โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โรคติดเกมเป็นโรคทางจิตเวช ส่งผลเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น วิตกกังวล ซึมเศร้า และก้าวร้าว

TODAY

อัพเดต 21 ต.ค. 2562 เวลา 04.03 น. • เผยแพร่ 21 ต.ค. 2562 เวลา 03.55 น. • Workpoint News
โรคติดเกมเป็นโรคทางจิตเวช ส่งผลเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น วิตกกังวล ซึมเศร้า และก้าวร้าว

คลิปเด็กชายทุบคอมพิวเตอร์และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อครอบครัวหลังเล่นเกมแพ้ กำลังเป็นที่สนใจในโลกออนไลน์ ต่างพากันวิพากวิจารณ์กันไปต่างๆ นานา 

ล่าสุดเพจ Drama-addict ออกมาเตือนว่า ไม่ควรแชร์คลิปหรือส่งต่อคลิป เพราะเด็กชายในคลิปยังเป็นผู้เยาวน์และน้องน่าจะป่วย พร้อมกับแนบข้อมูลถึงโรคติดเกมเป็นโรคทางจิตเวช

https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/a.10151331013638291/10157947420168291/?type=3

ก่อนหน้านี้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต เคยให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรมเสพติดเกมว่า เป็นปัญหาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่พบบ่อยในอายุระหว่าง 6 - 18 ปี มีความสัมพันธ์กับชนิดของเกมประเภทต่อสู้ออนไลน์แบบมีผู้ลงแข่งเป็นทีมเป็นหลัก และเกิดโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น วิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โรคติดสารเสพติด โรคจิต และโรคลมชัก โดยเฉลี่ยเด็กและวัยรุ่นจะใช้เวลาเล่นเกมนาน 5 ชม.ต่อวัน และเล่นเกมแข่งขันต่อสู้ออนไลน์ 1 - 4 เกมสลับกันไป ซึ่งเกินระดับความปลอดภัยในการเล่นเกม 9 ชั่วโมง /ต่อสัปดาห์

เด็กมักแสดงอาการหงุดหงิด ก้าวร้าวเมื่อให้เลิกเล่น และมักไม่ทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเองซึ่งเกิดผลกระทบต่างๆ ตามมา ได้แก่ ปัญหาการเรียน สอบตก ไม่ยอมไปโรงเรียน ซ้ำชั้น เรียนไม่จบ จากการเล่นนานเกิน 4 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป พฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศ ผ่านการแชทในห้องเกม ปัญหาการเติมเงิน การซื้อขายและการพนัน พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา เช่น การด่าทอด้วยภาษาหยาบคาย พฤติกรรมก้าวร้าวทางกาย เช่น การทุบตีคนอื่น อาละวาดทำลายของ คุกคามคนใกล้ชิด รังแกกันทางสื่อสังคมออนไลน์ ใช้สารเสพติด ฆ่าตัวตาย พฤติกรรมการกระทำความผิด ลักขโมยเงิน ย่องเบา เพื่อให้ได้ smartphone การข่มขู่เพื่อให้ได้เงินและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในวัยรุ่น เป็นต้น

ขณะที่ นพ.กิตกวี โพธิ์โน ผอ. รพ.จิตเวชนครพนมราชนครินทร์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า"โรคติดเกม" (Gaming Disorder) คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการเสพติดในทางสมอง มีลักษณะคล้ายการติดสารเสพติด เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเล่นเกมทางอินเทอร์เน็ต โดยสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

  1. ใช้เวลาเล่นเกมนานเกินไป
  2. ขาดการควบคุมตนเองในการใช้ชีวิตปกติ เช่น การกิน การนอน
  3. เสียหน้าที่การเรียนและการงาน

สำหรับโรคติดเกมส์ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นหนึ่งโรคทางจิตเวชรุนแรง และต้องได้รับการบำบัดรักษา เช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ  เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก

แนวทางแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม

รศ.ดร.ภญ. จิรภรณ์ อังวิทยาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เขียบบทความอธิบายไว้ว่า โรคติดเกมเกิดได้กับเด็กและผู้ใหญ่ ในกรณีที่เป็นเด็ก พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะมีบทบาทสำคัญที่สุด อย่ามองเกมที่เด็กเล่นว่าไม่เป็นพิษเป็นภัยเหมือนเป็นของเล่นชนิดหนึ่ง ควรตระหนักเสมอว่าเด็กมีโอกาสติดเกมได้เหมือนติดสิ่งเสพติด ก่อนที่จะอนุญาตให้เด็กเล่นเกม ควรมีการสัญญาและตกลงกันก่อนว่า จะต้องทำการบ้าน อ่านหนังสือ หรืออาบน้ำกินข้าวก่อนถึงจะเล่นเกมได้ จำกัดเวลาเล่นเกม เช่น เล่นได้ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง เลือกประเภทเกมให้เด็กเล่น ให้รางวัลเมื่อเด็กทำตามที่ตกลงกันไว้ได้ เก็บอุปกรณ์ในการเล่นเกมรวมทั้งมือถือให้ห่างไกลจากเด็ก เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กให้หันไปทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกับพ่อแม่ได้ เช่น การอ่านหนังสือหรือเล่านิทานก่อนนอน เล่นกีฬาที่เด็กชอบ พาไปเดินเที่ยวในสวนสาธารณะ เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ให้มากขึ้น

ผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะในวัยทำงานเป็นโรคติดเกม ผู้ใหญ่ที่ติดเกมอาจจะแก้ไขได้ยากกว่าเด็ก เพราะไม่มีผู้ปกครองคอยตักเตือน โดยเฉพาะในรายที่อยู่คนเดียว แนวทางการแก้ไข เช่น จำกัดเวลาเล่นเกม แบ่งแยกเวลาการทำงานกับการเล่นเกมให้ชัดเจน ปรึกษาคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทให้ช่วยคอยห้ามคอยเตือน ให้กำลังใจ หรือคอยชักชวนให้หันไปทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่นเล่นกีฬา ออกกำลังกาย เล่นดนตรี ใช้เวลาว่างไปทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น ช่วยดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล อาสาจราจร ทำความสะอาดวัดวาอาราม ปลูกต้นไม้ ปลูกป่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในรายที่ติดเกมรุนแรงมากอาจต้องพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์

การเล่นเกมอย่างพอดี ทำให้ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน คลายเครียด ฝึกทักษะ สมาธิ การตัดสินใจ การประสานการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาทระหว่างมือกับตา อย่างไรก็ตาม การเล่นเกมไม่ควรเล่นติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือหมกมุ่นมากจนเกินไปจนทำให้เกิดอาการเสพติดและเกิดผลเสียต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ

อ้างอิงข้อมูลจาก บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0