โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เอ็กซ์เชนจ์ อิงลิช คาดปี 63 บัณทิตว่างงานกว่า 5 แสน แนะคนไทยเก่งภาษาเรียนทักษะใหม่

MThai.com

เผยแพร่ 09 ธ.ค. 2562 เวลา 01.55 น.
เอ็กซ์เชนจ์ อิงลิช คาดปี 63 บัณทิตว่างงานกว่า 5 แสน แนะคนไทยเก่งภาษาเรียนทักษะใหม่
โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ “เอ็กซ์เชนจ์ อิงลิช” คาดพิษเศรษฐกิจและดิจิตอลดิสรัปชั่นส่งผลกระทบกับพนักงานและนักศึกษาจบใหม่ว่างงานกว่า 500,000 คน

โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ“เอ็กซ์เชนจ์ อิงลิช” คาดพิษเศรษฐกิจและดิจิตอลดิสรัปชั่นส่งผลกระทบกับพนักงานและนักศึกษาจบใหม่ว่างงานกว่า 500,000 คน ในปี 2563 จับมือกูรูฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR) แนะทักษะสำคัญที่องค์กรชั้นนำมองหาย้ำคนไทยต้องเร่งพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ และเรียนรู้ทักษะใหม่พัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน หลังพบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษรั้งท้ายอาเซียนตาราง 8 ปีซ้อน

เอ็กซ์เชนจ์ อิงลิช

แนะคนไทยเก่งภาษาเรียนทักษะใหม่

นายอภิธา วัลลภศิริ ผู้อำนวยการสถาบันสอนภาษาอังกฤษเอ็กซ์เชนจ์ อิงลิช เปิดเผยว่า “จากการจัดอันดับ English Proficiency Index (EFI) หนึ่งในตัววัดความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกระบุว่า ประสิทธิภาพในการใช้ภาษาอังกฤษของแรงงานไทย ปี 2562 อยู่ในระดับ Very Low Proficiency อยู่อันดับ 74 จากประเทศที่เข้าร่วมทดสอบ 100 ประเทศ เป็นอันดับที่ 17 จาก 25 ประเทศในแถบเอเชีย และรั้งอันดับ 6 จาก 8 ประเทศ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 47.61 คะแนน ลดลงกว่าปีที่แล้วนับ 10 อันดับ

การจับอันดับดังกล่าวสะท้อนปัญหาการขาดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ถือว่าเป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารของคนทั่วโลก ซึ่งเมื่อแรงงานขาดทักษะย่อมส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของไทยเช่นกัน นอกจากนี้ทักษะด้านภาษาอังกฤษตัวแปรสำคัญที่องค์กรใช้ในการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษดีย่อมมีโอกาสในการได้งานมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่คนต้องแข่งขันกับ เทคโนโลยีที่กำลังมาแทนที่และส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ เผยว่า ประเทศ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทยและเวียดนาม จะมีการลดจำนวนคนงานถึง 54-56% ของจำนวนการจ้างงานที่มีอยู่เพื่อนำระบบการทำงานอัตโนมัติหรือเอไอ (Ai) มาใช้แทน”

ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มองเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ และมีความต้องการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้ศึกษาต่อต่างประเทศ และใช้สร้างความก้าวหน้าในการทำงาน จากงานวิจัยสภาพเศรษฐกิจไทยสะท้อนความสำคัญของภาษาอังกฤษ ผ่านอัตราค่าจ้างในไทยแสดงให้เห็นถึง “ส่วนต่างจากภาษาอังกฤษ” (English premium) ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งหมายถึงช่องว่างระหว่างอัตราค่าจ้างสำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษได้และอัตราค่าจ้างสำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ในปี 2552 ความแตกต่างระหว่างเงินเดือนผู้บริหารที่พูดภาษาอังกฤษได้กับพนักงานธุรการในไทยอยู่ที่ 11 เท่า หรือ 1,140% ซึ่งจากผลสำรวจเงินเดือนทั่วโลกประจำปีโดย โรเบิร์ต วอลเทอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการสรรหาบุคลากร พบว่า ในปี 2559 บริษัทในประเทศไทยยินดีจ่ายเงินเดือนเพิ่มขึ้น 15-25% ให้กับบุคลากรที่มีทักษะการทำงานในโลกดิจิตอล และสามารถภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี โดยบุคคลากรที่มีทักษะเหล่านี้จะได้รับโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาดูงานต่างประเทศ การทำงานร่วมกับคู่ค้ารายใหญ่ ไปจนถึงโอกาสในการเลื่อนตำแหน่งด้วย

“นอกจากทักษะภาษาอังกฤษแล้ว การพัฒนาทักษะอื่นๆยังมีความสำคัญไม่แพ้กัน เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วความรู้จึงมีวันหมดอายุ การเรียนแบบ Front-Loaded Learning หรือการเรียนอย่างเดียว รวดเดียวจนจบปริญญาตรี ปริญญาโท แล้วออกมาทำงาน อาจจะไม่ตอบโจทย์โลกอีกต่อไป อนาคตการจะปรับจากการเรียนแล้วออกมาทำงาน แล้วก็กลับไปเรียนใหม่ เพื่ออัพเดทความรู้ให้ทันโลก ดังนั้นทักษะภาษาอังกฤษจึงเพิ่มความสำคัญในการทำงานมากกว่าการสอบวัดผลก่อนทำงานเท่านั้น แต่องค์กรจะต้องการพนักงานที่มีทักษะภาษาอังกฤษที่พร้อมใช้ในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้จากสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ หรือหลักสูตรฝึกออนไลน์ระดับโลก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน จากมหาวิทยาลัยและคอร์สเรียนเสริมทักษะออนไลน์จากทั่วโลก”

ด้านนางผลินสุ เจริญยิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคลจากองค์กรชั้นนำ กล่าวถึงทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปมากเพราะมีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การดำเนินธุรกิจก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกันอย่างเช่นธุรกิจการเงินการธนาคาร ที่กำลังเปลี่ยนจาก Digital banking เข้าสู่ Social banking และยังมีอีกหลายธุรกิจที่ต้องปรับตัวเองอย่างหนักเพื่อหนี Disruptionส่งผลให้องค์กรชั้นนำต่างๆ ต้องการบุคลากรที่สามารถปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในสถานการณ์ที่แตกต่าง(Adaptability) กันได้เป็นอย่างดี เพราะสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานในทุกองค์กรทักษะต่อไปคือการCommunication ความสามารถในการฟัง พูด และเขียนกับผู้อื่นอย่างเข้าใจและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์การสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ซึ่งทักษะนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการให้บริการลูกค้าและการทำงานร่วมกับทุกฝ่าย ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยทักษะนี้ยังเพิ่มความเร็วในการทำงานได้อย่างมากอีกด้วย

ฝั่งดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ประกาศข่าว และ ผู้จัดรายการโทรทัศน์กล่าวเสริมว่า แม้ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ (AI)กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนยุคปัจจุบันในทุกด้านโดยเฉพาะด้านตลาดแรงงาน แต่ AI ก็ไม่สามารถแทนที่คนได้ในทุกหน้าที่เพราะมนุษย์มีสิ่งที่เหนือกว่าปัญญาประดิษฐ์ในหลายๆ อย่าง ดังนั้นเราจึงควรพัฒนา Soft Skills และเจียระไนความเป็นมนุษย์ออกมาให้เปล่งประกายมากยิ่งขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0