โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“ขนมจีน” จริง ๆ แล้วเป็น “ขนม” หรือ “ของคาว”?

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 13 พ.ย. 2562 เวลา 01.00 น. • THE HIPPO | Another Point Of View
“ขนมจีน” จริง ๆ แล้วเป็น “ขนม” หรือ “ของคาว”?

ขนมจีน” อาหารชื่อขนมที่ไม่ได้เป็นขนมของคนจีน แต่ขนมจีนมีที่มาจากภาษามอญออกเสียงว่า “คนอมจิน” (ขะ-นอม-จิน) ต่างหาก

คนอม คือการจับเป็นกลุ่มก้อน ส่วนจิน แปลว่าทำให้สุก ว่ากันว่าจากจุดเริ่มต้นที่มอญ คนอมจินก็ได้แพร่กระจายไปดินแดนรอบ ๆ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อเข้ามาถึงไทยคนอมจิน จึงถูกกร่อนเสียงเป็น “ขนมจีน”  ซึ่งแต่ละภาคก็เรียกขานกันไปต่าง ๆ นานา อย่างภาคเหนือก็จะเรียกว่า “ขนมเส้น” หรือ “ข้าวเส้น” ภาคอีสานเรียก “ข้าวปุ้น” หรือ “นมปั่นเจ๊าะ” (คล้ายกับที่เรียกในกัมพูชา) หรือในภาคใต้ที่เรียกกันว่า “โหน้มจีน” ตามการออกเสียงของคนในภูมิภาค

ลักษณะการกินขนมจีนของบ้านเราก็คือทานคู่กับน้ำยาและแกงต่าง ๆ คู่กับผักเคียง ในขณะที่เพื่อนบ้านเราก็จะทานต่าง ๆ กันไป

อย่างในเวียดนามเรียก “บุ๋น” ก็ทานคู่กับน้ำซุปหมูหรือเนื้อ ลาวเรียกว่า “ข้าวปุ้น” ทานกับน้ำยาปลา น้ำยาเป็ด หรือน้ำยาผสมเลือดหมู (เรียกน้ำแจ๋ว) ส่วนกัมพูชาเรียก “นมปันเจ๊าะ” ทานกับน้ำยาปลาร้า และพม่าที่ทานคล้าย ๆ ขนมจีนน้ำยาปลาบ้านเรา ใส่หยวกกล้วย แต่ไม่มีกะทิและกระชาย เรียกกันว่า “โมนฮีนกา”

ขนมจีนจึงไม่ได้มีที่มาจากของทานเล่นแต่อย่างใด ชาติกำเนิดของเขาคือเป็นอาหารคาวล้วน ๆ

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0