โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แพทยสภาเตรียมตั้งคณะทำงานปรับปรุงกฎหมาย หลัง ศาล รธน. มีคำวินิจฉัยเรื่องหญิงทำแท้ง

PPTV HD 36

อัพเดต 20 ก.พ. 2563 เวลา 10.03 น. • เผยแพร่ 20 ก.พ. 2563 เวลา 09.38 น.
แพทยสภาเตรียมตั้งคณะทำงานปรับปรุงกฎหมาย หลัง ศาล รธน. มีคำวินิจฉัยเรื่องหญิงทำแท้ง
หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยปรับปรุงกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ ล่าสุดแพทยสภา เตรียมตั้งคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ปี 2548 ล้อตามกฎหมายใหญ่หากมีการปรับแก้ 

ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามที่มีผู้ร้องเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 27 และ 28 หรือไม่  และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 มาตรา 28 และมาตรา 77 หรือไม่ โดยมีมติเสียงข้างมากเห็นว่า วิ อาญา มาตรา 301 บัญญัติว่า หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองแท้งลูกต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 27 และ28

ส่องกฎหมายทำแท้งทั่วโลกรวมถึง “ไทย”

 

แพทยสภา เล็งสอบ “คลินิกศรีสมัยการแพทย์” หลังรับทำแท้งทารก 4 ศพ

 นอกจากนี้ เสียงข้างมากเห็นว่า วิ อาญา มาตรา 305 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และ 602 เป็นการกระทำของแพทย์ และ 1.จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น และ2.หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 277 282 283 หรือมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 27 28 และ77

“อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า  สมควรให้มีมาตรการปรับปรุงกฎหมายมาตรา 301 และ305 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ”

ทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยดังกล่าวออกมา ทำให้เกิดกระแสเกี่ยวกับเรื่องนี้  ว่า สรุปแล้วการทำแท้งในอนาคต หากทำเพื่อสุขภาพของหญิงผู้นั้นจะถือว่าไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ อย่างไร และปัจจุบันข้อกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมดูแลเรื่องนี้ เป็นอย่างไร

พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ  เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า  ปัจจุบันแพทยสภา มีข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วย หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2548 ซึ่งปัจจุบันยังใช้ตามข้อบังคับนี้อยู่ เนื่องจากต้องอิงตามกฎหมายแม่เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา ทางแพทยสภาได้เตรียมตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ข้อบังคับให้สอดคล้องกับกฎหมายใหญ่ที่จะมีการพิจารณาปรับปรุง ซึ่งส่วนนี้อาจต้องมีการพิจารณาว่าจะเป็นหน่วยงานไหนในการเสนอปรับปรุงกฎหมายต่อไป

พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ

ด้าน พญ.ชัญวลี ศรีสุโข กรรมการแพทยสภา ในฐานะสูตินรีแพทย์   กล่าวว่า ต้องย้ำว่าปัจจุบันการทำแท้ง เป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่จะมีข้อยกเว้นในกรณีที่จำเป็น ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของแพทยสภา  โดยการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ จะกระทำได้เมื่อหญิงตั้งครรภ์ยินยอม และแพทย์ผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมาย  อีกทั้ง การยุติการตั้งครรภ์ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข คือ กรณีจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากปัญหาสุขภาพทางกายของหญิงตั้งครรภ์ หรือเป็นกรณีที่จำเป็นต้องกระทำ เนื่องจากปัญหาสุขภาพทางจิตของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งต้องได้รับการรับรอง หรือเห็นชอบจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่มิใช่ผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 คน

เมื่อถามว่า กรณีหญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศแล้วตั้งครรภ์จัดอยู่ในข่ายที่ยุติการตั้งครรภ์ได้หรือไม่ พญ.ชัญวลี กล่าวว่า ได้ ซึ่งก็จะมีการตรวจสอบ มีระบบขั้นตอนชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในสถานพยาบาล หากมีกรณีแบบนี้ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งจะมีแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งสูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ จิตแพทย์ เป็นต้น  

อ่านเพิ่มเติม :  ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วย หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2548

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0