โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

กีฬา

ไขสาเหตุ! ทำไม”โค้ชคนไทย”ถึงโดนดูถูกว่า “ไม่เก่ง”

ขอบสนาม

อัพเดต 15 ก.พ. 2561 เวลา 03.21 น. • เผยแพร่ 20 ก.ย 2562 เวลา 10.56 น. • ขอบสนาม
ไขสาเหตุ! ทำไม”โค้ชคนไทย”ถึงโดนดูถูกว่า “ไม่เก่ง”

ฟุตบอลไทยลีก เดินทางพัฒนาลีกมายาวนานเป็นเวลาครบ 10 ปี จากปี 2009 ที่เอเอฟซี ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างและจดทะเบียนเป็นบริษัทนิติบุคคล ส่งให้มีการแปรเปลี่ยนไปมากมาย

ทีมองค์กรค่อยๆล้มหายตายจากไป ทีละเล็กละน้อย หลังปรับตัวไม่ทันและมองว่าเงินที่ลงทุนไปไม่คุ้มค่า ผิดกับกลุ่มนักการเมืองที่ทยอยตอบเท้าเข้าสู่วงการฟุตบอลไทย

วัฒนธรรมที่เริ่มเปลี่ยนไป หลายๆทีมมองความสำเร็จระยะสั้น เป้าหมายแชมป์, อยู่รอดไทยลีก ติดหัวตาราง และคนที่แบกรับความกดดันก็คือโค้ช ซึ่งที่ผ่านๆมาหลายๆทีมมองหาและใช้บริการต่างชาติเป็นหลัก เพราะความเชื่อที่ว่า มืออาชีพกว่า, ประสบการณ์มีมากกว่า ซึ่งโค้ชไทยจึงมักได้รับความให้เคารพน้อยมาก

ยิ่งในยุคปัจจุบัน อัตราการเติบโตของการอบรมหลักสูตรโค้ชจากสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ มีเยอะมาก แต่ผลที่ตามมาคือมีคนที่จบมาว่างงาน และไม่สามารถนำไลเซนส์ไปต่อยอดได้อย่างที่ใครต่อใครวาดฝันไว้

ขอบสนามเจาะสาเหตุทำไมโค้ชคนไทยถึงได้รับความน่าเชื่อถือในการจ้างงานที่น้อยเกินไปในบอลไทยยุคสมัยใหม่

1.ไลเซนต์ไม่ได้การันตีความสำเร็จ

ฟุตบอลไทยในอดีตไม่ได้เติบโตเป็นระบบเยาวชน แต่มีพื้นฐานมาจากทีมโรงเรียน และโค้ชที่ทำการฝึกสอนนักเตะคือครูพละ ใช้ความรู้จากวิชาถ่ายทอดนักเตะกับนักเตะ นักบอลไทยในยุคก่อนจะเก่งหรือมีทักษะที่ดีนะ เกิดจากการฝึกซ้อมที่ใส่ใจของครู โดยเวทีที่แข่งขันในระดับบอลนักเรียนคือกรมพละ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีอยู่ แต่ข้อเสียของโค้ชที่มาจากการเป็นครู มักไม่มีเวลาไปอบรมใช้ความรู้ที่สั่งสมมาทั้งชีวิตสอนนักเตะ จึงมีมุมมองในแบบเก่าๆ แน่นอนว่าแนวคิดนี้ไม่ได้ถูกหรือผิดแต่อย่างใด

กระทั่งเมื่อสมาคมฟุตบอลฯเปลี่ยนผู้บริหาร จึงมีความคิดที่อยากจะให้มีการอบรมฝึกสอนโค้ชแพร่หลายอย่างจริงจังมากกว่าเก่า เพื่อให้บุคลากรในประเทศมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น จึงเปิดอบรมหลักสูตรโค้ช ตั้งแต่ระดับซี-บี-เอ และโปรไซนต์, อบรมโค้ชประตู, อบรมโค้ชฟุตบอล, อบรมฝึกสอนวิทยากรขึ้นมา แน่นอนว่ามันสวยหรู แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าโค้ชทุกคนที่จบมาแล้วประสบความสำเร็จ มีงานมีทีมให้รองรับอย่างที่คุณวาดฝันเอาไว้ อัตราการจ้างโค้ชไทยเพื่อมาทำงานในระดับสโมสรทุกระดับน้อยลง สวนทางกับปริมาณโค้ชที่จบแต่ละหลักสูตรของสมาคม

