โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เอาชีวิตรอดจาก Friend Zone ได้... ไม่ใช่เรื่องยาก

Health Addict

อัพเดต 26 มี.ค. 2562 เวลา 16.57 น. • เผยแพร่ 26 มี.ค. 2562 เวลา 07.34 น. • Health Addict
ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก… เพราะเป็นการต่อสู้ระหว่างความเป็นเพื่อนซึ่งเป็นมิตรภาพที่เหนียวแน่นยืนยาว กับความเป็นคนรักที่ร้อนแรงและวูบไหวกว่า ศึกครั้งนี้เรียกว่า Fiend Zone และถ้าคุณก่อขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว เรามีวิธีสงบศึกมาบอก
ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก… เพราะเป็นการต่อสู้ระหว่างความเป็นเพื่อนซึ่งเป็นมิตรภาพที่เหนียวแน่นยืนยาว กับความเป็นคนรักที่ร้อนแรงและวูบไหวกว่า ศึกครั้งนี้เรียกว่า Fiend Zone และถ้าคุณก่อขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว เรามีวิธีสงบศึกมาบอก

ก่อนอื่นเลย ต้องรู้สถานะตัวเองก่อนว่ากำลังอยู่ในสถานะ Friend zone แบบไหน จะได้รู้ยังไงล่ะ ว่าจะหาทางหนีทีไล่ยังไงไม่ให้เสียฟอร์ม
ใน Urban Dictionary ได้ให้ความหมายว่า Friend zone เป็นการที่เราสนใจคนๆ หนึ่งอยู่ ขณะที่เขาคนนั้นคิดกับเราแค่เพื่อน… ถ้าจะให้เปรียบก็เหมือนกับเราหลุดเข้าไปในหลุมดำ เป็นพื้นที่ที่ดูจะสิ้นหวังและไม่มีทีท่าว่าจะหลุดพ้นจากสถานะนั้นอย่างไร
 
หลายคนที่ไม่เคยเจอกับตัวเองคงสงสัยว่ามันร้ายแรงขนาดนั้นเลยหรอ? มีหวังแค่ไหนที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ให้เป็นมากกว่าเพื่อน? มาหาคำตอบกัน

