โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“โรคหัวใจ” กับความเข้าใจผิดๆ!

สยามรัฐ

อัพเดต 16 ก.พ. 2563 เวลา 23.50 น. • เผยแพร่ 16 ก.พ. 2563 เวลา 23.50 น. • สยามรัฐออนไลน์
“โรคหัวใจ” กับความเข้าใจผิดๆ!

โรคยอดนิยมที่ ORYOR.COM ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุ "ถึงแม้ว่าวิกฤตโรคหัวใจกำลังเป็นภัยที่คุกคามสังคมไทยและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ หากแต่ยังมีหลายเรื่องที่คนยังไม่รู้ และเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคหัวใจซึ่งอาจทำให้เสี่ยงชีวิตโดยไม่รู้ตัว

โรคหัวใจนั้นมีหลายชนิด

เมื่อพูดถึงโรคหัวใจคนมักเหมารวมว่ามีอยู่ชนิดเดียว แต่จริงๆ มีหลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน (พบผู้ป่วยเป็นมากที่สุด)หัวใจเต้นผิดจังหวะ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อและภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น

ดังนั้น จึงไม่ควรแนะนำยาโรคหัวใจที่ตัวเองใช้ให้คนอื่น เพราะอาจจะเป็นคนละโรค ซึ่งมีวิธีการรักษาที่ไม่เหมือนกัน เป็นอันตรายได้ และหากเป็นโรคหัวใจควรอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์

อาการสัญญาณเตือนโรคหัวใจที่ไม่ควรข้าม

อาการเด่น- เจ็บหน้าอก บริเวณกลางอก ด้านซ้ายหรือทั้งสองข้าง บางรายอาจเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน ในบางรายที่มีอาการรุนแรงจะเกิดขึ้นในขณะพัก อาการนี้คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนได้เพราะมีอาการแน่น หรือแสบหน้าอกอาการคล้ายกัน

อาการอื่นๆ– หอบเหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ขาบวม เป็นลมหรือวูบ

นอกจากอาการเหล่านี้แล้วยังต้องถามถึงประวัติและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อพิจารณาร่วมด้วย และหากมีความสงสัยควรรีบไปปรึกษาแพทย์

ขณะมีเรื่องที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคหัวใจ

1.ยาอมใต้ลิ้นสามารถป้องกันการเกิดหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้และช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจหยุดเต้นได้ ไม่จริง

ยาอมใต้ลิ้นเพียงแค่ยาบรรเทาอาการแน่นหน้าอก มักใช้ในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตต่ำ จนอาจเป็นอันตรายได้ หากต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นให้ปฐมพยาบาลด้วยการปั๊มหัวใจ หรือ CPR อย่างถูกต้อง

2.กดนวด “รักแร้” ช่วยแก้เลือดเลี้ยงหัวใจไม่ทันได้

ไม่จริง หากมีอาการเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจไม่ทันบ่อยครั้ง หรือหลังหยุดพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ทันที

วิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นโรคหัวใจ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง และภาวะน้ำหนักเกิน"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0