โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เรื่องของ “อาหาร” กับ “โรคประจำตัว”

สยามรัฐ

อัพเดต 21 ม.ค. 2563 เวลา 00.00 น. • เผยแพร่ 21 ม.ค. 2563 เวลา 00.00 น. • สยามรัฐออนไลน์
เรื่องของ “อาหาร” กับ “โรคประจำตัว”

อาหารที่เรารับประทานกันทุกวัน นอกจากจะให้พลังงาน และสารอาหารที่จำเป็นรวมถึงช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และทำหน้าที่เสมือนยารักษาโรคแล้ว ในบางครั้งก็กลับจะให้โทษได้เหมือนกัน หากว่าเรารับประทานอาหารนั้นๆ ไม่ถูกจังหวะ โดยเฉพาะในช่วงที่สุขภาพไม่แข็งแรง ร่างกายอ่อนแอ วันนี้มาดูกันว่าเวลาป่วย หรือใครที่มีโรคประจำตัว มีเมนูอะไรที่เราควรหลีกเลี่ยงกันบ้าง

“ไมเกรน” ปวดหัวจี๊ดๆ ข้างเดียวเป็นประจำ ควรงดเมนูขนมหวาน ขนมเค้ก ชานม น้ำผลไม้หวานๆ น้ำอัดลม เพราะอาหารหวานที่มีปริมาณน้ำตาลสูงจะทำให้น้ำตาลในเลือดไม่คงที่ จะเพิ่มสูงขึ้น และลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดโรคไฮโปโกลซีเมียหรืออาการที่น้ำตาลในเลือดต่ำได้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนค่ะ นอกจากนั้นยังควรลดปริมาณการรับประทานเนื้อสัตว์ ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เพราะโปรตีนจากเนื้อสัตว์เหล่านี้มักมีสารพิษตกค้างจากฮอร์โมนต่างๆ ในกระบวนการเลี้ยง ทั้งยังมีกรดแอมิโนไทโรซิน ที่ทำให้ปวดหัวได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

“อาการข้ออักเสบ ปวดข้อ ปวดเข่า” จะลุกนั่งก็ลำบาก ลองงดน้ำแข็ง อาหารเย็นๆ ดูค่ะ เพราะความเย็นจะทำให้กระเพาะอาหารของเราทำงานหนักขึ้น และระบบไหลเวียนของเลือดยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอีกด้วย ที่สำคัญ ควรลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เครื่องใน ไขมัน เพราะสารพิษตกค้างที่อยู่ในเนื้อสัตว์ จะเป็นตัวเพิ่มอาการเจ็บปวด และอาการอักเสบให้รุนแรงยิ่งขึ้น

สำหรับผู้ที่มี“อาการกระเพาะอาหารอักเสบ ปวดท้อง แสบท้องเป็นประจำ” ไม่ควรรับประทานอาหารประเภทยำ หรืออาหารรสจัด รวมทั้ง ชา กาแฟ น้ำอัดลม (อาหารที่มีคาเฟอีนสูง) เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุกระเพาะมากขึ้นค่ะ อาหารรสจัดยังจะยิ่งเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นอีกด้วย

“ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง” ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม มีเกลือหรือโซเดียมสูง เพราะโซเดียมจะเร่งให้ความดันให้ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงอาหารรสหวาน และผลไม้สุก เพราะน้ำตาลและไขมันจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้ง่าย ทั้งโรคหลอดเลือดเปราะ จอตาเสื่อม โรคไต ท่อปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น

“ผู้ป่วยที่มีอาการตับแข็ง ตับอักเสบ หรืออาการเสื่อมสภาพของตับ” ต้องหลีกเลี่ยงอาหารทำร้ายตับ ซึ่งหลักๆ เลย คืออาหารประเภทเนื้อสัตว์ เพราะบรรดาเนื้อสัตว์ทั้งหลายจะทำให้ตับต้องทำงานอย่างหนักในการขับของเสียเช่น ยูเรีย และ แอมโมเนีย ออกไป แต่เมื่อตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ของเสียต่างๆ จึงถูกขับออกจากร่างกายได้น้อยลง และจะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในกระแสเลือดอีกครั้ง ทำให้สุขภาพแย่ลง เซื่องซึม และบางครั้งอาจมีอาการหนักถึงขั้นหมดสติไปเลยก็ได้

คนป่วยมักต้องการการดูแลมากกว่าคนทั่วไป เพราะอวัยวะภายในบางส่วนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ พฤติกรรมการรับประทานอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ การลือกเมนูที่เหมาะสมจะช่วยให้ส่วนต่างๆของร่างกายได้ทำงานเบาลง และให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ใส่ใจกับเมนูต่างๆแล้วอย่าลืมออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเพื่อช่วยฟื้นฟู เสริมสร้างสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงกันด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0