โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

กิน-ดื่ม

แพทย์อธิบาย ทำไมเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อ Covid-19 จึงไม่มีอาการรุนแรงเท่าผู้ใหญ่

Beartai.com

อัพเดต 05 เม.ย. 2563 เวลา 12.36 น. • เผยแพร่ 05 เม.ย. 2563 เวลา 08.19 น.
แพทย์อธิบาย ทำไมเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อ Covid-19 จึงไม่มีอาการรุนแรงเท่าผู้ใหญ่
แพทย์อธิบาย ทำไมเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อ Covid-19 จึงไม่มีอาการรุนแรงเท่าผู้ใหญ่

ตั้งแต่ไวรัส Covid-19 เริ่มแพร่ระบาดมาจนถึงวันนี้ เราพอสรุปได้ว่าเด็ก ๆ จะมีภูมิต้านทานไวรัสที่ดีกว่าผู้สูงอายุ เราเห็นกันแล้วว่าบรรดาผู้สูงอายุที่ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิต แต่กับเด็ก ๆ นั่นจะไม่น่าวิตกกังวลเท่า แต่ถึงอย่างนั้นเด็ก ๆ ก็ยังติดเชื้อไวรัสได้ แต่เด็ก ๆ ที่ติดเชื้อแล้วนั้นจะมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่กระนั้นก็มีรายงานแล้ว มีเด็ก ๆ ที่เสียชีวิตจาก Covid-19 ในเบลเยียม มีเด็กหญิงอายุ 12 ปี เสียชีวิต ในอังกฤษมีเด็กชายอายุ 13 ปี เสียชีวิต จัดเป็นบันทึกใหม่ว่า นี่คือผู้เสียชีวิตจากไวรัส Covid-19 ที่อายุน้อยที่สุดในยุโรป ในจีนก็มีรายงานเช่นกันว่ามีเด็กอายุ 14 ปีเสียชีวิตจาก Covid-19

แต่ก็ยังมีรายงานอยู่บ้างว่าพบเด็ก ๆ บางรายที่ติดเชื้อแล้วมีอาการหนัก ทำให้หลาย ๆ โรงเรียนโรงเรียนทั่วโลกยุติการเรียนการสอนชั่วคราว ไปพร้อม ๆ กับมาตรการเว้นระยะห่างในสังคมที่เริ่มบังคับใช้ ทำให้พ่อแม่เริ่มวิตกกังวลกับบรรดาลูกหลานที่จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ

เด็ก ๆ จะติดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ง่ายเพียงใด

เด็ก ๆ สามารถเป็นได้ทั้งผู้แพร่เชื้อและผู้รับเชื้อเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่และแสดงอาการหลังติดเชื้อในลักษณะเดียวกัน
แอนดรูว์ พอลลาร์ด ศาสตราจารย์ทางด้านกุมารเวชศาสตร์และภูมิคุ้มกัน แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เผยว่า
“ในช่วงต้นของการแพร่ระบาดนั้น มีการเข้าใจกันไปว่าเด็ก ๆ จะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัส Covid-19 ดีและจะไม่ติดเชื้อ แต่มาถึงตรงนี้ก็เห็นกันชัดเจนแล้วว่าเด็ก ๆ สามารถติดเชื้อได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เพียงแต่ว่าเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อจะมีอาการเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น”

มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก ศูนย์ป้องกันและกักกันเชื้อโรคในประเทศจีน รายงานตัวเลขออกมาว่า จากจำนวนผู้ติดเชื้อ 72,134 คนนั้น มีเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 19 ปี เพียงแค่ 2% เท่านั้น ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2020, ในสหรัฐอเมริกา จากจำนวนผู้ป่วย 508 คน ไม่พบผู้ป่วยที่เป็นเด็กแล้วมีอาการหนักหลังติดเชื้อ

ซานเจย์ พาเทล แพทย์กุมารเวชศาสตร์แห่งโรงพยาบาลเด็กเซาท์แฮมป์ตัน
ซานเจย์ พาเทล แพทย์กุมารเวชศาสตร์แห่งโรงพยาบาลเด็กเซาท์แฮมป์ตัน

