โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

โควิด-19 ทุบเงินเฟ้อติดลบต่ำสุดรอบ 51 เดือน

NATIONTV

อัพเดต 07 เม.ย. 2563 เวลา 07.41 น. • เผยแพร่ 07 เม.ย. 2563 เวลา 07.25 น. • Nation TV
โควิด-19 ทุบเงินเฟ้อติดลบต่ำสุดรอบ 51 เดือน
โควิด-19 ทุบเงินเฟ้อติดลบต่ำสุดรอบ 51 เดือน

กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขเงินเฟ้อ มี.ค. ติดลบ 0.54% ครั้งแรกรอบ 33 เดือน ต่ำสุด 51 เดือน ปรับลดเป้าเงินเฟ้อทั้งปีติดลบ 0.6% ชี้กรณีเลวร้ายลบ 1% จะลบมากสุดเป็นประวัติศาสตร์ ยันไทยไม่เข้าข่ายภาวะเงินฝืด

พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ หรืออัตราเงินเฟ้อ เดือนมีนาคม 2563 ลดลง 0.54% เทียบกับมีนาคม 2562 หรือติดลบครั้งแรกในรอบ 33 เดือน และเป็นอัตราต่ำสุดรอบ 51 เดือน เป็นผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และราคาน้ำมันปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 48 เดือน โดยราคาน้ำมันเมื่อเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงถึง 11 ครั้ง ส่วนถ้าเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เงินเฟ้อลดลง 0.86% ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 3 เดือนแรก ลดลงแล้ว 0.41% เทียบกับไตรมาสแรกปี 2562

ทั้งนี้ สาเหตุเงินเฟ้อลดลงต่ำสุดรอบ 51 เดือน มาจากอุปสงค์การบริโภคสินค้าที่หายไปเนื่องจากการะบาดของไวรัสโควิด-19 และราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมาก โดยถ้าเทียบเดือนมีนาคมปี 2562 พบว่าน้ำมันปรับลดลงถึง 16.69% แต่ถ้าเทียบกุมภาพันธ์ ปี 2563 น้ำมันปรับลดลง 10.23%

สำหรับภัยแล้ง ยังไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจนต้องรอติดตามสถานการณ์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับลดจีดีพีลบ 5.8% และหน่วยงานอื่นก็มีการปรับลดคาดการณ์จีดีพีติดลบเกือบ6% ทำให้สนค.ทบทวนคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2563 ติดลบ 0.2 ถึงลบ 1% โดยมีค่ากลางติดลบที่ 0.6% ซึ่งเป็นการติดลบครั้งแรกรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2558 ที่เงินเฟ้อติดลบในข่วงสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศ ภายใต้สมมุติฐาน คือ จีดีพี ติดลบ 4.8-5.8% น้ำมันดิบตลาดดูไบ 35-45 ดอลลาร์/บาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 30.5-32.5 บาท/ดอลลาร์ แต่ในกรณีเลวร้ายคือเงินเฟ้อติดลบ 1% ก็จะติดลบมากสุดเป็นประวัติการณ์

สำหรับกรณีที่ไทยจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหรือนั้น ขอชี้แจงว่าไทยไม่เจ้าข่ายภาวะเงินฝืด เพราะแม้อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้อาจจะติดลบก็จริง แต่สาเหตุหลักมาจากปัจจัยเรื่องน้ำมันที่ลดลงเยอะมาก แต่หากดูดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักน้ำมันและอาหารออก ดัชนีเงินเฟ้อก็ยังเป็นบวกอยู่ ทั้งนี้อุปสงค์หรือ demand และกำลังซื้ออาจจะชะลอตัวบ้างในช่วงโควิด-19 แต่ยังไม่ได้หดตัวมากขนาดที่เรียกว่าเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

อย่างไรก็ตาม แนวทางที่อยากให้รัฐบาลพิจารณาเพื่อช่วยเหลือประขาชนในข่วงวิกฤติ คือ การปรับลดค่าไฟฟ้า (ค่าเอฟที) ให้กับประชาชนเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายได้อีกทาง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0