โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

“กอง High Yield”...ตั้งได้ ถ้ามี ‘ซัพพลาย’ มากเพียงพอ

Wealthy Thai

อัพเดต 17 ต.ค. 2562 เวลา 17.21 น. • เผยแพร่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 17.21 น. • wealthythai
“กอง High Yield”...ตั้งได้ ถ้ามี ‘ซัพพลาย’ มากเพียงพอ

“บาทแข็ง”…ทุบสถิติในรอบ 6 ปี เหตุผลสำคัญมาจากพื้นฐานที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยเอง ที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในเดือนก.ค. เกินดุลอยู่ 1,768 ล้านดอลลาร์

“มูลค่าคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชน (ณ 28 มิ.ย. 19) อยู่ที่ 3.9 ล้านล้านบาท มีหุ้นกู้กลุ่ม ‘High Yield’ ประมาณ 47,890 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% ของหุ้นกู้ทั้งหมด ถือว่า ‘น้อยมาก’

โอกาสที่จะเห็นการจัดตั้ง ‘กองทุน High Yield’ เพื่อเป็นอีกทางเลือกให้กับนักลงทุนไทยนั้น จึงไม่ง่ายนัก ด้วยบริบทแห่งสภาพแวดล้อมที่เป็นไปในปัจจุบัน
ทีมงาน ‘Wealthythai’ มีเรื่องราวที่น่าสนใจมาฝากกันเช่นเคย

 

 

“บาทแข็ง”…เพราะ ‘เงินต่างชาติไหลเข้า’ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

เวลามีข่าว ‘ค่าเงินบาท’ แข็งค่า มักจะมีคำอธิบายสุดฮิตหนึ่งตามมาด้วยเสมอๆ นั่น ก็คือ ‘เงินต่างชาติไหลเข้า’ ในเรื่องนี้ “พงค์ธาริน ทรัพยานนท์” หัวหน้าฝ่ายการลงทุน-ตราสารหนี้ บลจ.อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า เป็นเรื่องของความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่พอสมควร ในปีนี้ ‘ค่าเงินบาท’ เป็นสกุลเงินที่ outperform ในตลาดโลกเลยทีเดียว เหตุผลหนึ่งคือการสวอพจากเงินดอลลาร์ หรือเงินยูโรมาเป็นบาททำแล้วยังน่าลงทุนอยู่ ทำแล้วมี ‘พรีเมี่ยม’ แต่เหตุผลพื้นฐานจริงๆ ที่ทำให้ ‘ค่าเงินบาท’ แข็งมาจากปัจจัยพื้นฐานของไทยเอง ไม่ใช่เรื่องของ ‘เงินต่างชาติไหลเข้า’ แต่ประการใด

 

(พงค์ธาริน ทรัพยานนท์)

 

ในปีนี้ในภาพรวมตั้งแต่ต้นปีมา ‘เงินต่างชาติไหลออกสุทธิ’ ด้วยซ้ำ แต่เงินบาทก็ยัง ‘แข็งค่า’ ด้วยพื้นฐานของไทยเองที่มักจะมีการ ‘เกินดุลการค้า’ ทำให้เรา outperform ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ดุลการค้าของเราเป็นบวกตลอดเวลา ค่าเงินบาทจึงแข็ง ต่างชาติก็มอง ‘เงินบาท’ เป็น Safe Haven กว่าเงินสกุลอื่นๆ

 

 

“ทางแบงก์ชาติเองก็สนับสนุนให้เงินทุนเคลื่อนย้ายออกไปลงทุนในต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาท ก็เป็นจังหวะที่ดีในการกระจายการลงทุนไปในต่างประเทศของนักลงทุนไทย และเรามองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 2 ครั้งๆ ละ 0.25% ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ปัจจัยนี้ยังหนุนให้มีเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคตลาดเกิดใหม่ได้ และ ‘ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่’ ก็ยังคงน่าสนใจกว่า ‘ตราสารหนี้ตลาดพัฒนาแล้ว’ เช่นกัน”

 

 

ความรู้ความเข้าใจ “ผู้ออก-นักลงทุน”… โจทย์ยากตลาด ‘High Yield’