ซานเจย์ พาเทล แพทย์กุมารเวชศาสตร์แห่งโรงพยาบาลเด็กเซาท์แฮมป์ตัน

ซานเจย์ พาเทล แพทย์กุมารเวชศาสตร์แห่งโรงพยาบาลเด็กเซาท์แฮมป์ตัน วิเคราะห์การติดเชื้อไวรัส Covid-19 ในเด็กว่า
“มันเป็นไปได้ว่า เราพบการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ก็เพราะการติดเชื้อจากที่ทำงานและระหว่างการเดินทาง ซึ่งเราก็คาดคะเนว่าหลังจากนั้นปริมาณเด็กที่ติดเชื้อน่าจะมากขึ้น เพราะพ่อแม่จะเอาเชื้อมาแพร่ใส่ลูกหลาน แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น”

ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกต่างคาดการณ์ว่าเด็ก ๆ น่าจะมีแนวโน้มติดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ รองมาจากกลุ่มคนชรา แต่ผลปรากฏว่าผู้ป่วยที่แสดงอาการหลังติดเชื้อแล้วมาโรงพยาบาลนั้นมีเด็ก ๆ น้อยมาก
“แต่ก็เป็นไปได้ว่า จำนวนเด็ก ๆ ที่ติดเชื้ออาจจะมากกว่าที่เราคาดไว้ เราไม่ได้ไปตรวจหาเชื้อจากเด็ก ๆ ทุกคนในแต่ละประเทศ”
ซานเจย์ พาเทล กล่าว

ทำไมลักษณะการติดเชื้อในเด็ก ถึงได้แตกต่างจากผู้ใหญ่

ช้อมูลผู้ติดเชื้อจากประเทศจีนเผยว่า ในบรรดาเด็ก ๆ มากกว่าครึ่งที่ติดเชื้อ Covid-19 แสดงอาการป่วยน้อยมาก เด็กเหล่านี้จะมีอาการไข้อ่อน ๆ , ไอ , เจ็บคอ , น้ำมูกไหล , จาม และครั่นเนื้อครั่นตัว อาการเหมือนป่วยเป็นไข้หวัดทั่วไป และมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่มีอาการปอดบวม มีไข้สูง ไอมีเสมหะ และหายใจมีเสียง แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง ก็ไม่เห็นถึงอาการหายใจติดขัด หรือหายใจลำบากแต่อย่างใด

เกรแฮม โรเบิร์ต กุมารแพทย์และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน ให้ความเห็นว่า
“เด็ก ๆ ที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 จะมีอาการเด่นชัดในส่วนระบบหายใจตอนบน ซึ่งรวมไปถึง จมูก, ปาก และลำคอ อาการป่วยในเด็กจะดูเหมือนเป็นไข้หวัดทั่วไป ต่างจากอาการติดเชื้อในกลุ่มผู้ใหญ่ ที่จะแสดงอาการเหมือนผู้ป่วยโรคปอดบวม ที่ไวรัสจะโจมตีระบบหายใจตอนล่างเช่น ปอด และทางเดินหายใจ”

สัดส่วนของเด็กที่ติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรงให้เห็น อย่างเช่น อาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS), ภาวะหายใจลำบาก หรือรุนแรงถึงขั้นมีอาการช็อกนั้น มีเพียง 6% เท่านั้น ในขณะที่ผู้ใหญ่ในประเทศจีนที่มีอาการเหล่านี้สูงถึง 19% ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงวัยที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจเรื้อรัง และมีอาการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

ยังมีกลุ่มเด็กอีก 1% ที่ไม่ใช่แสดงอาการป่วยใด ๆ ให้เห็นเลย ทั้งที่มีเชื้อฝังตัวอยู่ในร่างแล้ว แต่ก็มีผู้ใหญ่อีก 1% เช่นกันที่ไม่แสดงอาการใด ๆ หลังติดเชื้อ ถึงตรงนี้ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า เราจะแยกออกอย่างไรระหว่างเด็กที่ติดเชื้อแล้วไม่แสดงอาการ กับเด็กที่ไม่ได้ติดเชื้อเลย

ทำไมเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อแล้วมีอาการตอบสนองดีกว่าผู้ใหญ่

“เหตุผลที่น่าจะเป็นได้มากสุดคือ ไวรัส Covid-19 นี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปจับตัวเข้ากับโปรตีนบนผิวของเซลล์ตัวรับ ACE2 (Angiotensin converting enzyme II) แล้วก็เริ่มฝังตัวเองเข้าไปในเซลล์ ในขั้นตอนนี้ล่ะที่ทำให้เริ่มมีอาการป่วย อาจจะเป็นเพราะว่าเด็ก ๆ มี เซลล์ตัวรับ ACE2 ในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง อย่างเช่น ปอด น้อยกว่าที่มีในระบบทางเดินหายใจตอนบน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงมีแสดงอาการหลังติดเชื้อผ่านทาง จมูก ปาก และลำคอ”
คำอธิบายของ เกรแฮม โรเบิร์ต
นั่นจึงอธิบายได้ว่าทำไมเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อถึงมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด มากกว่าอาการแบบปอดบวม หรืออาการแบบผู้ป่วยไวรัส Sars อย่างที่เห็นในกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่

แอนดรูว์ พอลลาร์ด ศาสตราจารย์ทางด้านกุมารเวชศาสตร์และภูมิคุ้มกัน
แอนดรูว์ พอลลาร์ด ศาสตราจารย์ทางด้านกุมารเวชศาสตร์และภูมิคุ้มกัน

แอนดรูว์ พอลลาร์ด ศาสตราจารย์ทางด้านกุมารเวชศาสตร์และภูมิคุ้มกัน

แอนดรูว์ พอลลาร์ด อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า
“มันไม่ได้หมายความว่าเด็ก ๆ จะไม่มีโอกาสติดเชื้อตลอดไป แต่เมื่อคนเราโตขึ้น โอกาสติดเชื้อก็จะมีมากขึ้น”
สิ่งที่แอนดรูว์ พยายามอธิบายก็คือ อายุคนเรา นั้นมีผลต่อ “ภาวะการเสื่อมสภาพของระบบภูมิคุ้มกัน” immunosenescence ทำให้ร่างกายของคนเราสามารถรับมือกับไวรัสตัวใหม่ ๆ ได้น้อยลง
“แสดงให้เห็นชัดว่าวัยรุ่นนั้นมีโอกาสเสี่ยงอย่างมากที่จะติดเชื้อไวรัสรุนแรงมากกว่าเด็ก ๆ”

มีหลายเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมภูมิคุ้มกันในเด็กถึงทำงานได้ดีกว่าภูมิคุ้มกันของผู้ใหญ่ เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ ระบบภูมิคุ้มกันในเด็กนั้นอยู่ในระหว่างพัฒนาตัวเอง เด็กเล็กที่อยู่ในเนอร์สเซอรี หรือในโรงเรียนนั้น เป็นกลุ่มเสี่ยงกลุ่มใหญ่ที่จะติดเชื้อไวรัสเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เมื่อเด็ก ๆ อยู่ในสภาวะแวดล้อมเช่นนี้ระบบภูมิคุ้มกันก็พัฒนาการทำงานในระดับที่สูงขึ้นเพื่อรับมือกับไวรัสกลุ่มนี้ ซึ่งทำงานได้ดีกว่าระบบภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่

เกรแฮม โรเบิร์ต กุมารแพทย์และที่ปรึกษากิติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน
เกรแฮม โรเบิร์ต กุมารแพทย์และที่ปรึกษากิติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน

เกรแฮม โรเบิร์ต กุมารแพทย์และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน

