โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

'ไอ้ไข่ วัดเจดีย์' วัตถุมงคลของชาวนครศรี ขออะไรได้ทุกอย่าง

Spiceee.net

เผยแพร่ 21 ก.พ. 2563 เวลา 01.00 น. • Sujate Wanchat
www.facebook.com
www.facebook.com

ศาสนา ความเชื่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมไทยมานานในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แม้เมืองไทยเราจะเป็นเมืองพุทธ แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะเชื่อทุกอย่างเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ มั่นใจว่าหากเลือกที่จะกราบไหว้บูชาแล้วจะบันดาลมาแต่โชคลาภและสิ่งดีๆ ในชีวิต เช่นเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราจะพาทุกคนมารู้จักในวันนี้ ซึ่งก็คือ 'ไอ้ไข่ วัดเจดีย์' สิ่งศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่เมืองนครศรีธรรมราชที่มีผู้คนให้ความศรัทธากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมากจากทั่วประเทศ ไอ้ไข่ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงได้รับความศรัทธามากมายขนาดนี้ ใครอยากรู้ต้องลองมาหาคำตอบกัน

www.facebook.com
www.facebook.com

#1. ตำนานไอ้ไข่

www.facebook.com
www.facebook.com

ว่ากันว่า ไอ้ไข่ คือดวงวิญญาณเด็กอายุประมาณ 9-10 ขวบที่เลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่ทวดเกจิชื่อดังสายปักษ์ใต้ในสมัยก่อน และได้ติดตามหลวงปู่ทวดไปทุกที่ที่ท่านธุดงไป ครั้งหนึ่งหลวงปู่ทวดปักกลดนั่งปฏิบัติอยู่บริเวณที่เป็นวัดเจดีย์ในปัจจุบัน ท่านนั่งสมาธิเห็นว่าบริเวณนี้เป็นสถานที่เก่าแก่ที่มีทรัพย์สมบัติของแผ่นดินอยู่เป็นจำนวนมาก จึงขอให้ไอ้ไข่เลิกติดตาม และเป็นวิญญาณอยู่เฝ้าสมบัติของแผ่นดินที่นี่ และบริเวณนี้ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "หมู่บ้านโพธิ์สมเด็จ" จวบจนปัจจุบัน

#2. ลักษณะของ "ไอ้ไข่ วัดเจดีย์" ที่ผู้คนกราบไหว้

www.facebook.com
www.facebook.com

จริงๆ แล้ว "ไอ้ไข่ วัดเจดีย์" เป็นเพียงไม้แกะสลักรูปเด็กชายวัยประมาณ 9-10 ขวบ ตั้งอยู่ที่วัดเจดีย์ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ขึ้นชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านมาขออะไรก็มักจะประสบความสำเร็จดั่งตั้งใจเสมอ ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศจวบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องโชคลาภและการค้าขาย ผู้คนบอกเล่ากันปากต่อปากว่า ไอ้ไข่ "ขอได้ไหว้รับ" ตอนนี้จึงมีผู้คนทั่วสารทิศต่างมาขอพรกันอย่างล้นหลาม

#3. ประวัติการสร้างไม้แกะสลัก "ไอ้ไข่ วัดเจดีย์"

www.facebook.com
www.facebook.com

บริเวณวัดเจดีย์ ที่อยู่ของรูปไม้แกะสลักไอ้ไข่ในปัจจุบันนั้นแต่เดิมเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี แต่เพิ่งได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2500 สมัยก่อนเป็นที่ทราบกันดีว่าหากใครเดินทางมากพักบริเวณนี้โดยไม่ขออนุญาตบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์จะต้องถูกรบกวนโดยวิญญาณเด็กจนไม่เป็นอันได้หลับนอน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2523 - 2524 อาจารย์เที่ยง หรือ ผู้ใหญ่เที่ยงได้มาเยือนที่นี่แล้วนิมิตเห็นเด็กชายวัยประมาณ 9-10 ขวบ เปลือยกายแก้ผ้ามาขอให้ท่านสร้างรูปสลักให้ เพื่อจะได้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งสักที ท่านจึงถามเด็กชายคนนั้นว่าชื่ออะไร คำตอบที่ได้รับก็คือ "ไอ้ไข่ วัดเจดีย์" หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอ้ไข่นั่นเอง

#4. ในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปีจะมีพิธีสรงน้ำไอ้ไข่

www.facebook.com
www.facebook.com

ตั้งแต่มีการสร้างรูปสลักไม้ไอ้ไข่วัดเจดีย์ ก็เริ่มมีชาวบ้านทยอยมากราบไหว้ขอพร ซึ่งผลที่ได้รับก็คือล้วนแล้วสมหวังตามที่ปรารถนาทุกประการ ชื่อเสียงของ ไอ้ไข่ จึงได้เริ่มกระจายไปเรื่อยๆ ผ่านการบอกเล่าปากต่อปากเป็นเวลาหลายสิบปี ทำให้ตอนนี้ ไอ้ไข่ กลายเป็นสิ่งศักดิ์ระดับต้นของไทยไปแล้ว มีผู้คนจากทั่วสารทิศ รวมถึงนักแสวงโชคมากมายต่างเดินทางมาขอพรกับไอ้ไข่ ซึ่งความศักสิทธิ์นั้นการันตีได้จากจำนวนรูปปั้นไก่ชนเล็กๆ เป็นจำนวนมาก และซากประทัดที่จุดแล้วกองเป็นพะเนิน โดยเฉพาะในช่วงวันสงกรานต์ หรือวันที่ 13-17 เมษายนของทุกปี ทางวัดจะมีการน้ำรูปสลักนี้มาประดิษฐานที่แท่นพิธีเพื่อให้ผู้คนที่ศรัทธาได้เข้ามาสรงน้ำ

#5. การขอพรกับ ไอ้ไข่ ให้ประสบความสำเร็จ

www.facebook.com
www.facebook.com

ว่ากันว่าไอ้ไข่เป็นเทพที่มีความซื่อสัตย์ "ขอให้ไหว้รับ" ใครที่มาขอแล้วสมหวังก็จงอย่าได้ลืมสัญญาที่บนบานไหว้แล้วชีวิตจะมีแต่ความโชคดีมีชัย การบูชา ไอ้ไข่ นั้นให้ใช้ธูป 3 ดอก บูชาบนได้ ไหว้รับ และเมื่อสมหวังก็ให้แก้บนด้วยของที่นำมาบนและจุดธูปเพียง 1 ดอกเท่านั้น สำหรับของที่ไอ้ไข่ชอบ ได้แก่ ขนมเปี๊ยะ น้ำแดง ชุดทหาร ตำรวจ ไก่ปูนปั้น หนังสติ๊ก และประทัด เป็นต้น

www.facebook.com
www.facebook.com

นี่ก็คือเรื่องราวที่น่าสนใจ และประวัติโดยย่อของ "ไอ้ไข่ วัดเจดีย์" สิ่งศักดิ์สิทธิ์เบอร์ต้นๆ ของไทยเวลานี้ ที่เราอยากจะมาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกัน หากใครเป็นสายมู เชื่อในเรื่องโชคดวงและสิ่งศักสิทธิ์ ถ้ามีเวลาว่างก็ไม่ควรพลาดที่จะไปขอพรกับไอ้ไข่ให้ได้สักครั้ง เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป

www.facebook.com
www.facebook.com
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0