โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แอพพ์ 'ไทยชนะ' เข้าถึงอะไรในมือถือที่ติดตั้งบ้าง!?

MATICHON ONLINE

อัพเดต 28 พ.ค. 2563 เวลา 13.18 น. • เผยแพร่ 28 พ.ค. 2563 เวลา 12.33 น.
ไทยชนะ3
ภาพจากเฟซบุ๊ก ปรเมศวร์ มินศิริ

แอพพ์ ‘ไทยชนะ’ เข้าถึงอะไรในมือถือที่ติดตั้งบ้าง!?

นายปรเมศวร์ มินศิริ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์สนุกดอตคอม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ปรเมศวร์ มินศิริ เกี่ยวกับแอพพลิเคชั่น “ไทยชนะ” ของรัฐบาล พร้อมกับระบุว่า การติดตั้งแอพพ์นี้จะอนุญาตให้สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวในเครื่องที่ติดตั้งได้ อย่างเช่น ไฟล์ รูปภาพ และวิดีโอ

โดยนายปรเมศวร์ระบุในเฟซบุ๊กว่า

“(กรุง)ไทยชนะ รัฐบาลประกาศเปิดตัวไทยชนะเป็น App บนมือถือแล้ว โดยระบุว่าเป็น App ในแอคเคาท์ของธนาคารกรุงไทยซึ่งเป็นธนาคารของรัฐบาล ตอนนี้มีให้โหลดแล้วบนมือถือแ(กรุง)ไทยชนะ

รัฐบาลประกาศเปิดตัวไทยชนะเป็น App บนมือถือแล้ว โดยระบุว่าเป็น App ในแอคเคาท์ของธนาคารกรุงไทยซึ่งเป็นธนาคารของรัฐบาล

ตอนนี้มีให้โหลดแล้วบนมือถือแอนดรอยด์ จากข่าวคือจะมีระบบเช็ค OTP มือถือแล้วทำให้ระบุตัวตนได้จริงๆไม่สามารถปลอมเบอร์มือถือได้แบบช่วงสิบวันที่ผ่านมา ลองกดดูในหน้านี้ตรง Permissions และ View details ได้นะครับ https://play.google.com/store/apps/details…

แอพพ์นี้จะเข้าถึงอะไรในมือถือของผู้ที่ติดตั้งบ้าง

1. สามารถเข้าถึงตำแหน่งของโทรศัพท์ (Location) ถ้าเจ้าของไม่เปิด GPS ก็จะระบุได้คร่าวๆ จากโครงข่ายผู้ให้บริการมือถือ แต่ถ้ามือถือนั้นเปิด GPS ก็จะระบุตำแหน่งเป๊ะๆ ได้เลยจากพิกัดดาวเทียม

2. สามารถเข้าถึงไฟล์รูปภาพ มีเดีย(วิดีโอ) และไฟล์ต่างๆ ได้

ซึ่งก็เป็นที่น่าสงสัยว่าถ้าจะแก้ปัญหาสองอย่างนี้ มีความจำเป็นจะต้องขอเข้าถึงตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือรวมถึงการเข้าถึงรูป, วิดีโอและไฟล์ของผู้ใช้หรือไม่???

เพื่อความสะดวก ผู้ที่ติดตั้งแอพพ์นี้ควรทราบข้อมูลนี้ด้วยว่า นี่คือการยินยอมให้รัฐบาลเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ของท่านด้วยนะครับ

โดยหลังจากที่ข้อความดังกล่าวถูกโพสต์ออกไป มีผู้ที่เข้าไปแสดงความเห็นหลากหลาย มีทั้งขอบคุณที่แจ้งเรื่องดังกล่าวให้คนทั่วไปได้รับรู้ ขณะที่บางคนมองว่า กลัวข้อมูลเหล่านี้หลุดออกไป

หลังจากนั้น นายปรเมศวร์ได้โพสต์ชี้แจงต่อว่า

เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Privacy นี่ หลายคนอาจมองว่า ปกติเราก็ให้แอพพ์ต่างๆ เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเราได้ตั้งเยอะแยะ เช่น Facebook, Google ฯลฯ

คำตอบคือ เพราะเราเชื่อมั่นในเอกชนขนาดใหญ่เล่านั้น โดยเฉพาะที่มาจากต่างประเทศเช่น อเมริกา เนื่องจากกฎหมายที่นั่นเขาเข้มงวดมากๆ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลถ้าเอกชนพวกนี้ “พลาด” ขึ้นมาแม้แต่นิดเดียว เขาจะถูกฟ้องร้องกันจนอ่วม แถมหุ้นตกมหาศาลแบบที่ Facebook เองก็เคยโดนมาในกรณี Facebook–Cambridge Analytica data breach ค่าปรับว่าเยอะแล้วแต่ราคาหุ้น Facebook ช่วงนั้นตกลงไป 24% นี่เป็นเงินมากถึง $134 พันล้านเหรียญ!

ต่างจากเมืองไทยที่ตอนนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องมีผลบังคับใช้วันนี้ ได้รับการขยายยกเว้นไปอีกหนึ่งปีเกือบหมด ทำให้ขาดมาตรการทางกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนในเรื่องนี้

การติดตั้งแอพพ์จึงควรเป็นทางเลือก ว่าผู้ใช้จะยอมสละข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้ให้บริการรายนั้นหรือไม่ ผู้ให้บริการมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน ถ้าเป็นภาคบังคับหรือกึ่งบังคับ ควรจะพิจารณาให้รอบคอบว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องดึงข้อมูลส่วนบุคคลนั้นๆ จากประชาชนไป เพื่อแลกกับมาตรการป้องกันโรคระบาด ที่แทบจะไม่พบผู้ติดเชื้อใหม่ในประเทศนอกสถานกักกันคนที่เข้ามาจากต่างประเทศเป็นเวลาราวหนึ่งเดือนแล้ว มีทางเลือกที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลให้น้อยกว่านั้นแต่ยังมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ด้วยนะครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0