2.หลักการดีเอาไปใช้ในสนามจริงไม่ได้

นอกจากการถือไลเซนต์ในปัจจุบันจะไม่ได้การันตีความเสมอไปแล้ว สิ่งที่ตามมาคือหลักการทฤษฎีโค้ชบนกระดานที่วิทยากรอบรมในแต่ละหลักสูตรโค้ชส่วนใหญ่ไม่สามารถนำออกมาใช้ในสนามจริงได้ อันนี้คือสิ่งที่ทำให้โค้ชจบใหม่ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการบริหารจัดการ เพราะส่วนมากยึดติดกับวิธีการทำทีมในต่างประเทศ แต่กลับไม่เข้าใจธรรมชาติฟุตบอลไทยจริง จึงไม่ผิดแปลกที่อะคาเดมี่ที่ผุดขึ้นมามากมาย เบสิคเด็กที่ไปเล่นแย่มาก เพราะโดนจับไปเล่นทีม และบุคลากรที่สอนก็เอาใบไลเซนต์ไปแอบอ้างคุยโวด้วยคุณสมบัติกับพ่อปกครอง แต่เวลาปฏิบัติจริงทำไม่ได้อย่างที่โฆษณา

3.เจ้าของทีมวุ่นวาย ทำตัวเหนือกว่าโค้ช

ประเด็นนี้กลายเป็นที่ถูกพูดถึงในวงกว้างมานานแล้ว นับตั้งแต่เคสที่อดีตนักการเมืองรายหนึ่งบอกว่า ตนคือเฮดของเฮดโค้ช เมื่อช่วงปี2013 โดยที่มีกุนซือเป็นแค่ผู้ช่วยเท่านั้น เรื่องนี้สร้างจุดเปลี่ยนให้คนในวงการฟุตบอลไทยพอสมควร เนื่องจากความรู้ความเข้าใจฟุตบอลขั้นพื้นฐานของแต่ละคนมันไม่ได้เท่ากัน บางคนมีกึ๋นมองฟุตบอลออก แต่บางคนมีเงินรักและคลั่งไคล้ฟุตบอลกลับทำไม่ได้ ซึ่งประเภทหลังมีเยอะ มันไม่ผิดหลอกที่เจ้าของทีมที่หาเงินได้จากสปอนเซอร์ จะทำทีมอยากจัดวางตัวผู้เล่นเอง เพราะมีทัศนคติที่ว่าเงินเราถ้ามันจะพังก็พังเพราะเรา แต่ดูเหมือนว่าความชอบความเชื่อส่วนบุคคล มันยังไม่มากพอ ในต่างประเทศเจ้าของสโมสรมีสิทธิ์พูดคุยสอบถามโค้ชถึงวิธีการเล่นและตัวนักเตะที่จะใช้งาน 11 คนแรก แต่เขาไม่ได้มาวุ่นวายเลือกตัวลงสนาม เพราะเขาให้เกียรติลูกจ้างที่เป็นโค้ช ที่อยู่กับทีมคุมซ้อมวางแท็คติกผู้เล่นมาตลอด 1 สัปดาห์ ผิดกับที่บ้านเราเจ้าของทีมบางคนชอบทำตัวเหนือกว่าโค้ชและขู่ว่าถ้าทีมแพ้คงต้องรับผิดชอบกับความล้มเหลว ต้องมาเป็นแพะซะอย่างนั้น

