โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

กรณีศึกษาควบรวมหุ้นแบงค์

Stock2morrow

อัพเดต 21 ก.ย 2561 เวลา 04.09 น. • เผยแพร่ 20 ก.ย 2561 เวลา 11.45 น. • Stock2morrow
กรณีศึกษาควบรวมหุ้นแบงค์
กรณีศึกษาควบรวมหุ้นแบงค์

ช่วงนี้ข่าวควบรวมหุ้นแบงค์กำลังมาแรงโดยเฉพาะหุ้นที่กำลังเป็นข่าวอยู่ตอนนี้อย่าง KTB และ TMB ซึ่งทั้งสองก็เป็นแบงค์ของภาครัฐมีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่อยู่ นักลงทุนจึงคาดกันว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ท้ังสองแบงค์อาจจะรวมกิจการกันก็เป็นได้

ถามว่าในอดีตตลาดหุ้นไทยเคยมีข่าวแบงค์ควบรวมกันหรือไม่ ? 
ผู้เขียนขอตอบว่ามีอย่างแน่นอน ซึ่งก็คือดีลระหว่างธนาคารธนชาต (TCAP) เข้าซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) เหตุการณ์เป็นอย่างไร … วันนี้เราจะมาย้อนรอยประวัติศาสตร์กันครับ …

เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว คือ ปี 2553 ตอนนั้นธนาคารธนชาต ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ TCAP ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทยหรือ SCIB จากกองทุนฟื้นฟูที่เข้ามาช่วยเหลือธนาคารนครหลวงไทยในเหตุการณ์ต้มยำกุ้ง ถือหุ้นอยู่ 47.58 %
TCAP ได้ประกาศซื้อหุ้น SCIB ที่ราคา 32.5 บาท/หุ้น ด้วยมูลค่ากว่า 6.8 หมื่นล้านบาท ซื้อแบบหมดเกลี้ยงจากกองุทนฟื้นฟูและนักลงทุนรายย่อยโดยตั้งโต๊ะทำ Tender Offer ประกาศถอดถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์

ในปี 2553 ธนาคารธนชาตมีขนาดเล็กกว่าธนาคารนครหลวงไทยกว่าครึ่ง กล่าวคือจำนวนสาขาของธนชาตมีแค่ 200 สาขา ในขณะที่ SCIB มีมากถึง 400 สาขา ทำให้การควบควมครั้งนี้ธนชาตจะกลายเป็นแบงค์ขนาดใหญ่อันดับที่ 8 ของประเทศไทย สินทรัพย์โตก้าวกระโดด ดีลนี้เป็นดีลใหญ่ ดังนั้นทางตลาดหลักทรัพย์จึงขึ้นเครื่องหมายหยุดซื้อขายหุ้น TCAP, SCIB และ THANI

ทางด้านผู้บริหารของ TCAP เปิดเผยว่าการควบควมครั้งนี้อยู่ในช่วงศึกษาวิธีจัดการทรัพย์สินนครหลวงไทยว่าจะทำอย่างไรดี เช่น จะควบรวมกิจการกันเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารธาตทั้งหมด แยกกันดำเนินกิจการโดยจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ หรือจะบริหารในลักษณะเป็นพันธมิตรร่วมกัน

ทางฝั่งโบรคเกอร์มอง "ดีมาก" กับหุ้น TCAP เพราะ SCIB มีฐานลูกค้าเป็นรายย่อยอยู่แล้ว และ TBANK เองก็มีลูกค้าเป็นรายใหญ่รวมถึง SME ทำให้ TBANK มีลูกค้าครอบคลุมทุกกลุ่มกลายเป็น Universal Banking ทันที และกลายเป็นธนาคารเทียบเท่าธนาคารขนาดใหญ่

เมื่อระยะเวลาผ่านไปเมื่อบริษัทลูกมีโครงสร้างที่เติบโตขึ้นจะเป็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำกำไรมากขึ้นด้วย ดังนั้น จึงจะส่งผลดีต่อ TCAP ที่จะได้รับประโยชน์และเติบโตขึ้น

อย่างไรก็ตามเมื่อเปิดตลาดราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงจากข่าวประเด็นบวกในหุ้นของ TCAP แต่ต่อมาไม่นานราคาหุ้นของ TCAP ก็ร่วงลงมาแบบไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีนักวิเคราะห์ได้ประเมินไว้ถึง 2 เหตุผลด้วยกัน
1. การเติบโตของ TCAP แบบก้าวกระโดด เป็นเรื่อง "ระยะยาว" การที่หุ้นขึ้นมาจะมีนักลงทุนระยะสั้นขายทำกำไรออกมา
2. ราคาเทนเดอร์ที่ TCAP รับซื้อ สูงกว่าราคากระดานของ SCIB ที่เป็นอยู่ รวมถึง ราคาซื้อที่ 32.5 บาท เท่ากับว่า TCAP กำลังซื้อหุ้น SCIB ที่มี P/BV สูงถึง 1.63 เท่า มากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มธนาคาร

ปี 2553 หุ้น TCAP มีราคาหุ้นแกว่งตัวอยู่บริเวณ 18-21 บาท 
ผ่านมาเป็นเวลา 8 ปี มาจนถึง 2561 ราคาหุ้น TCAP อยู่บริเวณ 52 บาท

ไม่เพียงแค่ราคาหุ้นเท่านั้นที่ขึ้น แต่รายได้ กำไร รวมถึงปันผลก็ขึ้นตามขึ้นมาด้วย ถือว่าเป็นหุ้นคุณภาพตัวหนึ่งในสายตาของนักลงทุน

ไม่แปลกใจทำไม ดร.นิเวศน์ ถึงซื้อมาอยู่ในพอร์ตการลงทุนมากถึง 14 ล้านหุ้น ลุกสาวซื้ออีก 7 ล้านหุ้น รวมเป็น 21 ล้านหุ้น มูลค่าปัจจุบันสูงถึงพันล้านบาท !!!

นี้ก็เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทย กลุ่มแบงค์มีการควบรวมกิจการกัน ทุกวันนี้เราอาจจะลืมชื่อของธนาคารนครหลวงไทยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเห็นสาขาของธนาคารธนชาตที่มากขึ้น รวมถึงรอยยิ้มของนักลงทุนที่กว้างขึ้นในทุกๆวัน ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้นและปันผล

หวังว่า "ถ้า" KTB และ TMB จะควบรวมกันจริงๆ ก็ขอให้นึกถึงเหตุการณ์ TCAP ควบรวมกับ SCIB ไว้เป็นกรณีศึกษาครับ …

ขอบคุณแหล่งข้อมูล
https://www.ryt9.com/s/iq05/841672

http://www.efinancethai.com/hotnews/hot/h_110310h.asp

stock2morrow

ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่ LINE@stock2morrow, FB:stock2morrow และ www.stock2morrow.com 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0