โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘Smugsolation’ คำศัพท์ใหม่ที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำของการกักตัวในช่วงวิกฤตโควิด-19

becommon.co

อัพเดต 07 เม.ย. 2563 เวลา 16.42 น. • เผยแพร่ 07 เม.ย. 2563 เวลา 09.37 น. • common: Knowledge, Attitude, make it Simple
‘Smugsolation’ คำศัพท์ใหม่ที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำของการกักตัวในช่วงวิกฤตโควิด-19

ในช่วงเวลาที่โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก นอกจากจะได้เห็นวิถีชีวิตผู้คนที่เปลี่ยนไปจากเดิม

ยังมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลายคำให้เราได้เรียนรู้ 

หนึ่งในคำที่ในเห็นได้บ่อยในโลกอินเทอร์เน็ตยามนี้คือ คำว่า ‘smugsolation’ 

คำว่า smugมีความหมายว่า อิ่มอกอิ่มใจ สบายใจ หรือพึงพอใจ เมื่อมารวมกับคำว่า isolationที่แปลว่า  การแยกออก หรือ โดดเดี่ยว

เมื่อ 2 คำนี้มารวมกัน จึงเป็นการอธิบายการใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน พร้อมโพสต์ภาพการใช้ชีวิตอย่างสบายอกสบายใจลงในโซเชียลมีเดียและกลายเป็นเทรนด์ฮิตในช่วงนี้ 

เคนดัลล์ เจนเนอร์ เซเลบริตี้สาวถ่ายภาพดูดาวเสาร์จากสวนหลังบ้าน (photo: https://www.instagram.com/kendalljenner)
เคนดัลล์ เจนเนอร์ เซเลบริตี้สาวถ่ายภาพดูดาวเสาร์จากสวนหลังบ้าน (photo: https://www.instagram.com/kendalljenner)

เช่นเหล่าดารา ซูเปอร์สตาร์ อินฟลูเอนเซอร์ระดับฮอลลีวูด รวมทั้งบล็อกเกอร์คนดังหลายคนที่ลุกมาโชว์ภาพเพนท์เฮ้าส์สุดหรู วิลล่า หรือแมนชั่นยักษ์ใหญ่ พร้อมวิวสวยๆ 

บางคนลุกขึ้นมาเข้าครัวและปรุงอาหารด้วยเนื้อวากิวหรือวัตถุดิบแสนแพง

เลดี้กาก้าโชว์แฟชั่นอยู่บ้านกับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด (photo: https://www.instagram.com/ladygaga)
เลดี้กาก้าโชว์แฟชั่นอยู่บ้านกับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด (photo: https://www.instagram.com/ladygaga)

ปรากฏการณ์นี้มีฟีดแบคหลากหลายมุมมอง 

สำหรับแฟนๆ ของเหล่าคนดังอาจถือเป็นโอกาสดีที่ได้เห็นบ้านของดารา นักแสดง หรือนักร้องที่พวกเขารัก ซึ่งมีครบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นฟิตเนส มุมกาแฟ สระว่ายน้ำ ห้องสมุด และยังได้ดูไลฟสไตล์หรือกิจกรรมที่ไม่เคยได้เห็นในยามปกติ  

ในขณะที่หลายคนลุกขึ้นมาเรียกร้องว่า อยากให้เหล่าคนดังลด ละ เลิกพฤติกรรม smugsolation ซึ่งแสดงถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมผ่านโลกโซเชียล

เพราะไม่ใช่ทุกคนที่มีบ้านหลังใหญ่ให้ทำกิจกรรมหรือแม้แต่นั่งห่างกันเพื่อรักษาระยะห่าง หลายคนต้องอาศัยอยู่ในแฟลตหรืออพาร์ทเมนต์ที่แออัด ไม่มีเน็ตฟลิกซ์ให้เปิดดูแก้เหงา และอีกหลายคนที่ต้องตกงาน ไม่มีแม้แต่เงินจ่ายค่าไฟ

ภาพมุมสูงของสลัมธาราวี (photo: Indranil Mukherjee / AFP)
ภาพมุมสูงของสลัมธาราวี (photo: Indranil Mukherjee / AFP)

เช่นในสลัมธาราวี (Dharavi) ชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย 

ที่นี่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าประชากรอังกฤษรวมกันทั้งประเทศ 

(photo: STR / AFP)
(photo: STR / AFP)

ในพื้นที่ 3,800 ไร่ เป็นที่ตั้งของบ้านประมาณ 300 หลังคาเรือน ร้านค้าอีกกว่า 90 แห่ง และโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงานอีกหลายแห่ง คล้ายเป็นเมืองขนาดย่อม

บ้านพักในสลัมธาราวีส่วนใหญ่เป็นเพิงหรือห้องพักเล็กๆ ที่อยู่กันมาหลายชั่วอายุคน มีค่าเช่าขั้นต่ำอยู่ที่ราวๆ 150 –1,000 บาทต่อเดือน 

(photo: Indranil Mukherjee / AFP)
(photo: Indranil Mukherjee / AFP)

แม้ว่าทางรัฐบาลอินเดียพยายามป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสในชุมชนนี้อย่างสุดกำลัง 

เพราะในสลัมธาราวีมีพื้นที่ใช้สอยเพียงคนละราวๆ2 ตารางเมตรซึ่งอาจไม่เอื้ออำนวยให้ผู้คนทำ social distancing หรือกักตัวอยู่บ้านคนเดียว 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ isolation gap ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ชัดเจนมากขึ้น

อ้างอิง

  • Krishna Thevar.Pune woman’s death due to COVID-19 puzzles authorities.https://bit.ly/2JGIFcT
  • Marie-Claire Chappet. Please stop the ‘Smugsolation’: The boastful new social media trend that sees people flaunting their quarantine privilege.https://bit.ly/2XaDQAo
  • Aljazeera.com/.Concerns after Mumbai’s Dharavi slum reports COVID-19 cases.https://bit.ly/2x4h968
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0