หุ่นเป๊ะเหมือนตอนเข้าวงการใหม่ๆ “ตั๊ก บงกช” ฟิตหุ่นจนเซี๊ยะ กล้ามหน้าท้องแน่น

 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0