โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ ลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว บังคับใช้ 21 มี.ค. 2562

IT24Hrs

เผยแพร่ 20 มี.ค. 2562 เวลา 12.58 น. • iT24Hrs by ปานระพี
กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ ลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว บังคับใช้ 21 มี.ค. 2562

กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์  หรือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ 20 มี.ค. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ 21 มี.ค. 2562 เพื่อเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ให้ใช้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ซึ่งรวมถึงการชำระภาษี ทั้งนี้ผลจากการบังคับใช้ จะทำให้ร้านขายของออนไลน์ หรือผู้ทำธุรกรรมการเงินเป็นประจำต้องระมัดระวัง

กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์
กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์

โดยเฉพาะ ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ที่ทางธนาคาร และผู้ให้บริการอีเพย์เม้นต์ ต้องรายงานไปยังกรมสรรพากร ได้แก่

1) ฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป

2) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้ง และมียอดทำธุรกรรมการเงินรวมกัน  2 ล้านบาทขึ้นไป

หากพบเป็นไปตาม 2 ข้อนี้ ต้องรายงานไปยังกรมสรรพากร หากธนาคาร หรือผู้ให้บริการอีเพย์เมนต์ไม่รายงาน กรมสรรพากรมีอำนาจลงโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และ ปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน จนกว่าจะแก้ไขและปฏิบัติให้ถูกต้อง

รวมถึงปรับปรุงอัตราโทษ กรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษี หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้สามารถอ่านรายละเอียด กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์  หรือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (คลิกที่นี่)

กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์
กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์

อ้างอิงจาก  ประชาชาติธุรกิจ 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0