โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เหตุโจมตีโรงกลั่นซาอุฯ ทำน้ำมันขึ้นราคากระทบกลุ่ม CLMVIT ใครหนักสุด?

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อัพเดต 18 ก.ย 2562 เวลา 10.01 น. • เผยแพร่ 18 ก.ย 2562 เวลา 10.01 น.

​         หลังจากที่โรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ 2 แห่ง ของซาอุดีอาระเบียถูกโจมตีทางอากาศ (จากโดรน) เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2562 ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกก็แกว่งตัวสูงขึ้นมาปิดตลาดวันจันทร์ที่ 16 ก.ย. 2562 ที่ 68.3 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรลล์ (จาก 60.25 ดอลลาร์/บาร์เรลล์ ณ วันที่ 13 ก.ย. 2562) ถ้าหากสถานการณ์ยืดเยื้ออาจยิ่งผลักดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นยาวนานและกลายเป็นความเสี่ยงใหม่ของเศรษฐกิจหลายประเทศในอาเซียนที่ต่างก็ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ

          ประเทศ CLMVIT (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซียและไทย) ล้วนเป็นประเทศผู้นำเข้าสุทธิ (การนำเข้าหักการส่งออก) สำหรับสินค้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ซึ่งก็พบว่ากัมพูชา เมียนมา และไทยเป็น 3 ประเทศแรกที่มีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าดังกล่าวสูงด้วยสัดส่วน 7.9%, 5.2% และ 5.1% ต่อ GDP ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดี ประเทศกัมพูชาและ สปป.ลาว นั้นน่าจะได้รับผลกระทบเฉพาะหน้ามากที่สุดเพราะราคานำเข้าที่สูงขึ้นอาจยิ่งซ้ำเติมการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้นอีกจากที่สูงถึง 9.1%และ 16.4%  ต่อ GDP ตามลำดับ ในท้ายที่สุดอาจฉุดทั้งค่าเงินและเศรษฐกิจในภาพรวมอ่อนแรง ขณะที่เมียนมาและอินโดนีเซียนั้นยังมีรายได้จากการส่งออกก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเข้ามาบรรเทาความเสี่ยงการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้บ้าง สำหรับไทยอาจโชคดีกว่าประเทศอื่นตรงที่เรายังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจึงลดความเสี่ยงด้านค่าเงินผันผวน ประกอบกับเงินเฟ้อในประเทศต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศข้างต้นจึงได้รับผลกระทบไม่มากนัก

           อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงดังกล่าวจะรุนแรงมากขึ้นหรือไม่คงต้องติดตามว่าซาอุดีอาระเบียจะสามารถควบคุมสถานการณ์ให้กลับมาผลิตน้ำมันได้ใกล้เคียงระดับเดิมอันจะดึงให้ราคาน้ำมันกลับมาสู่ระดับปกติได้เร็วแค่ไหน ซึ่งนั่นจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของทั้งภูมิภาค


0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0