โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ตลท.ยอมรับเก็บภาษีซื้อขายหุ้น กระทบนักลงทุนต้นทุนสูงขึ้น

Wealthy Thai

อัพเดต 05 ส.ค. 2566 เวลา 15.21 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2564 เวลา 14.38 น. • Maratronman

ตลาดหลักทรัพย์ออกมายอมรับแล้วว่า หากมีนโยบายการจัดเก็บภาษีซื้อขายหุ้นก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการซื้อขายของนักลงทุน แต่อย่างไรก็ตามจะขอรอดูความชัดเจนของนโยบายอีกครั้ง เบื้องต้นได้ชี้แจงให้หน่วยงานที่กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่รับทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแล้ว
จากกรณีที่สำนักข่าว Reuters รายงานว่า รัฐบาลไทยอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการเรียกเก็บภาษีจากการขายหุ้นเพิ่มเติมอีก 0.11% โดยจะมีผลกับนักลงทุนที่มีมูลค่าการซื้อขายเกิน 1 ล้านบาทต่อเดือนขึ้นไปนั้น หลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างแสดงความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการนี้ เพราะจะส่งผลต่อภาพรวมการลงทุนในระยะยาว ถึงแม้ว่าในช่วงแรกรัฐจะเก็บภาษีได้เยอะ แต่ในระยะถัดไปอาจจะจัดเก็บได้น้อยลง
อย่างไรก็ตามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุดในเรื่องนี้คือทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จะเป็นผู้ต้องสนองนโยบายดังกล่าว โดยนายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ยอมรับว่าการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการซื้อขาย เพราะจะทำให้ต้นทุนต่างๆ สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามในจุดนี้ทางตลาดหลักทรัพย์ได้มีการให้ข้อมูล กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กำลังดำเนินการศึกษาในเรื่องนี้ ทั้งนี้ในเบื้องต้นทางตลาดหลักทรัพย์ยังไม่สามารถยังบอกได้ว่าผลกระทบที่ชัดเจนจะเป็นอย่างไร สำหรับการจัดเก็บภาษีที่อยู่ในตลาดทุนนั้นมีหลายประเภท โดยการเรียกเก็บภาษีตลาดทุนนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาวะและสถานการณ์ของประเทศนั้นๆ
ด้านนาย ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ระบุว่า ในเดือนมีถุนายน 2564 มีบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ใน maiจำนวน 1บริษัท โดยใน 6 เดือนแรกปี 2564 SET มีมูลค่าระดมทุน (IPO)จำนวน 3.4 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในอาเซียน
โดยหากย้อนไปในช่วงปี 63 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีบริษัทเข้าใหม่ ซึ่งมียอดระดมทุน 5 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการระดมทุนอันดับที่ 1 ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับ 3 ในทวีปเอเชีย รวมถึงเป็นอันดับ 8 ของโลก ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีบริษัทที่เข้าจดทะเบียนใหม่ จำนวนปีละ 40-50 บริษัท

สถิติสำคัญตลาดหลักทรัพย์ไทย มิ.ย. 64

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงต่ำสุดในรอบ 13 เดือน และต้นทุนการผลิตก็จดลงคามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่แปรผันกับค่าเงินคอลล่าร์ที่มีแนวโน้มแข็งค่า เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตัวเลขการส่งออกของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤษภาคม 64 มูลค่าการส่งออกไทยเพิ่มขึ้นถึง 41.59% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ขณะที่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศ และการกระจายวัดซีนป้องกัน COVID-19 ที่ค่อนข้างล่าช้าทำให้ผู้ลงทุนเกิดความกังวลเกี่ยวกับการกลับมาเปิดประเทศ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอาจต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ในช่วงต้นปี
โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 SET Index ปิดที่ 1,587.79 จุด ลดลง 0.4% จากสิ้นเดือนก่อนหน้า เมื่อพิจารณาช่วง 6 เดือนแรกปี 2564 SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 9.6% ซึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 ได้แก่กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นสัญญาณการปรับเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์บางกลุ่มที่สูงกว่าผลการดำเนินงานในอดีตค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ลงทุนควรพิจารณาข้อมูลพื้นฐานเป็นรายหลักทรัพย์และกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
ในเดือนมิถุนายน 2564 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 97,121 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.5% จากเดือนเดียวกันของปิก่อน โดยใน 6เดือนแรกปี 2564 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 98,328 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดยในเดือนมิถุนายน 2564 ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 10,947 ล้านบาท ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรก 2564 ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิรวม 77,817 ล้านบาท โดยผู้ลงทุนในประเทศมีสถานะเป็นผู้ซื้อสุทธิ 111,278 ล้านบาท นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ผู้ลงทุนในประเทศมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุดมาอย่างต่อเนื่อง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0