โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ไทยกำลังเผชิญอัลนีโญ”กำลังอ่อน” คาดผลผลิตข้าวลด 1.7-5.5%

Money2Know

เผยแพร่ 21 ก.ค. 2562 เวลา 04.17 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
ไทยกำลังเผชิญอัลนีโญ”กำลังอ่อน” คาดผลผลิตข้าวลด 1.7-5.5%
ธปท.ประเมินผลกระทบจากภัยแล้ว จากปรากฏการณ์"อัลนีโญกำลังอ่อน" คาดกระทบผลผลิตข้าวลดลง 1.7% หากรุนแรงลุกลามทั่วประเทศ จะกระทบผลผลิตข้าวถึง 5.5% 

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานวิเคราะห์ "ผลของความแปรปรวนจากสภาพอากาศต่อภาคเกษตรไทย" ในรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือนมิ.ย. 2562 โดยประเมินผลกระทบภาคการเกษตรจากปรากฏการณ์"อัลนีโญกำลังอ่อน" มีประเด็นน่าสนใจดังนี้

ในปัจจุบันสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น สะท้อนจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (แล้ง)และลานีญา (น้ำท่วม) ที่เกิดถี่ขึ้น รวมถึงอุณหภูมิพื้นผิวโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเร่งสูงขึ้นมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

โดยเฉพาะช่วงปี 2558 - 2561 ซึ่งเป็นช่วงที่ภูมิอากาศโลกร้อนสูงสุดติดต่อกัน 4 ปี สำหรับปี 2561 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 4 นับตั้งแต่มีบันทึกอุณหภูมิโลกในปี 2423

ทั้งนี้ ความแปรปรวนจากสภาพอากาศที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรทั่วโลกรวมถึงไทยที่พึ่งพาสภาพอากาศค่อนข้างมาก

สภาพอากาศที่แปรปรวนรนุแรงขึ้นในระยะหลังส่งผลให้ผลผลติภาคเกษตรไทยเสียหายมากจากอุทกภัยช่วงปลายปี 2554 ที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง รวมถึงภัยแล้งที่รุนแรงและต่อเนื่องในช่วงปี 2558 -2559 ซึ่งเป็นวิกฤตที่รุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตภาคเกษตรไทยในปี 2558 หดตัวมากที่สุดในรอบ 10 ปี อาทิข้าว ผลไม้และปาล์มน้ำมัน ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในช่วงเวลาดังกล่าวส่งผลให้รายได้เกษตรกรในปี 2558 หดตัว

เหตุการณ์ดังกล่าวจึงสะท้อนว่าสภาพอากาศที่ผันผวนรุนแรงส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตรและรายได้เกษตรกร ดังนั้น การวิเคราะห์สถานการณ์สภาพอากาศจึงเป็นส่วนสำคัญในการประเมินสถานการณ์ของภาคเกษตรไทย

การวิเคราะห์สภาพอากาศในปัจจุบัน

เครื่องชี้สาคัญที่ใช้ประเมินและติดตามสภาพอากาศ ประกอบด้วยเครื่องชี้ใน 2 มิติ ดังนี้

ดัชนีบ่งชี้สภาพอากาศระดับภูมิภาคและโลก (Oceanic Niño Index: ONI) เป็นดัชนีชี้วัดโอกาสเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา ซึ่งปัจจุบันสะท้อนว่าโลกกาลังเกิดภาวะเอลนีโญกำลังอ่อน(Weak ElNiño) จากค่าดัชนีที่อยู่ในช่วงบวก 0.5 - 0.9 ติดต่อกันนานถึง 5 เดือน และมีความเป็นไปได้เกือบร้อยละ 60 ที่ภาวะเอลนีโญกำลังอ่อนจะดำเนินต่อเนื่องไปถึงต้นปี 2563 แม้ความรุนแรงอาจไม่เท่าช่วงปี 255-2559แต่สถานการณ์ในระยะต่อไปยังมีความไม่แน่นอนสูง

เครื่องชี้สภาพอากาศในระดับภูมิภาคของไทย ได้แก่ ปริมาณน้ำในเขื่อนและน้ำฝนสะสม ซึ่งปัจจุบันสะท้อนว่าปริมาณน้ำในเขื่อนยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แม้จะมีสัญญาณภัยแล้งจากฝนท่ีตกช้ากว่าปกติ รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วงหน้าแล้ง (เดือน พ.ย. - เม.ย.) ใกล้เคียงกับค่าปกติ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากภัยแล้งสูงกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนเหลืออยู่เพียงหนึ่งในสามของความจุ รวมท้ังปริมาณน้ำฝนสะสมในช่วงหน้าแล้งต่ำกว่าค่าปกติและระดับน้ำฝนในปี 2559 ซึ่งเคยเกิดภัยแล้งรุนแรง