4.ความศรัทธาที่มีต่อโค้ชทั้งสมัยเป็นผู้เล่นและฐานะโค้ช

ในต่างประเทศฟุตบอลทีมที่ประสบความสำเร็จส่วนมาก จะเกิดจากความสามัคคีของโค้ชและนักเตะ ถ้า 2 อย่างไปด้วยกันผลงานจะออกมาดี ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนักเตะต้องเคารพโค้ชมากพอสมควร ซึ่งคนที่จะประสบความสำเร็จในการคุมทีมได้ ต้องมีโปรไฟล์ที่ดีสั่งสมมาตั้งแต่สมัยเป็นนักเตะแล้ว เพราะเมื่อมาจับงานโค้ชมันไม่ยากในการปรับตัว ไม่ใช่เรื่องแปลกที่โค้ชคนไทยที่ทำงานระดับสโมสรในไทยลีกจะยืนระยะกันได้หลายๆคน เช่น"โค้ชเตี้ย" สะสม พบประเสริฐ, "โค้ชเบ๊" ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก, ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล ฯลฯ แต่ยุคสมัยนี้กลับมีกลุ่มคนบางประเภทที่คิดว่า ข้าสามารถเจริญรอยตาม โชเซ่ มูรินโญ่, อังเดร วิลลาส โบอาส หรือแม้กระทั่งแบบ เบรนดัน ร็อดเจอร์สที่ไม่ได้เป็นนักบอลแต่ผันตัวมาเป็นโค้ชได้ ซึ่งเคสแบบนี้ในการอบรมโค้ชในบ้านเราระยะแม่งมีเยอะกว่าคนที่เป็นนักบอลเก่า ซึ่งพออบรมมาคนเหล่านี้ความเข้าใจเกมฟุตบอลจะช้าตามคนที่เล่นบอลมาก่อนไม่ทัน เพราะเมื่อโปรไฟล์ไม่มี เกิดไปทำงานจริงผู้เล่นที่จะให้ความศรัทธามันจึงมีไม่มาก

5.ทัศนคติของนักกีฬา

นอกจากความศรัทธาของนักเตะที่มีต่อโค้ชแล้ว สิ่งที่ตามมาคือเรื่องของทัศนคติของนักกีฬา เรื่องนี้สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นระดับโลกหรือในบ้านเรา สิ่งนี้สำคัญไม่แพ้เรื่องของวินัย ระยะหลังนักบอลไทยมากมาย ออกมาในแนวทางบอลโชว์ออฟ เล่นให้ดีดูต่อหน้าแฟนบอลในสนามและเกมถ่ายทอดสด แต่เมื่อถึงเวลาโดนเรียกไปติดทีมชาติ บางคนกลับถอนตัว, บางคนฝีเท้าธรรมดาเล่นคนละเรื่องกับตอนอยู่สโมสร ซึ่งกลุ่มที่มาจากการท่าเรือ และสมุทรปราการ เป็นตัวอย่างที่เด่นชัด ซ้อมดีแต่ใจไม่สู้มีให้เห็นชัดเยอะแยะไป ซึ่งมันเกิดจากทัศนคติส่วนบุคคล ซึ่งโค้ชไม่สามารถไปสอนตรงนี้ได้

6.ประสบการณ์การทำงานจริง 

ไลเซนต์โค้ชสอนทฤษฎีแต่มันไม่เคยมีกฏเกณฑ์จากตำราเล่มไหนที่บ่งบอกว่ามันสามารถสอนเรื่องของประสบการณ์การทำงานแบบจริงจังในสนามได้ ซึ่งถ้าเคยเป็นผู้เล่นมาก่อน เรื่องการบริหารการจัดการนักเตะในสนาม สามารถปรับใช้ได้ไม่ยาก แต่ที่เพิ่มมาคือความรับผิดชอบที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเตะ ซึ่งประเด็นนี้ต้องอาศัยคุณที่มีวุฒิภาวะในสนามจริง ซึ่งคนที่ไม่เคยเป็นนักบอลมาก่อน จะเสียเปรียบเรื่องนี้พอสมควรเวลาไปฝึกสอนนักเตะหรือเยาวชน

เอ็มเร่

Xwongthong@gmail.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0