โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘หมอชนะ’ แอปบันทึกประวัติ ประเมินความเสี่ยง และแจ้งเตือนหากผู้ใช้มีความเสี่ยงโควิด-19 เพิ่มขึ้น

The Momentum

อัพเดต 10 เม.ย. 2563 เวลา 05.06 น. • เผยแพร่ 10 เม.ย. 2563 เวลา 05.06 น. • THE MOMENTUM TEAM

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 เวลาประมาณ 9.00 น. ภาคเอกชนและภาครัฐบาลได้ร่วมกันเปิดตัวแอปพลิเคชัน ‘หมอชนะ’ สำหรับติดตามประวัติของผู้ใช้โดยจะมีการประเมินออกความเสี่ยงของผู้ใช้ออกมาเป็นสี เพื่อช่วยเก็บข้อมูลของผู้ป่วย และช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษา ควบคุม และป้องกันตัวเองจากโควิด-19

ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล เริ่มต้นว่า ‘หมอชนะ’ เกิดจากความเห็นใจบุคลากรทางการแพทย์ ที่บางครั้งตกอยู่ในความเสี่ยงเพราะไม่สามารถสืบประวัติผู้ป่วยได้ รวมถึงต้องการให้ประชาชนที่ใช้แอป ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงของตัวเอง และสามารถเข้าถึงการรักษาได้รวดเร็วขึ้น 

สุทธิพงศ์ กนกากร กล่าวว่า กลุ่มผู้จัดทำให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระบบจะใช้เพียงรูปถ่าย เพื่อลงทะเบียน โดยรูปถ่ายดังกล่าวจะไม่ถูกเก็บเข้าส่วนกลาง และอยู่ในระบบเพียงแค่ 30 วันเท่านั้น 

ทั้งนี้ ความปลอดภัยของข้อมูลดังกล่าวจะมีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วนทั้ง บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัคร และภาคเอกชน คอยดูแลกำกับในเรื่องความปลอดภัยร่วมกันทั้งหมด 9 คน  โดยแอปพลิเคชันจะใช้ระบบ GPS ควบคู่ไปกับ Bluetooth เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ใช้บริการทั้งใกล้และไกล และจะมีการแจ้งเตือนเข้ามาหากผู้ใช้แอพ มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้มีความเสี่ยง 

ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ กล่าวว่า ระบบมีการกำหนดความเสี่ยงด้วยสีต่างๆ แบ่งเป็นเขียว เหลือง ส้ม แดง โดย

  • สีเขียว เป็นบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงต่ำและไม่มีประวัติเสี่ยง 
  • สีเหลือง กลุ่มมีความเสี่ยงน้อย อาจจะมีอาการไข้หวัด แต่ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศหรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา 
  • สีส้ม กลุ่มที่มีประวัติใกล้ชิดผู้ติดเชื้อหรือเดินทางไปต่างประเทศในช่วง 14 วันที่ผ่านมา แต่อาจไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก โดยกลุ่มนี้ควรต้องกักตัว
  • สีแดง เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก มีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อและมีอาการชัดเจน ซึ่งกลุ่มนี้ควรไปโรงพยาบาลในทันที

กรมควบคุมโรคจะมาช่วยระบุว่าคนกลุ่มไหนอยู่ความเสี่ยงตรงไหน ซึ่งจะทำให้คนกลุ่มเขียว เหลือง สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ และคนที่อยู่ในกลุ่มสีส้ม สีแดง จะได้รู้ตัวและเข้ารับการรักษาทันท่วงที

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ความตั้งใจในการทำแอปพลิเคชันครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นจากภาคประชาชน แต่ภาครัฐเข้ามาเผื่อผสานความร่วมมือ เขายืนยันว่า ข้อมูลจะไม่มีการเผยแพร่หรือส่งต่อเด็ดขาด โดยจะมีคณะกรรมการคอยดูแลกำกับในเรื่องความปลอดภัยตรงนี้ 

พุทธิพงษ์ ชี้ว่า เมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการแพร่ระบาด ก็มีการใช้ระบบการสอบถามทุกเช้า กลางวัน เย็นทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยง และช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ และที่สำคัญ ภาครัฐขอชวนให้ประชาชนเข้ามาใช้แอปพลิเคชันนี้กันให้มากที่สุด เพื่อให้ระบบส่งประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ แอปนี้อาจจะช่วยให้สังคมสามารถกลับมามีชีวิตปกติได้ และอาจช่วยการทำงานภาครัฐในทุกส่วน รวมถึงการตั้งด่าน 

สุทธิพงศ์ กล่าวว่า ระบบจะส่งข้อมูลเข้าไปที่ระบบ DDC iLab ของกรมควบคุมโรค และใช้ AI ควบคู่กับศาสตร์ระบาดวิทยาเพื่อทำการประเมินความเสี่ยงของผู้ใช้แอป โดยจะมีระบบการค้นหาและอัปเดตรายชื่อข้อมูลผู้ติดเชื้อทุกวัน และจะมีการแจ้งเตือนไปหาผู้ใช้บริการที่อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อาทิ สัมผัสกับผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัว

ส่วนเรื่อง การกรอกข้อมูลเท็จ การประเมินแบบสอบถามอาจจะผิดพลาดได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลจะจดจำข้อมูลอีกส่วนคือ ข้อมูลพฤติกรรม ซึ่งจะช่วยยืนยันความถูกต้องของข้อมูลได้มากกว่า และถ้าผู้ใช้แอปยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่จะมีบุคลากรทางการแพทย์โทรติดต่อเข้ามา 

ทั้งนี้ แอปพลิเคชันสามารถโหลดมาใช้ได้แล้วทาง App Storeและ Google payโดยเมื่อโหลดมาแล้วให้ดำเนินตามขั้นตอนเบื้องต้นคือ ลงทะเบียน ยอมรับข้อตกลง ยืนยันตัวตน ใส่รูปตัวเอง และผู้ใช้แอปประเมินแบบสอบถามในท้ายสุด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0