โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ กรมอุตุสหรัฐฯ เผยว่า เดือนมกราคมที่แล้ว ร้อนที่สุด เท่าที่เคยมีการบันทึกไว้

The MATTER

อัพเดต 17 ก.พ. 2563 เวลา 13.21 น. • เผยแพร่ 14 ก.พ. 2563 เวลา 09.00 น. • Brief

ช่วงนี้หลายประเทศเจอกับภัยพิบัติทางธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่าออสเตรเลีย, ฝูงตั๊กแตนในแอฟริกา หรือ ภัยแล้งที่เกิดขึ้นกับหลายประเทศทั่วโลก ล้วนมีส่วนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตอนนี้ก็มีหลายองค์กรได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ รวมไปถึง องค์กรด้านอากาศของสหรัฐฯ

หน่วยงานดูแลด้านมหาสมุทรและบรรยากาศระดับชาติ (NOAA) ของสหรัฐฯ เผยว่า เมื่อเดือนที่แล้ว เป็นเดือนมกราคมที่ร้อนที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า ข้อมูลอุณหภูมิที่เคยมีการเก็บบันทึกไว้ในรอบ 141 ปี

อุณหภูมิของพื้นโลกและมหาสมุทร เมื่อเดือนที่แล้ว มีการบันทึกไว้ที่ 1.14 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 โดยมีการบันทึกข้อมูลอุณหภูมิสูงในระดับพื้นผิวใน อเมริกากลางและอเมริกาใต้, เอเชีย, สแกนดิเนเวีย, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรแปซิฟิก (ตอนกลางและตะวันตก)

ความร้อนในเดือนมกราคมที่ผ่านมา สืบเนื่องมาจาก เมื่อปี ค.ศ. 2019 ซึ่งถูกบันทึกว่า เป็นปีที่มีอากาศร้อนที่พื้นผิวโลกสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บบันทึกข้อมูลมา นอกจากนี้ ในช่วง 5 ปี และหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ยังเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดในรอบ 141 ปี ที่มีการเก็บข้อมูลมา อันแสดงให้เห็นถึงวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น

จุดเริ่มต้นของเดือนมกราคมที่ร้อนที่สุดมีการบันทึกว่า เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.2002 ซึ่งตั้งแต่นั้นมา โลกมีเดือนมกราคมที่ร้อนที่สุด 10 ครั้ง และในปี ค.ศ.2016 เป็นต้นมา โลกมีเดือนมกราคมที่ร้อนที่สุด 4 ครั้ง

สำหรับอันดับรายภูมิภาค นับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูล เมื่อปี ค.ศ. 1910 อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย, ภูมิภาคแคริบเบียน และภูมิภาคฮาวาย เดือนมกราคมที่ผ่านมา นับเป็นเดือนมกราคมที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 เป็นต้นมา ส่วนโอเชียเนีย เดือนที่แล้วนับเป็นเดือนมกราคมที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 3

ปีนี้ (ค.ศ.2020) NOAA ทำนายว่า จะถูกจัดอยู่ในอันดับของ 5 ปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยอ้างอิงข้อมูลการวิเคราะห์ของ นักวิทยาศาสตร์จาก ศูนย์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NCEI)

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการปล่อยความร้อนสู่โลกของมนุษย์ ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง และนักวิทยาศาสตร์เผยว่า โลกต้องลดการปล่อยความร้อนให้ได้ภายในปี ค.ศ.2030 เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด ภัยพิบัติการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศอย่างรุนแรง

อ้างอิงจาก

https://www.cnbc.com/2020/02/13/earth-just-had-hottest-january-on-record-as-climate-change-accelerates.html

https://www.theguardian.com/environment/2020/feb/13/january-hottest-earth-record-climate-crisis

https://www.ncei.noaa.gov/news/global-climate-202001

พิสูจน์อักษร: จิรัชญา ชัยชุมขุน

#Brief #TheMATTER

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0