เกรแฮม โรเบิร์ต กล่าวถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในเด็ก
“ในเด็ก ๆ นั้นดูเหมือนจะแสดงอาการหลังติดเชื้อที่ชัดเจนกว่าผู้ใหญ่ อย่างเช่นมีไข้สูง ซึ่งเรามักไม่ค่อยเห็นกลุ่มผู้ใหญ่ เป็นไปได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันในตัวเด็กนั้นทำหน้าที่ควบคุมจัดการไวรัสได้ดี ด้วยการจำกัดพื้นที่โจมตีของไวรัสไว้แค่ในช่วงระบบทางเดินหายใจตอนบน โดยไม่ให้ไปทำอันตรายในส่วนอื่นของร่างกายจากนั้นก็กำจัดไวรัสออกจากร่างไป”

แอนดรูว์ พอลลาร์ด ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า

“มีเด็กน้อยรายมากที่ติดเชื้อ Covid-19 แล้วจะมีอาการหนัก นั่นอธิบายได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันในแต่ละคนจะมีวิธีการรับมือกับไวรัสในรูปแบบที่แตกต่างกันไป”

ในผู้ใหญ่บางรายจะมีอาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปจนเกิดเป็นภาวะอันตรายขั้นร้ายแรงต่อชีวิตซึ่งเรียกว่า “ภาวะพายุไซโตไคน์” ด้วยระบบภูมิคุ้มกันในเด็กนั้น ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เกิด “ภาวะพายุไซโตไคน์”ในเด็กได้น้อยกว่า

เด็ก ๆ ที่มีอาการไข้เพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย จะสามารถแพร่เชื้อไวรัส Covid-19 ได้หรือไม่

คำตอบที่ชัดเจนคือ สามารถแพร่เชื้อได้

“เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องน่ากังวลเลยนะ”
เกรแฮม โรเบิร์ต กล่าว
“เมื่อเรารับรู้ว่าเด็ก ๆ อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต่ำ เราอาจจะไม่ได้กังวลกับพวกเขามากเท่าใดนัก แต่ในขณะที่เด็ก ๆ เหล่านี้ไม่มีอาการป่วยไข้ให้เห็น นั่นอาจจะทำให้เราลืมไปว่า เด็ก ๆ เหล่านี้ก็อาจจะเป็นเส้นทางหลักในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสในแต่ละชุมชน เด็ก ๆ ที่มีอาการไข้เพียงเล็กน้อยนั้นก็อาจจะเป็นตัวการใหญ่ในการแพร่เชื้อในกลุ่มผู้คนจำนวนมากได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการปิดโรงเรียนถึงจะสามารถลดการแพร่ระบาดได้”

เคยมีตัวอย่างกรณีก่อนหน้านี้ไหม ที่เด็กติดเชื้อแล้วมีอาการป่วยเบาบางกว่าผู้ใหญ่ แต่ก็เป็นพาหะสำคัญในการแพร่เชื้อ

ตำตอบคือ มีในโรคไข้หวัดใหญ่ ที่เป็นกรณีใกล้เคียงสุดกับ covid-19
เกรแฮม โรเบิร์ต เล่าถึงกรณีสองไข้หวัดนี้ว่า
“เวลาที่เด็ก ๆ ติดไข้หวัดใหญ่นั้น พวกเขามักจะมีอาการแค่น้ำมูกไหล แต่กลับกันผู้ใหญ่นั้นจะมีอาการหนักกว่ามาก บางรายถึงต้องเข้าไอซียู และอาจถึงขั้นเสียชีวิต 2-3 ปีที่แล้ว รัฐบาลอังกฤษก็สั่งซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับเด็กจำนวนมาก จุดประสงค์หลักไม่ได้ป้องกันเด็กติดเชื้อแต่อย่างใด แต่ป้องกันไม่ให้เด็กไปแพร่เชื้อใส่คนสูงวัยที่บ้าน เพราะถ้ากลุ่มนี้ติดเชื้อ จะน่าเป็นห่วงมาก”