Photo by Alex Holyoake on Unsplash
แบบไหนเรียกว่า Friend zone
แม้ดูเหมือนอาณาบริเวณแห่งความสิ้นหวัง แต่ปลายทางของเฟรนด์โซนก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป… 
ดร.ดาร์ซี่ สเตอร์ลิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ของทินเดอร์ บอกว่า เฟรนด์โซนคือความรู้สึกมากกว่าเพื่อนที่เรามีต่อเพื่อน ซึ่งคุณเองก็ไม่แน่ใจว่าเพื่อนรู้สึกแบบเดียวกับคุณหรือเปล่า ที่แน่ๆ คือเป็นพื้นที่แห่งความไม่แน่นอนและไม่มีโอกาสก้าวหน้าได้เลย
ขณะที่ ดร.ฮอลลี ริชมอนด์ นักบำบัดเซ็กส์จากนิวเจอร์ซี ก็มีความเห็นไปในทางเดียวกัน โดยคนไข้ส่วนใหญ่ที่เข้ามาปรึกษาบอกว่าความรู้สึกโรแมนติกที่มีต่อเพื่อน ไม่ได้หมายความว่าอยากมีสถานะอื่นเกินเลยไปกว่านี้ แต่จริงๆ แล้วคนไข้เหล่านั้นไม่รู้ตัว…
เป็นไปได้มั้ย ถ้าจะออกจากพื้นที่นี้
อย่างที่บอกไปแล้ว ว่าการจะออกจากพื้นที่นี้อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับสถานะ “เพื่อน” ที่คุณดำรงอยู่…
สมมติฐานแรก ถ้าคุณต้องการเป็นมากกว่าเพื่อนแต่ก็รู้ว่าไม่มีทางเป็นไปได้ ทางเดียวคือคุณต้องยอมแพ้…  เพราะในเมื่อเพื่อนไม่ได้รู้สึกแบบเดียวกับคุณ คุณเองก็ควรเคารพความรู้สึกและการตัดสินใจของเธอ อย่าดึงดันหรือฝืนให้ต้องเจ็บกันเลยดีกว่า “ถ้าเธอไม่ได้ชอบคุณแบบนั้น คุณก็ควรรักษาระยะห่าง อย่าทำทะลึ่ง อย่าแตะเนื้อต้องตัว และอย่าคาดหวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้” ดร.ดาร์ซี ย้ำ
สมมติฐานที่สอง ถ้าคุณเป็นมากกว่าเพื่อนแต่ก็ยังไม่ได้ถามคำตอบจากเจ้าตัวว่ารู้สึกแบบเดียวกับคุณหรือเปล่า กรณีนี้น่าลุ้น… ประเด็นหลักคือคุณไม่รู้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไร
ถามให้ชัดไปเลย… จะดีไหม
ถ้าคุณคิดว่าตัวเองเป็นแบบสมมติฐานที่สอง วิธีที่ดีและง่ายที่สุดคือถามออกไปตรงๆ และที่ไม่ควรมองข้ามคือ “ต้องถามให้ถูกวิธี”
หนุ่มๆ จงจำไว้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ต่างเติบโตมาพร้อมกับความคาดหวัง ดร.ริชมอนด์ อธิบายว่า “พวกเธอถูกสอนให้เป็นเด็กดีและไม่ทำร้ายความรู้สึกคนอื่น และการรู้ว่าเพื่อนชายต้องการเป็นมากกว่าเพื่อนก็อาจทำให้พวกเธอรู้สึกไม่ดีได้ ฉะนั้นต้องรู้จักเลือกใช้คำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงมากที่สุด อาจเริ่มต้นคำถามว่า “ฉันสงสัยว่า ถ้า…” จะได้คำตอบที่เปิดเผยกว่า”
หลายครั้งที่ผู้หญิงรู้สึกกลัวและไม่รู้จะจัดการกับสถานการณ์ตรงหน้ายังไงเพราะฝ่ายชายเร่งเร้าเกินไป… “หนุ่มๆ ไม่ได้ทำอะไรผิด สาวๆ ก็แค่ไม่ต้องการสิ่งที่ผู้ชายต้องการ และพวกเธอไม่รู้ว่าจะบอกหนุ่มๆ ยังไงดี” ดังนั้นแทนที่จะพูดว่า “ฉันอยากเป็นมากกว่าเพื่อน เธอล่ะ ต้องการมั้ย” ซึ่งฟังดูเรียกร้องและไม่เปิดช่องให้ผู้หญิงปฏิเสธเลย ควรใช้คำพูดแบบ “ผมสงสัยว่า คุณรู้สึกอย่างไรกับความเป็นเพื่อนของเรา”
สิ่งสำคัญคือความรู้สึกของคุณทั้งสองคน
คุณไม่ต้องพูดแบบที่เราแนะนำเป๊ะๆ ดร.ริชมอนด์ บอกว่าสิ่งสำคัญคือความรู้สึกของเพื่อนสาวคุณต่างหาก คุณอาจจะบอกไปเลยว่า ถ้าเธอปฏิเสธก็ไม่เป็นไร เธอจะได้รู้ความในใจและไม่ทำร้ายความรู้สึกคุณ ขณะที่คุณเองก็ไม่ดูเร่งเร้าหรือกดดันเธอจนเกินไปนัก สิ่งสำคัญคือทำให้เกิดความชัดเจนกับทุกฝ่าย
ไม่มีใครทำสถิติว่ามีคนล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จมาแล้วกี่เปอร์เซ็นต์
"เมื่อคุณต้องพบกับความผิดหวัง จำไว้ว่าคุณไม่ใช่คนแรกที่เจอสถานการณ์แบบนี้ ลองให้เวลากับตัวเองสักหน่อย ไว้มีแรงใจมากขึ้นค่อยกลับมาก็ได้… ลองถามตัวเองว่าการรักษามิตรภาพครั้งนี้สำคัญกับคุณขนาดไหน และคุณยังสามารถเป็นเพื่อนกับเธอต่อไปได้หรือเปล่าโดยที่คุณจะไม่รู้สึกทรมานหรือแค้นใจ ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าหันหลังกลับไป” ดร.ดาร์ซี แนะนำ
ผิดหวังได้ แต่อย่าปิดกั้นโอกาสตัวเอง
ยังไงก็แล้วแต่ มันดีสำหรับทุกคนที่คุณได้บอกความรู้สึกออกไป เพราะถ้าไม่บอกออกไปคุณเองนั่นแหละจะเป็นฝ่ายทรมาน มันอาจจะคุ้มค่าก็ได้ไม่ว่าคุณจะสมหวังหรือไม่ก็ตาม
ดร.พอล โฮเคเมียร์ นักบำบัดชีวิตสมรสจากนิวยอร์ค บอกว่า ไม่ว่าคุณจะรักษามิตรภาพต่อไปหรือไม่ ก็เป็นสิ่งดีที่จะก้าวข้ามความเจ็บปวดนี้โดยระลึกไว้ว่า นี่เป็นโอกาสที่ทำให้คุณรู้ว่าคนๆ นั้นเขาไม่มีวันได้เป็น “มันจะเป็นการปลดปล่อยตัวคุณให้ได้พบเจอกับความสัมพันธ์ที่ดี ที่ทำให้คุณมีความสุขมากกว่าต้องทนกับความผิดหวัง… แน่นอนว่าการเปิดใจคุยกันเป็นเรื่องยาก แต่ความสงสัยในใจคุณจะหายไป เพื่อที่คุณจะได้มีเวลาค้นหาคนที่คู่ควร
เคยได้ยินไหมที่เขาบอกว่า “ใครรู้สึกมากกว่า คนนั้นแพ้” การบอกความรู้สึกออกไปตรงๆ จึงเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าคุณเริ่มรู้ตัวว่าคิดเกินเพื่อนไปไกล จงยอมรับความอ่อนแอนี้แล้วให้ความชัดเจนเป็นเครื่องนำทางออกจากพื้นที่นี้เถอะ… และหากคุณได้เผยความในใจแล้ว ไม่ว่าคำตอบจะเป็น Yes หรือ No อย่างน้อยคุณก็รู้ว่าจะทำยังไงกับความสัมพันธ์ครั้งนี้
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0