โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘อี-วอลเล็ต’ กระเป๋าเงิน ‘คนรุ่นใหม่’ ฉลาดใช้เงิน

The Bangkok Insight

อัพเดต 11 ต.ค. 2562 เวลา 08.53 น. • เผยแพร่ 13 ต.ค. 2562 เวลา 01.30 น. • The Bangkok Insight
‘อี-วอลเล็ต’ กระเป๋าเงิน ‘คนรุ่นใหม่’ ฉลาดใช้เงิน

คนรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Gen Z หรือ มิลเลนเนียล ย่อมมีความได้เปรียบและปรับตัวรับกับอะไรใหม่ ๆ ได้รวดเร็วกว่าคนรุ่นก่อน ๆ ที่ยังมีความกังวล รู้สึกไม่ปลอดภัย และคุ้นชินกับช่องทางการใช้จ่ายเดิมๆ

ข้อมูลจากทรูมันนี่ วอลเล็ท พบว่า วันนี้คนกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงานและคนทำงานรุ่นใหม่ช่วงอายุ 22 – 29 เริ่มเข้ามาเป็นผู้ใช้ที่มีสัดส่วนมากที่สุดที่ 29% โดยผู้ใช้กลุ่มนี้ใช้ อี-วอลเล็ต (e-Wallet) ชำระสินค้าและบริการต่าง ๆ ทุกวัน เฉลี่ยเดือนละ 9 ครั้ง/คน และมียอดการใช้จ่ายราว 300 กว่าบาทต่อหนึ่งบิล อีกทั้งมีแนวโน้มการใช้งานในปริมาณที่มากขึ้นเพิ่มตามจำนวนจุดรับชำระที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า อี-วอลเล็ต กำลังเติบโตท่ามกลางไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าอี-วอลเล็ต สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการจับจ่ายในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ และต่อยอดการใช้งานเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นทำงาน

นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้อี-วอลเล็ต กลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน หรือ first jobber และคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 22 – 29 ปี แบ่งเป็นผู้หญิง 46% และผู้ชาย 54% โดยพื้นที่ที่คนกลุ่มนี้ใช้งาน อี-วอลเล็ต มากที่สุดส่วนใหญ่ยังเป็นในกรุงเทพฯ รองมาคือจังหวัดชลบุรี และเชียงใหม่ โดยเติมเงินเฉลี่ยเดือนละ 6 ครั้ง และช่องทางที่ใช้เติมเงินมากที่สุดคือ 1. ไอ-แบงกิ้ง 2. ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น 3. บัตรเดบิต

สำหรับบริการหลักที่กลุ่มวัยเริ่มทำงานใช้ อี-วอลเล็ต ได้แก่ 1. การเติมเงินและซื้อแพ็กเกจมือถือ 2. การซื้อดิจิทัล คอนเทนต์ 3. ใช้จ่ายในส่วนของเซเว่น-อีเลฟเว่น 4. การจ่ายบิล และ 5. การโอนเงินให้คนอื่น ซึ่งช่องทางใช้จ่ายออนไลน์ยอดนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ กูเกิล เพย์ สโตร์, เอ็มโอแอล และเน็ตฟลิกซ์ ขณะที่ร้านค้าออฟไลน์ยอดนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น แมคโคร และเมเจอร์

ทรูมันนี่ หนึ่งในผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีเคล็ด (ไม่) ลับ สำหรับการใช้ อี-วอลเล็ตเพื่อสร้างวินัยการใช้เงินอย่างชาญฉลาดผูกกับไลฟ์สไตล์การทำงานของกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน มาแนะนำดังนี้

1.ใช้ อี-วอลเล็ตเพื่อป้องกันการใช้เงินเกินตัวและสร้างวินัยทางการเงิน เพียงกำหนดวงเงินที่ต้องใช้จ่ายประจำ หรือเติมเงินเท่าจำนวนที่ต้องการจ่ายจริงในเดือนนั้น ๆ อาจโอนเงินเข้าตามจำนวนที่ต้องการใช้จริงต่อเดือนไว้ในแอปฯ หรือกำหนดจำนวนที่อยากใช้เมื่อผูกกับบัญชีบัตรอื่น ๆ จะช่วยให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะจ่ายบิล ค่าน้ำ ค่าไฟ โอนให้คุณพ่อคุณแม่แต่ละเดือน โดยในแอปฯ อี-วอลเล็ตนั้น สามารถย้อนมาดูรายการใช้จ่ายได้

2. ใช้ อี-วอลเล็ตเป็นผู้ช่วยทำบัญชีรับ-จ่าย เพื่อสร้างวินัยการเงินในยุคดิจิทัล เช่น สรุปการใช้เงินในสัปดาห์นี้หรือเดือนนี้ว่าใช้ไปกับอะไรบ้าง มีรายจ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นบ้าง เช่น ดูหนังหรือกินข้าวนอกบ้านบ่อยไปไหม เพื่อวางแผนการใช้จ่ายต่อไป และหักเงินออมเก็บไว้

3. ใช้ อี-วอลเล็ต เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเริ่มชีวิตทำงาน ด้วยนวัตกรรมทางการเงินในวันนี้ช่วยทำให้ทุกคนสร้าง เวอร์ชวล การ์ด รูปแบบใหม่ เพื่อเข้าถึงแหล่งรวมดิจิทัลคอนเทนต์หาความรู้เพิ่มเติม ซื้อแอปพลิเคชั่น หรือดิจิทัลคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่เสริมการทำงานได้ เพียงผูกบัญชีเข้ากับ แอปสโตร์ หรือ กูเกิล เพย์ สโตร์ อีกทั้งช่วยประหยัดเวลาด้วย

4. ใช้ อี-วอลเล็ต เพิ่มมูลค่าจากการใช้จ่าย สิทธิพิเศษจากผู้ให้บริการหรือร้านค้ามีมาเรื่อยๆ ใน อี-วอลเล็ต เพียงหมั่นตรวจสอบโปรโมชั่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับเงินคืนหรือการสะสมแต้มที่ควรได้รับ รวมทั้งดีลส่วนลด หรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ

ทั้งหมดเป็นเเนวทางการใช้งาน อี-วอลเล็ต ง่าย ๆ ของคนรุ่นใหม่ ที่ตอกย้ำการเป็นผู้ช่วยเรื่องการใช้จ่ายได้จริงกับชีวิตในวัยเริ่มต้นทำงาน เพื่อดูแลค่าใช้จ่ายตนเอง ไม่รบกวนผู้ปกครองเวลาออกมาเผชิญกับโลกการทำงานจริง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำงานมีเงินแล้วและสร้างวินัยการใช้เงิน รวมถึงวินัยการใช้เทคโนโลยีทางการเงิน ก็จะทำให้ อี-วอลเล็ต สามารถเป็นผู้ช่วยของวัยเริ่มทำงานได้อย่างแท้จริง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0