โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เรื่องของ ประกันสังคม ประกันตนเอง ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้

Rabbit Finance

อัพเดต 29 ก.ย 2560 เวลา 10.03 น. • เผยแพร่ 29 ก.ย 2560 เวลา 10.00 น. • Rabbit Finance Blog
เรื่องของ ประกันสังคม ประกันตนเอง ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้
เรื่องของ ประกันสังคม ประกันตนเอง ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้

หากจะพูดถึงประกันสังคม เราเชื่อว่าคนทำงานหลายคนน่าจะคุ้นเคยกันอยู่บ้างแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า การที่เราโดนหักเงินในแต่ละเดือนนั้นเราจะได้อะไรคืนกลับมาบ้าง และวันนี้เราจะมาพูดถึง สิทธิ์ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากประกันสังคมกัน ค่ะ

 

 

ประกันสังคม
ประกันสังคม

ประกันสังคม คืออะไร??

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และมีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจุดประสงค์ของการทำประกันสังคม คือ เพื่อให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย การคลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตรชราภาพ และว่างงาน และให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาพยาบาลและมีได้รับการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

ผู้ประกันตน คืออะไร

 

ผู้ประกันตน คือ บุคคลที่มีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันผู้ประกันตนมีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน คือ

1.ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

2.ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39) คือ บุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก และได้มีการสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 ซึ่งการสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และลาออกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

3.ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40) คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี

ประกันสังคม
ประกันสังคม

คนทำงานอย่างเราจัดเป็นผู้ประกันตนประเภทไหน

แน่นอนว่าสำหรับพนักงานออฟฟิศ มนุษย์เงินเดือน หรือลูกจ้างทั่วไปจัดเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นี้ จะได้รับการคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน

  • *กรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ *

ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ รวมถึงค่าทำฟัน สิทธิการใช้บริการรากฟันเทียม สิทธิการรักษาโรคทางจิต การบำบัดไต ยาต้านไวรัสเอดส์ การรักษาโรคมะเร็ง 10 ชนิด (ตามหลักเกณฑ์ที่ประกันสังคมกำหนด) และยังสามารถขอรับเงินทดแทนเนื่องจากขาดรายได้ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างในระหว่างที่หยุดงานเพื่อรักษาพยาบาล ซึงประกันสังคมจะจ่ายให้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือน

  • กรณีทุพพลภาพ (ไม่ใช่จากการทำงาน)

ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าบริการทางแพทย์ รวมถึงค่าพาหนะรับส่งไปโรงพยาบาล เงินทดแทนการขาดรายได้เนื่องจากทุพพลภาพ ร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือนตลอดชีวิต

  • *กรณีเสียชีวิต (ไม่ใช่จากการทำงาน) *

ในกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต ผู้ที่เป็นธุระจัดการศพสามารถเบิกค่าทำศพได้ 40,000 บาท และทายาทหรือบุคคลในครอบครัวจะได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่มจำนวนหนึ่ง โดยเงินสงเคราะห์นี้ คิดจากเงินเดือนเฉลี่ยตั้งแต่ หนึ่งเดือนครึ่ง – ห้าเดือน ซึ่งเงินสงเคราะห์นั้นจะขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลาที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม

  • *กรณีคลอดบุตร *

ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ในการคลอดบุตรได้ครั้งละ 13,000 บาท และยังได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ในกรณีคลอดบุตรอีก ร้อยละ 50 ของเงินเดือน เป็นเวลา 90 วัน

  • *กรณีสงเคราะห์บุตร *

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เหมาจ่ายเดือน 400 บาท/คน โดยจะจ่ายให้ตั้งแต่บุตรของผู้ประกันตนมีอายุตั้งแต่ 0-6 ปี

  • *กรณีชราภาพ *

เมื่อผู้ประกันตนมีอายุ 55ปี จะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนของผู้ประกันตน

  • กรณีว่างงาน

ประกันสังคมจะจ่ายเงินชดเชยให้ในกรณีที่ผู้ประกันตนว่างงาน ไม่ว่าจะเป็นการว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของเงินเดือน เป็นระยะเวลา 180 วัน หรือ ในกรณีที่ผู้ประกันตนลาออกหรือมีการสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 30 ของเงินเดือน เป็นระยะเวลา 90 วัน

โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

จากที่กล่าวมาข้างต้นประกันสังคมก็คล้ายๆกับประกันสุขภาพ ที่เราซื้อจากบริษัทประกันทั้งหลายนั่นแหละค่ะ และผู้ประกันตนแต่ละรูปแบบก็จะได้รับสิทธิ์ประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป สำหรับคนทำงานส่วนใหญ่ที่มีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทุกเดือนคุณสามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่เป็นการจ่ายเงินที่สูญเปล่าแน่นอนค่ะ

ที่มา :www.sso.go.th

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0