โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“ไวรัสอู่ฮั่น” แตกต่างจาก “ไข้หวัดธรรมดา-ซาร์ส-เมอร์ส” อย่างไร ?

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 24 ม.ค. 2563 เวลา 02.00 น. • เผยแพร่ 23 ม.ค. 2563 เวลา 12.28 น.
ไวรัสโคโรนา
Photo by Getty Images

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีจุดเริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งขณะนี้ (23 ม.ค. 63) มีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 600 คน สร้างความกังวลให้กับองค์การอนามัยโลก อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจในกลุ่มเชื้อโคโรนาไวรัสแพร่ระบาดทั่วโลก

“โรคซาร์ส (SARS)”

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2546 หรือราว 18 ปีก่อน ทางตอนใต้ของประเทศจีนต้องประสบกับเชื้อไวรัสอันเป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจอักเสบอย่างหนักเฉียบพลัน (Severe Acute Respiratory Syndrome) หรือ “โรคซาร์ส” โดยเชื้อไวรัสดังกล่าว คร่าชีวิตผู้ที่ติดเชื้อทั่วโลกไปทั้งหมด 774 ราย จากสถิติผู้ป่วย 8,098 ราย เฉลี่ยอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ราว 10%

ในครั้งนั้น ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 90 อยู่ในประเทศจีน ฮ่องกง เวียดนาม และสิงคโปร์ ทำให้องค์การอนามัยโลกประกาศรายชื่อประเทศซึ่งเป็นพื้นแพร่กระจายของโรค ประกอบด้วย ประเทศจีน (ปักกิ่ง กวางตุ้ง และเซี่ยงไฮ้) ประเทศเวียดนาม (ฮานอย) ประเทศสิงคโปร์ ประเทศแคนาดา (โตรอนโต)

สำหรับจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดกล่าว นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเชื้อไวรัสชนิดนี้ในอุ้งเท้าของชะมด จากการตรวจตลาดค้าสัตว์ป่าทางตอนใต้ของจีน ต่อมาค้นพบเชื้อตัวเดียวกันนี้ในแรคคูน แบดเจอร์ และค้างคาว สันนิษฐานว่าเป็นเชื้อที่มีอยู่ในสัตว์มานานแล้ว แต่เพิ่งจะพัฒนาสู่คนเป็นครั้งแรกจนเกิดโรคนี้ขึ้น โดยสถานการณ์ปัจจุบันของไวรัสซาร์สยังไม่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552

“โรคเมอร์ส (MERS)”

ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 มีการพบเชื้อไวรัสที่เป็นกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจอักเสบตะวันออก (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือ “โรคเมอร์ส” เป็นครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยจุดเริ่มต้นจากค้างคาว และแพร่ระบาดจากการสัมผัสหรือรับประทานเนื้ออูฐที่ติดเชื้อ ก่อนจะพัฒนาเข้าสู่ระดับคนสู่คนเช่นเดียวกับไวรัสซาร์ส

สถิติอย่างเป็นทางการจากองค์การอนามัยโลก ยืนยันว่ามีผู้ป่วยจำนวน 2,494 ราย และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 858 ราย เฉลี่ยอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ราว 34% อีกทั้งรายงานยังระบุอีกว่า ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตทุกราย มีความเชื่อมโยงกับคาบสมุทรอาหรับ โดย 80% อยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่เหลือกระจายอยู่ในอีก 20 ประเทศทั่วโลก โดยจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

“ไข้หวัดธรรมดา”

ส่วนหนึ่งของโรคไข้หวัดที่ระบาดเป็นประจำตามฤดูกาลปี ราว 15-30% นั้นเป็นผลมาจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โคโรนา โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่ไวรัสได้ผ่านการติดต่อจากคนใกล้ชิดที่ติดเชื้อ

ในแต่ละปีพบมีผู้ติดเชื้อหลายล้านคนทั่วโลก โดยปกติแล้วไม่ถึงแก่ชีวิต แต่จะมีบ้างแล้วแต่กรณี ซึ่งเกิดในน้อยครั้ง ซึ่งจะพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมาก ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว

นอกจากพื้นที่การระบาดที่แตกต่างกันแล้ว ไข้หวัดที่เกิดจากไวรัสโคโรนาแต่ละสายพันธุ์ยังลักษณะอาการต่างกัน เช่น กรณีของ “โรคซาร์ส” นั้น ผู้ป่วยมักมีอาการรุนแรงทำให้ตรวจพบได้ง่าย ขณะที่ “โรคเมอร์ส” ที่ส่วนใหญ่เกิดจากผู้ได้รับไวรัสจากอูฐนั้นมักมีอาการรุนแรงน้อยกว่าในผู้ป่วยวัยหนุ่มสาว

“ไวรัสอู่ฮั่น”

ถึงแม้ขณะนี้ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัดถึงลักษณะการติดต่อและความรุนแรงต่อร่างกายของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน นักระบาดวิทยาหลายคนได้แสดงความเห็นว่ามันน่าจะใกล้เคียงกับกรณีของไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิด “โรคซาร์ส” มากกว่า “โรคเมอร์ส”

สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่พบเชื้อครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเจ้าของร้าน ลูกจ้าง หรือลูกค้าที่เคยมาซื้อของที่ตลาดอาหารทะเลแห่งหนึ่งในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นตลาดที่มีการค้าสัตว์หลายชนิด

ทางการจีนออกมายืนยันว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดเชื้อจากคนสู่คนได้ และข้อมูลล่าสุดพบว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยติดเชื้อแล้วกว่า 600 ราย และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 17 ราย รวมทั้งคาดการณ์ว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อในเมืองอู่ฮั่นอาจสูงถึง 4,000 ราย

วันนี้ (23 ม.ค.63) รัฐบาลเมืองอู่ฮั่นประกาศยุติการให้บริการเครือข่ายระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมดของเมือง รวมถึงสั่งห้ามเที่ยวบินที่จะเดินทางออกจากเมืองทั้งหมด ส่งผลให้ประชากรชาวเมืองราว 11 ล้านชีวิตไม่สามารถเดินทางออกจากเมืองได้

ในส่วนของประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศมีมาตรการเฝ้าระวังคัดกรองและป้องกันควบคุมโรค จากไวรัสโคโรนา โดยเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินเพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วยที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่นอย่างเข้มข้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0