โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘หุ้น-ค่าบาท’ มีแนวโน้มฟื้นตัว จากมาตรการผ่อนคลาย

Businesstoday

เผยแพร่ 30 พ.ค. 2563 เวลา 07.23 น. • Businesstoday
‘หุ้น-ค่าบาท’ มีแนวโน้มฟื้นตัว จากมาตรการผ่อนคลาย

"หุ้น-ค่าเงินบาท"มีแนวโน้มฟื้นตัวในสัปดาห์หน้า รับมาตรการระยะ 3 ที่เริ่มบังคับใช้ ขณะที่ความตึงเครียดสหรัฐ-จีน ยังกดดันตลาด

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยจำกัดมองว่าในสัปดาห์ถัดไป(1-5 มิ..) ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่1,320 และ1,300 จุดขณะที่แนวต้านอยู่ที่1,355 และ1,380 จุดตามลำดับ

ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามได้แก่อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.. ของไทยสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศรวมถึงสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญได้แก่ดัชนีPMI ภาคการผลิต-บริการตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนพ.. ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆได้แก่การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปรวมถึงดัชนีPMI เดือนพ..ของยูโรโซนและจีน

หุ้นไทยปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อนโดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,342.85 จุด เพิ่มขึ้น 2.98% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 77,688.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.22% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 4.09% จากสัปดาห์ก่อน มาปิดที่ 284.87 จุด   

หุ้นไทยปรับตัวขึ้นช่วงต้น-กลางสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนจากการคลายล็อกเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนรักษาไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ดี หุ้นไทยย่อตัวลงในเวลาต่อมา หลังสถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง เมื่อทางการจีนมีมติเห็นชอบบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ในฮ่องกง ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ การพิจารณาปลดล็อกกิจกรรม/กิจการในประเทศระยะ 3 มีส่วนช่วยหนุนหุ้นไทยให้ปรับตัวขึ้นอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ 

สำหรับสัปดาห์ถัดไป(1-5 มิ..) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่31.70-32.10 บาทต่อดอลลาร์ฯโดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามได้แก่สัญญาณความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนรวมถึงสถานการณ์โควิด-19 และการปลดล็อกเศรษฐกิจในประเทศระยะที่3 ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญได้แก่ดัชนีPMI/ISM ภาคการผลิต-ภาคบริการตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.. รายจ่ายด้านการก่อสร้างยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนเม.. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

นอกจากนี้ตลาดอาจรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางยุโรปดัชนีPMI ภาคการผลิต-ภาคบริการเดือนพ.. ของจีนญี่ปุ่นและยูโรโซนและอัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนพ.. ด้วยเช่นกัน

เงินบาททยอยแข็งค่า หลังขยับอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางท่าทีที่ตึงเครียดมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยฟื้นตัวขึ้นในช่วงต่อมา โดยมีแรงหนุนจากทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้นรับข่าวการพัฒนาวัคซีนรักษาโควิด-19 และการทยอยปลดล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ (รวมไทย) ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทชะลอลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดรอติดตามแนวนโยบายของสหรัฐฯ ต่อกรณีที่จีนประกาศบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ในฮ่องกง 

ในวันศุกร์ (29 พ.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.81 เทียบกับระดับ 31.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (22 พ.ค.)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0