หลักการเดียวกันนี้ก็สามารถนำมาดำเนินการกับไวรัส covid-19 ได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าเด็ก ๆ จะมีโอกาสติดเชื้อต่ำ แต่โอกาสที่เด็ก ๆ จะเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่บรรดาผู้สูงวัยนั้นเป็นไปได้สูง”

Covid-19 จะมีผลต่อเด็กในแต่ละวัยแตกต่างกันหรือไม่

คำตอบคือ แตกต่างกัน มีข้อมูลจากประเทศจีนแจ้งว่า เด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กทารกนั้นจะติดเชื้อ Covid-19 ได้ง่ายกว่าเด็กในวัยอื่น ในประเทศจีนพบว่ามีเด็กทารกประมาณ 1 คน ในทุก ๆ 10 คนที่ติดเชื้อ Covid-19 ส่วนเด็กที่โตขึ้นในวัยประมาณ 5 ขวบ จะพบเพียง 3-4 คน จาก 100 คน ที่ติดเชื้อ Covid-19 แล้วมีอาการน่าเป็นห่วง

สำหรับกลุ่มวัยรุ่นก็มีผลกระทบที่ต่างออกไป
“ในกลุ่มวัยรุ่นนั้นเราเห็นระบบภูมิคุ้มกันในรูปแบบเดียวกับของผู้ใหญ่ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับไวรัสด้อยลง”
ข้อมูลจาก ซานเจย์ พาเทล แพทย์กุมารเวชศาสตร์แห่งโรงพยาบาลเด็กเซาท์แฮมป์ตัน

จากข้อมูลการแพร่ระบาดในประเทศจีนระบุว่า ไม่พบการตายของเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปี ตลอดระยะเวลาการแพร่ระบาดนั้น พบเพียงรายเดียวคือเด็กอายุ 14 ปี ที่ตายเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ส่วนในแถบยุโรปนั้นพบเพียง 2 รายคือ วัยรุ่นอายุ 18 ปี ที่มีอาการป่วยหนักอยู่ก่อนหน้า Covid-19 แพร่ระบาด และในวันที่ 1 เมษายน ก็พบอีกรายที่เสียชีวิตเป็นเด็กอายุ 13 ปีในลอนดอน

ทารกเกิดใหม่มีโอกาสติด Covid-19 ไหม

ติดได้

ในระหว่างที่ไวรัส Covid-19 ยังคงแพร่ระบาดไปทั่วโลกอยู่ขณะนี้ เรามีรายงานว่าพบทารกเกิดใหม่ติดเชื้อ Covid-19 เพียงแค่ 2 รายเท่านั้น รายหนึ่งในอู่ฮั่น ประเทศจีน และอีกรายที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ แต่ยังไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ว่าทารกทั้งสองรายนั้นติดเชื้อผ่านแม่มาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือว่าติดเชื้อจากแม่หลังจากคลอดมาแล้ว เพราะแม่ของทั้งสองรายนั้นเป็นผู้ติดเชื้อ

เราสามารถยืนยันว่าเด็กในครรภ์สามารถติดเชื้อผ่านแม่ได้หรือไม่

ยังไม่สามารถยืนยันได้

แต่มีข้อมูลที่น่ากังวลว่า ไวรัสซาร์ส severe acute respiratory syndrome และไวรัส Middle East respiratory syndrome ที่ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากไวรัส Covid-19 เช่นกัน ก็มีกรณีศึกษามาแล้วว่า ไวรัสทั้งสองตัวนี้มีผลร้ายต่อหญิงตั้งครรภ์และเด็กในครรภ์ อาจก่อให้เกิดการแท้งลูก, คลอดก่อนกำหนด และเด็กในครรภ์เติบโตผิดปกติ แต่กรณีดังกล่าวยังไม่พบในช่วงไวรัส Covid-19 แพร่ระบาด

แต่อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ก็ควรระมัดระวังป้องกันตัวเป็นพิเศษในช่วงนี้ กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ก็มีคำแนะนำว่า หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงที่ติดเชื้อไวรัส covid-19 แล้วจะมีอาการป่วยหนักได้ จึงแนะนำว่าให้บรรดาหญิงตั้งครรภ์ประพฤติปฏิบัติเรื่องการเว้นระยะห่างในสังคมอย่างเคร่งครัดเป็นเวลาอย่างน้อย 12 สัปดาห์