สัดส่วนพื้นท่ีชลประทานต่อพื้นท่ีทั้งหมด ปี 2560
สัดส่วนพื้นท่ีชลประทานต่อพื้นท่ีทั้งหมด ปี 2560

นอกจากนี้ เขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ทำให้พิ้นที่ในเขตชลประทานครอบคลุมเพียงร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น

ความน่าจะเป็นในการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ
ความน่าจะเป็นในการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ

มองไปข้างหน้า แม้ว่าไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ภาวะเอลนีโญกำลังอ่อนมีโอกาสเกิดขึ้นต่อเนื่องไปอีกระยะ ปริมาณน้ำฝนจึงอาจมีแนวโน้มต่ำกว่าค่าปกติ และด้วยสถานการณ์ปริมาณน้าในเขื่อน ในปัจจุบันที่ต่ำกว่าปีก่อน ผลผลิตหลักภาคเกษตรที่เพาะปลูกในช่วงฤดูฝนจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบ

ผลกระทบต่อผลผลิตเกษตร

ภายใต้ความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่ยังไม่แน่นอน ประกอบกับช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเพาะปลูกข้าวนาปีซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรหลักของไทย บทความนี้จึงมุ่งประเมินผลกระทบของสภาพอากาศที่มีต่อผลผลิตข้าวนาปีที่ปลูกในปี 2562 โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติเพื่อ (1) ประมาณการผลผลิตต่อไร่ด้วยตัวแปรท่ีสะท้อนสภาพอากาศในมิติต่างๆ อาทิ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝนสะสม ปริมาณน้ำในเขื่อนที่ปล่อยในหน้าแล้ง และพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้ง (2) ประมาณการพื้นที่เก็บเกี่ยวโดยใช้ข้อมูลพื้นที่เก็บเกี่ยวในอดีต

องค์ประกอบของประมาณการผลผลิตข้าวนาปี ภายใต้ข้อสมมติภัยแล้ง
องค์ประกอบของประมาณการผลผลิตข้าวนาปี ภายใต้ข้อสมมติภัยแล้ง

ผลการศึกษาชี้ว่า ในกรณีสภาพอากาศปกติ ผลผลิตข้าวนาปีจะขยายตัวร้อยละ 6.5 โดยหากภัยแล้งเกิดขึ้น เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรณีที่ 1) ผลผลิตข้าวนาปีจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.7 จากพื้นที่เก็บเกี่ยวที่ขยายตัวน้อยลง และผลผลิตต่อไร่ที่หดตัวจากผลกระทบของภัยแล้งที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่

สาหรับกรณีที่สถานการณ์ภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรุนแรงขึ้น (กรณีที่ 2) หรือกรณีที่ภัยแล้งขยายวงกว้างไปภาคเหนือและกลางด้วย (กรณีที่ 3)จะส่งผลให้ผลผลิตข้าวนาปีหดตัวที่ร้อยละ 3.3 และ 5.5 ตามลำดับ จากการหดตัวทั้งผลผลิตต่อไร่และพื้นที่เก็บเกี่ยว

อย่างไรก็ดี กรณีศึกษานี้เป็นเพียงตัวอย่างของผลกระทบต่อข้าวนาปีเท่านั้น โดยยังไม่ครอบคลุมผลกระทบต่อพืชประเภทอื่น อาทิ ข้าวนาปรังและอ้อย ซึ่งอาจได้รับผลกระทบเช่นกันหากสถานการณ์ภัยแล้งขยายวงกว้างขึ้น

สถานการณ์ภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากน้ี การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศท่ีรุนแรง ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม รวมถึงความเสี่ยงของเกษตรกรด้านอื่นๆ อาทิ โรคในพืชและสัตว์ อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางเนื่องจากมีรายได้น้อยและมีภาระหนี้สูง

ดังนั้นภาครัฐต้องกาหนดแนวทางการแกป้ญัหาในระยะยาวโดยอาศัยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและจัดสรรให้เหมาะสมเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูกในภาคเกษตร รวมท้ังต้องเร่งเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้เกษตรกรซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบหลักให้สามารถอยู่รอดท่ามกลาง สภาพอากาศในปัจจุบันท่ีมีแนวโน้มผันผวนรุนแรงบ่อยครั้งขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0