โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘มิเตอร์ 5 แอมป์’ ใช้อะไรได้บ้าง? แล้วเช็ค 'ขนาดมิเตอร์' ที่ตรงไหน!?

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 08 เม.ย. 2563 เวลา 18.00 น.

หลังจากรัฐบาลมีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019 หรือ  "โควิด-19" ออกมาหลายมาตรการครอบคุลมประชาชนทุกกลุ่มอย่างในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าก็มีมาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่เปิดให้ลงทะเยียนละเริ่มจ่ายเงินคืนแล้ว

ล่าสุดก็คลอด "มาตรการช่วยเหลือสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า" ออกมาอีกก็คือ

1.มาตรการค่าไฟฟ้าฟรีกับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน5 แอมป์จากเดิม50 หน่วยเป็น90 หน่วย

2.ขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน5 แอมป์ เป็นระยะเวลาไม่เกิน6 เดือน

มีสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ไฟฟ้าหลายคนเกิดคำถามว่าบ้านของตัวเองติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาดกี่แอมป์? สามารถตรวจสอบได้จากตรงไหนบ้าง"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเรื่องมิเตอร์ไฟฟ้าไว้ดังนี้

ขอเริ่มที่ประเด็น  "การดูขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าว่ามีกี่แอมป์"  ก่อนอื่นเราคงต้องรู้ก่อนว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านเราคืออันไหนบนเสาไฟฟ้าด้วยการหยิบบิลค่าไฟฟ้าที่ได้มาทุกๆเดือนจะมีช่องหนึ่งที่เขียนว่า "รหัสเครื่องวัด"(รูปด้านล่าง) เพื่อนำรหัสนี้ไปหามิเตอร์ของบ้านตนเองก่อน

   

158634056574
158634056574

หลังจากนั้นเมื่อเจอมิเตอร์แล้วให้สังเกตตัวเลขในในช่องบนมิเตอร์เช่น5(15) A หมายความว่าเป็นมิเตอร์ขนาด5 แอมป์สามารถใช้ไฟได้มากถึง15 แอมป์ซึ่งก็จะตรงกับมาตรการค่าไฟฟ้าฟรีสำหรับประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน5 แอมป์นั่นเอง

    

158634397210
158634397210

แต่ความจริงแล้วมิเตอร์มีหลายขนาด(ตามตารางด้านล่าง) และผู้ใช้ไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะกับบ้านและการใช้งาน

โดย ขนาดมิเตอร์ที่เล็กที่สุดที่เมื่อเวลาไปขอใช้บริการไฟฟ้ากับผู้ให้บริการไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) หรือการไฟฟ้านครหลวง(กปน.) นั้นมักจะได้ขนาด5(15) มาเบื้องต้น

แต่หากคำนวณถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะมีมากขึ้นในอนาคตก็สามารถติดต่อขอเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าได้แต่จะต้องเสียค่าเงินประกันและค่าบริการขอใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วยรวมถึงจะต้องยอมรับว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้นจะแปรผันไปตามขนาดปริมาณไฟฟ้าที่ขอใช้เช่นกัน

ทั้งนี้หากเลือกมิเตอร์ที่มีขนาดเล็กเกินไปจะทำให้เครื่องไฟฟ้าไม่สามารถทำงานได้แต่หากเลือกขนาดใหญ่เกินความเหมาะสมก็จะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

ยกตัวอย่างเช่นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอโคกสำโรงจังหวัดลพบุรีได้อธิบายว่าทำไมมิเตอร์5 แอมป์ถึงเปิดแอร์2 เครื่องพร้อมกันไม่ได้ ไว้ว่า

เนื่องจากมิเตอร์มีขนาดเล็กเกินไปและอาจทำให้ไฟฟ้าดับทั้งบ้านหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ปกติมิเตอร์ไฟที่การไฟฟ้ามาติดตั้งให้จะกำหนดขนาดการใช้กระแสไฟประมาณ5 แอมป์และจะเผื่อการใช้งานไว้อีก3 เท่าแต่เครื่องปรับอากาศที่ซื้อมาเพิ่มเติมภายหลังใช้กระแสไฟฟ้าเกิน15 แอมป์ที่เผื่อไว้

ดังนั้นถ้าจะเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ2 เครื่องพร้อมกันให้ติดต่อที่การไฟฟ้าเพื่อขอเปลี่ยนมอเตอร์ไฟเป็นขนาด15 แอมป์จะปลอดภัยกว่าแต่เจ้าของบ้านต้องเสียค่าใช้จ่ายเองในส่วนนี้

  • แล้วมิเตอร์ขนาด5 แอมป์จะสามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรได้บ้าง?

เราสามารถคำนวณเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองเพื่อคำนวณกระแสไฟฟ้าโดยนำกำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น(วัตต์) ซึ่งสามารถดูได้จากฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้าหารด้วยความต่างศักย์(โวลต์) และคูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นและนำกระไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกรวมกันและคูณด้วย1.25 เพื่อเผื่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคตด้วย

ยกตัวอย่างเช่นในบ้านมีพัดลมตั้งพื้น75 วัตต์จำนวน2 ตัวคิดเป็นกระแสไฟฟ้า75/220x2 เท่ากับ0.68 แอมป์รวมถึงมีหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์36 วัตต์จำนวน6 หลอดคิดเป็นกระแสไฟฟ้า36/220x6 เท่ากับ0.98 แอมป์, แอร์1,000 วัตต์คิดเป็นกระแสไฟฟ้า1,000/220 เท่ากับ4.54 แอมป์, หม้อหุงข้าว500 วัตต์คิดเป็นกระแสไฟฟ้า500/220 เท่ากับ2.27 แอมป์, เตารีด430 วัตต์คิดเป็นกระแสไฟฟ้า430/220 เท่ากับ1.95 แอมป์มีโทรทัศน์43 วัตต์คิดเป็นกระแสไฟฟ้า43/220 เท่ากับราว0.2 แอมป์และตู้เย็น70 วัตต์คิดเป็นกระแสไฟฟ้า70/220 เท่ากับ0.32

หากนำกระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดมารวมกันจะได้เท่ากับ10.94 แอมป์แล้วนำมาคูณด้วย1.25 เผื่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคตจะได้ประมาณ13.68 แอมป์(ทั้งนี้เป็นการคำนวณเบื้องต้นอย่างคร่าวๆอาจมีการการเปลี่ยนแปลงตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า)

แน่นอนว่ายังไม่เกิน15 แอมป์แต่หากในอนาคตมีการเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มเข้ามาอาจต้องเปลี่ยนมิเตอร์ให้เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นด้วยเพื่อความปลอดภัย

ที่มา: peapea(2), tpafacebook

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0