พ่อแม่จะป้องกันลูก ๆ ไม่ให้ติดเชื้อ Covid-19 ได้อย่างไรบ้าง

ด้วยการปฏิบัติตามมาตรการพื้นฐาน ทั้งในเรื่องการล้างมือ, รักษาระยะห่างในสังคม, ฆ่าเชื้อบนพื้นผิวภาชนะและพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน ซึ่งอาจจะเป็นที่กักเก็บเชื้อได้ เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสได้

“ยึดหลักป้องกันการแพร่ระบาดพื้นฐานเป็นสำคัญ ถ้าคุณยังต้องไปมาในพื้นที่สาธารณะ ถ้าคุณไปสัมผัสข้าวของสิ่งต่าง ๆ อย่าเอามือสัมผัสใบหน้าตัวเองเด็ดขาด ต้องล้างมือก่อนเสมอ”
ซานเจย์ พาเทล ย้ำเตือนข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติ

ครอบครัวจะช่วยป้องกันผู้สูงวัยไม่ให้ติดเชื้อจากเด็ก ๆ ได้อย่างไรบ้าง

ในเรื่องนี้ก็มีคำแนะนำจาก ซานเจย์ พาเทล มาฝาก
“ผมเห็นหลายครอบครัวมีการพบปะสังสรรค์รวมตัวกันในวาระสำคัญต่าง ๆ เห็นสมาชิกครอบครัวเต็มไปหมดทั้งปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ และลูกหลานมารวมตัวกัน ผมรู้สึกว่ามันน่าวิตกกังวลอย่างมาก ข้อมูลที่ผ่านมาก็ชัดเจนแล้วว่า ผู้สูงอายุน่ะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะติดเชื้อแล้วมีอาการหนักกว่าเพื่อน ยิ่งบางคนที่มีอาการป่วยอยู่ในการดูแลของแพทย์อยู่แล้วล่ะก็ การป้องกันเด็ก ๆ จากผู้สูงวัยเหล่านี้เป็นเรื่องที่ควรกระทำอย่างยิ่ง เราจะเสี่ยงไปเพื่ออะไรล่ะ”

บางครอบครัวอาจจะมองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญที่จะต้องคอยกันลูกหลานที่ดูแข็งแรงดีจากผู้สูงวัย แต่สิ่งสำคัญที่ควรจำและยึดถือไว้เสมอว่า เด็กบางคนติดเชื้อไวรัส Covid-19 แล้วก็อาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรืออาจจะไม่แสดงอาการเลยก็ได้ แต่พวกเขาก็ยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

จำเป็นแค่ไหนที่ต้องอธิบายบุตรหลานให้เข้าใจเรื่อง Covid-19

“ในขณะที่ไวรัส Covid-19 เป็นสถานการณ์ร้ายที่มีผลในทุกระดับสังคม ในช่วงนี้สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ทุกคนพึงกระทำก็คือการให้ขวัญกำลังใจที่ดีกับลูก ๆ ว่าพวกเขาจะปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายจาก Covid-19 ในฐานะที่ผมเป็นกุมารแพทย์ ผมเชื่อว่าความกลัวของเด็ก ๆ เป็นเรื่องแย่ แต่บางครั้งเขาก็ไม่ได้บอกเราตรง ๆ”
คำแนะนำจากซานเจย์ พาเทล

แอนดรูว์ พอลลาร์ด ศาสตราจารย์ทางด้านกุมารเวชศาสตร์ ก็เห็นพ้องในเรื่องนี้
“พ่อแม่ควรจะให้ความเชื่อมั่นกับลูก ๆ ว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร พวกเขาจะต้องปลอดภัยจากไวรัส Covid-19”

เราจะผ่านพ้นมันไปด้วยกันครับ

 

 

อ้างอิง

แชร์โพสนี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0