แนวโน้มดอกเบี้ยขาลง ในยุคดอกเบี้ยต่ำเช่นนี้ ในกลุ่มตราสารหนี้กลุ่ม ‘High Yield’ ที่มีอันดับเครดิต ‘ต่ำกว่า BBB-‘  ลงมาและ ‘Non-rated’ ก็เป็นอีกกลุ่มที่สามารถจะเพิ่มผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้ ซึ่งบางบลจ.เองก็มีแนวคิดที่จะไปค้นหาตราสารหนี้ในกลุ่ม High Yield นี้มาตอบโจทย์นักลงทุนเช่นกัน

 

           

ด้านพงค์ธาริน ยอมรับว่า ตราสารหนี้ในกลุ่ม High Yield เป็นตราสารที่สามารถลงทุนได้ ไม่ใช่เป็นตราสารที่ไม่ดีแต่ประการใด ในช่วงเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวก็มี ‘ความระมัดระวัง’ มากขึ้น เพราะผลกระทบในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมก็แตกต่างกันออกไป แต่ในช่วง ‘ดอกเบี้ยขาลง’ เช่นนี้ก็เป็นจังหวะที่ดีสำหรับบางบริษัทที่สามารถจะบริหารจัดการต้นทุนเงินกู้ของตัวเองได้เช่นกัน แต่คงไม่ใช่ทุกแห่ง หากสามารถ ‘กู้ใหม่’ ด้วยดอกเบี้ยที่ถูกลงเพื่อนำมา refinance ‘หนี้เดิม’ ที่ดอกเบี้ยสูงกว่า อย่างนี้ ‘ต้นทุนการเงิน’ ของบริษัทก็จะดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมของบริษัทดูดีขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นคงไปเหมารวมไม่ได้ว่าเศรษฐกิจไม่ดีแล้วหุ้นกู้บริษัทเหล่านี้จะต้องแย่ไปหมด อาจจะดีก็ได้ ถ้าบริหารเป็น เป็นต้น
“แต่ประเด็นความยากในกลุ่ม High Yield ในการออกหุ้นกู้ขาย เป็นเรื่องของความรู้ความเข้าใจ ทั้งฝั่ง ‘ผู้ออก’ และ ‘ผู้ซื้อ’ ถ้าทำหุ้นกู้มาแล้วต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงกว่า ‘กู้แบงก์’ เขาไปกู้แบงก์ไม่ดีกว่าหรือ เราไม่ต้องพูดถึงบริษัทขนาดใหญ่ที่เครดิตดีๆ เขาสามารถกู้แบงก์ได้ด้วยต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าบริษัททั่วไปอยู่แล้ว”
ฝั่ง ‘ผู้ลงทุน’ เองก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้น มีหุ้นกู้กลุ่ม ‘High Yield’  ออกมา เทติ้งต่ำกว่า BBB- ให้ผลตอบแทนสูง ก็ไปมองว่า ‘ไม่ดี’ เสี่ยงสูง ไม่น่าลงทุน แบบนี้ ‘ตลาดก็ไม่เกิด’ ออกมาก็ไม่มีใครซื้อ หรือถ้าต้องออกด้วยต้นทุนที่สูงกว่ากู้แบงก์ ใครจะมาออก

 

 

แม้มีแนวคิดว่า ควรให้นักลงทุนสถาบันอย่าง ‘กองทุนรวม’ เป็นผู้ที่จัดตั้งกองทุนเพื่อเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้กลุ่ม ‘High Yield’ แทนนักลงทุน เพราะผู้จัดการกองทุนมีความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ตราสารเพื่อลงทุนอยู่แล้ว ส่วนนักลงทุนทั่วไปก็ค่อยมาลงทุนผ่านกองทุนแทน พงค์ธาริน มองว่า ในไทยทำได้ยาก หนึ่งคือความรู้ความเข้าใจทั้งของ ‘ผู้ออก’ และ‘นักลงทุน’ เอง ที่สำคัญ คือ ตลาดมีซัพพลาย ‘ไม่เพียงพอ’ ที่จะทำให้จัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อเข้าไปลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย แต่ถ้ากระจายไปลงทุนเพียงบางส่วนยังสามารถทำได้
สำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจ และรับความเสี่ยงได้สูง กลุ่มกองทุน ‘Global High Yield’ น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ไม่มากก็น้อย ในขณะที่ ‘ตลาด High Yield’ ในไทยยังค่อนข้างจำกัดในปัจจุบัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0